สำหรับภาพรายวัน บริเวณเส้นค่าเฉลี่ย DMA 20 และ 100 ยังคงทำหน้าที่เป็นแนวต้านได้ดีเมื่อวัดคู่กับเส้น Fibonacci ขณะที่เส้น DMA 200 ยังคงบ่งชี้ถึงภาวะขาลง ซึ่งในเชิงเทคนิคแล้วเครื่องมือชี้วัดส่วนใหญ่บ่งชี้ถึงภาวะการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ หลังจากที่เผชิญกับภาวะ Oversold จึงทำให้ภาพดูเป็นขาลง โดยมีระดับแนวรับแข็งแกร่งที่ 1.1460 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งหากหลุดลงมาจะมีระดับแนวรับเป้าหมายที่ 1.1320 – 1.1340 ดอลลาร์/ยูโร ทางด้านแนวต้านด้านบนจะอยู่บริเวณ 1.1620 ดอลลาร์/ยูโร และหากผ่านไปได้จะขึ้นไปที่ 1.1660 ดอลลาร์/ยูโร รวมทั้งมีโอกาสเห็นค่าเงินฟื้นกลับที่ 1.1730 ดอลลาร์/ยูโร
.png)
· ค่าเงินปอนด์ปรับตัวลงไปทำระดับตำสุดรอบ 1 สัปดาห์ และเริ่มทรงตัวโดยเคลื่อนไหวเหนือระดับ 1.3100 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยสัปดาห์นี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ค่าเงินปอนด์ลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 100 วัน โดยตลาดถูกกดดันจากความไม่แน่นอนกรณี Brexit และยอดค้าปลีกรายเดือนที่ออกมาแย่กว่าที่คาดร่วงลงมากที่สุดรอบ 6 เดือนที่ระดับ 0.8% ในเดือนก.ย.
สำหรับภาพทางเทคนิค
นักวิเคราะห์จาก FXStreet มองว่า ค่าเงินปอนด์ Break ต่ำกว่า 1.3080 - 1.3075 ดอลลาร์/ปอนด์ลงมาก็มีแนวโน้มจะกลับลงทดสอบระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 1.30 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยแนวรับแรกจะอยู่ที่ 1.3035 ดอลลาร์/ปอนด์
ในทางกลับกันหากค่าเงินกลับเหนือ 1.3130 - 1.3135 ดอลลาร์/ปอนด์ได้อีกครั้งก็ดูเหมือนจะมีโอกาสเห็นค่าเงินแข็งค่ากลับขึ้นไปที่ 1.3200 ดอลลาร์/ปอนด์
· นายมัตเตโอ ซาลวินี รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี ระบุว่า รัฐบาลไม่ได้ประสบกับภาวะวิกฤติแต่อย่างใด แม้ว่าการเจรจาภายในเกี่ยวกับร่างนโยบายการนิรโทษกรรมภาษีจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม
โดยเมื่อช่วงระหว่างวันที่ผ่านมา นายลุยจิ ดิ ไมโอ หัวหน้าพรรค 5-Star Movement ระบุว่า ความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลที่เกี่ยวกับนโยบายการนิรโทษกรรมภาษีจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากเขามองว่านโยบายตัวก่อนมีช่องโหว่และถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม
· นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นบีโอเจ เตือนถึง ความจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง เช่น กระแสการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นและตลาดการเงินที่ผันผวน
· การขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินโลกในไตรมาสที่ 3 ขณะที่กลุ่มผู้กำหนดนโยบายการเงินให้คำมั่นที่จะหานโยบายสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากความเสี่ยงทางระดับหนี้และปัญหา Trade War กับสหรัฐฯที่เริ่มจะกัดกร่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เศรษบกิจจีนขยายตัวได้เพียง 6.5% ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งถือว่าชะลอตัวลงจากระดับ 6.7% ในไตรมาสที่ 2 และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และเรียกได้ว่าข้อมูลจีดีพีล่าสุดของจีีนถือเป็นระดับการอ่อนค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับระดับไตรมาสรายปีซึ่งอ่อนตัวลงหนักนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2009 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลก
· กลุ่มผู้แทนเจรจาของยุโรป กล่าวว่า ข้อตกลง Brexit กับทางอังกฤษมีความเป็นไปได้ 90% ที่จะประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะยังคงมีความแตกต่างและยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องบริเวณพรมแดนไอร์แลนด์ร่วมกันได้
· นางอังเกลาร์ แมร์เคล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวในการประชุม Asia-Europe Summit ณ กรุงบรัสเซลล์ โดยระบุว่า 2 ใน 3 ของประเทศต่างๆทั่วโลกนั้น มีฉันทามติในการดำเนินนโยบายร่วมกันและตระหนักดีถึงประโยชน์ที่ได้รับจากระบบการค้าเสรี
· ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางสัญญาณปริมาณอุปสงค์ของจีนที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าตลาดจะลดลงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจากประเด็นสงครามการค้าที่กดดันเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของสต๊อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯก็ตาม
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ ที่ระดับ 79.49 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 15 เซ็น ที่ระดับ 68.80 เหรียญ/บาร์เรล
สำหรับภารวมรายสัปดาห์น้ำมันดิบ Brent ลดลง 1% ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ลดลง 3.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
.png)
· นักวิเคราะห์จาก DailyFX ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงสนับสนุนจากทิศทางขาขึ้นในช่วงต้นเดือนก.พ. แม้ว่าจะเห็นระดับราคาในตอนนี้อยู่บริเวณ 66.66 - 68.53 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากราคาปิดต่ำกว่าระดับดังกล่าวก็มีโอกาสจะกลับลงทดสอบแนวรับ 64.26 - 64.45 เหรียญ/บาร์เรลได้ ในทางกลับกัน หากราคายืนเหนือ 70.05 - 70.26 เหรียญได้ ก็เป็นที่แน่ชัดว่าอาจเห็นราคากลับทดสอบแนวต้าน 71.51 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ระยะยาวดูจะยังมีโอกาสเห็นราคาฟอร์มตัวไปด้านบนได้