• ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลง 296.24 จุด คิดเป็น -1.19% ที่ระดับ 24,688.31 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง -1.73% ที่ระดับ 2,658.69 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด -2.07% ที่ระดับ 7,167.21 จุด
ทั้งนี้ ดัชนี S&P500 ปิดแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ.ค. โดยยังคงปรับฐาน หลังจากที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตเผชิญกับแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วตลาดหุ้นสหรัฐฯมีความผันผวน
ระหว่างการซื้อขายในคืนวันศุกร์ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงไปกว่า 10% จากระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา แต่ก็กลับมาปิดเหนือระดับต่ำดังกล่าวได้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าการปรับตัวลงที่เกิดขึ้นยืนยันถึงการปรับฐานของตลาดหุ้น
ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลงรายสัปดาห์ที่มากที่สุดนับตั้งแต่ 23 มี.ค. หลังจากที่มีการยืนยันถึงภาวะการปรับฐานไปในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
• สำหรับดัชนีดาวโจนส์และสหรัฐฯต่างปิดแดนลบมากที่สุดในรอบปี และภาพรวมรายสัปดาห์จะเห็นได้ว่าดัชนี Nasdaq ร่วงลง -3.8% ขณะที่ดาวโจนส์สัปดาห์ที่แล้วปรับลงกว่า 3% ทางด้าน S&P 500 ปรับลง -4%
• แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งแต่รายงานผลประกอบการที่ออกมาอย่างน่าผิดหวังและคาดการณ์ผลประกอบการบริษัทที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้าต่างประเทศ การปรับขึ้นค่าแรง และการขึ้นควบคู่ดอกเบี้ย ควบคู่กับความไม่แน่นอนทางการเมืองก็ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มบริษัท
อย่างไรก็ดี กลุ่มนักลงทุนอาจเห็นความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นได้จากรายงานผลประกอบการที่จะเปิดเผยต่อในสัปดาห์นี้ ประกอบกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 พ.ย.นี้
• สำหรับวันนี้อาจเห็นการรีบาวน์ขึ้นได้ของตลาดหุ้นเอเชีย แม้ว่าภาพรวมความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดดูจะเป็นขาลงหลังจากที่หุ้นทั่วโลกปรับตัวลงหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการภาคบริษัทและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
เช้านี้ดัชนี E-min futures ทั้ง S&P 500 และดัชนีดาวโจนส์เปิดปรับขึ้น 0.4%
• สำหรับตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดปรับขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยดัชนีนิกเกอิเปิด +1.26% ทางด้านดัชนี Topix เปิด +1.04% และดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +0.61% ทางด้านดัชนี ASX200 เปิด +0.76%
• นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 32.85 - 33.20 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยในประเทศตลาดให้ความสนใจไปยังรายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนก.ย. และเงินเฟ้อเดือนต.ค. ของไทย ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้ ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงาน, ,ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. ,รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคลและตัวเลขเงินเฟ้อที่วัดจากPCE/Core PCE Price Index เดือนก.ย. รวมถึงดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค. นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ผลการประชุมนโยบายการเงินของบีโอเจ, การประชุมบีโออี ,สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน รวมทั้งดัชนี PMI ของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ