

.png)
• ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนในตลาดโลก ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.5% ขณะที่ตลาภูมิภาคส่วนใหญ่ทรงตัว
นอกจากนี้นักลงทุนยังจะติดตามข่าวเกี่ยวกับรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯและอาเซียน
.png)
• ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางสัญญาณที่ชะลอตัวลงของอุปสงค์ในประเทศจีนทำให้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของโลก อย่างไรก็ดี ซาอุดิอาระเบียวางแผนที่จะปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อช่วยชะลอการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 0.07%
• ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากการซื้อหุ้นที่ราคาถูกช่วยชดเชยความเชื่อมั่นที่อ่อนแอลงของเหล่านักลงทุน เนื่องจากการร่วงลงของหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.1% ที่ระดับ 22,269.88 หลังจากปรับตัวลดลงในช่วงต้นตลาด โดยดัชนีปรับลดลงที่บริเวณ 22,046.29 อย่างไรก็ดี เหล่าเทรดเดอร์ระบุว่า การเข้าซื้อขายสัญญาหุ้นฟิวเจอร์สช่วยหนุนตลาด
• ตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่หน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลได้จัดทำมาตรการต่างๆในช่วงสุดสัปดาห์เพื่อสนับสนุนภาคเอกชน รวมถึงขั้นตอนในการซื้อหุ้นคืนได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.7% ที่ระดับ 2,616.29 จุด ขณะที่ดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI300 เพิ่มขึ้น 0.7%
• ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญ โภคภัณฑ์ ได้เดินทางมาที่ทำการสำนักงานบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า (มักกะสัน) ยื่นเอกสารการประมูล โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ระยอง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท เป็นผู้ประกอบการรายที่ 2 ที่มายื่นซองเอกสารประกวดราคาต่อจากกลุ่มบีทีเอส ที่มายื่นเป็นรายแรก
• ธปท. ระบุว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/61 ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6.3% จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวที่ระดับ 5.4% โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ และเป็นการขยายตัวจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ แต่ผลบวกของเศรษฐกิจยังไม่สามารถหนุนคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้บางกลุ่ม โดยเฉพาะธุรกิจ SME ทำให้ภาพรวมของสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในไตรมาส 3/61 ยังทรงตัว อยู่ที่ระดับ 2.94% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 2.93%
• นักบริหารการเงิน คาดว่ากนง.จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ในการประชุมวันที่ 14 พ.ย. โดยมองว่ามีโอกาสที่กนง.จะเสียงแตกมากขึ้นในการลงมติเทียบกับผลโหวต 5 ต่อ 2 เสียงในการประชุมเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะทรงตัวที่ระดับต่ำ แต่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพในระยะยาวเริ่มสะท้อนพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งขาดการประเมินความเสี่ยงที่แท้จริงจากการลงทุน รวมทั้ง กนง.ต้องการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) ในระยะข้างหน้า ซึ่งคาดว่าทางการจะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 1.75% ในเดือนธ.ค. 61 หากการชะลอตัวของภาคส่งออกอยู่ในระดับที่ยังสามารถประคับประคองได้
