• ทำไมราคาน้ำมันถึงเข้าสู่ทิศทางขาลง?

    14 พฤศจิกายน 2561 | Economic News

ตลาดน้ำมันกำลังเผชิญกับภาวะการกลับตัวที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากที่ราคาน้ำมันได้ทำจุดสูงสุดของปี 2014 เมื่อ 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา

แต่ในปัจจุบันราคาน้ำมันกลับลบล้างผลกำไรในปีนี้ไปเกือบหมดสิ้น โดยราคาได้ปรับลดลงมามากกว่า 20 เหรียญ/บาร์เรล หรือประมาณ 20% นับตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. ไม่ว่าจะเป็นราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลงจุดสูงสุดในปีนี้ที่บริเวณ 87 เหรียญ/บาร์เรล หรือ WTI ที่ทำจุดสูงสุดในปีนี้ที่บริเวณ 7เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ บทความของ CNBC ได้ระบุถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันกลับตัวเป็นทิศทางขาลงไว้ดังต่อไปนี้


แรงเทขายในตลาดหุ้น

ความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯที่เผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ ได้ส่งผลกระทบให้บรรดานักลงทุนหลีกเลี่ยงที่จะถือครองสินทรัพย์เสี่ยงเกือบทุกรายการ รวมถึงน้ำมันด้วย

โดยจะเห็นได้ว่าเพียง 1 สัปดาห์หลังจากที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้ขึ้นไปทำระดับสูงสุด หุ้นจำนวน 2 ใน 3 ในดัชนี S&P 500 ได้ถูกเทขายร่วงลงมา ถึงแม้โดยปกติแล้ว สินค้าทั้ง 2 ตัวมักจะไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันก็ตาม

และในขณะเดียวกันกับที่หุ้นและน้ำมันถูกเทขายลงมา ความกังวลว่าปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันจะอ่อนแอลงก็ยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก  

 

ปริมาณการบริโภคน้ำมันที่อ่อนแอลง

ในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา กลุ่ม OPEC และกระทรวง IEA ต่างคาดการณ์ว่า ปริมาณการบริโภคน้ำมันทั่วโลกน่าจะอ่อนแอลงกว่าที่คาดการณ์เดิมไว้ เนื่องจากน่าจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้า อัตราดอกเบี้ยที่ขยายตัว และความอ่อนแอของตลาดเกิดใหม่

นอกจากนี้ การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์เกือบ 3เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จึงทำให้น้ำมันมีราคาที่สูงยิ่งขึ้นกับประเทศที่ใช้ค่าเงินอื่นๆนอกจากค่าเงินดอลลาร์

 

ปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น

บรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ 3 อันดับแรกต่างมีปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อีก 15 ประเทศในกลุ่ม OPEC กำลังวางแผนที่จะร่วมกันขยายกำลังการผลิตเช่นกัน

โดยในเดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯมีปริมาณการผลิตแตะระดับสูงสุดที่ 11 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่รัสเซียก็เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นมาเกือบเท่าเทียมกัน และซาอุดิอาระเบียที่มีปริมาณการผลิตสูงตามมาติดๆที่ 10.6 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน ต.ค.

ปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นประกอบกับปริมาณอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ได้ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าปริมาณอุปทานน้ำมันจะมีสูงกว่าอุปสงค์ภายในช่วงต้นปี 2019

 

การผ่อนคลายให้กับอิหร่าน

ทีมบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ประกาศผ่อนคลายนโยบายคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านให้กับ 8 ประเทศ ทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านได้ตามปกติ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงเป็นการทำให้แรงหนุนในทิศทางขึ้นของน้ำมันที่น่าจะมาจากการคว่ำบาตรออิหร่าน กลับอ่อนกำลังลง


นอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะที่ปริมาณอุปสงค์มีแนวโน้มจะอ่อนแอและราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง กลุ่ม OPEC และพันธมิตร กำลังพิจารณาที่จะออกมาตรการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันรอบใหม่

โดยในเดือนที่ผ่านมา กลุ่มประเทศตัวแทนของ OPEC ได้ปรับลดลงกำลังการผลิตลงเพื่อป้องกันภาวะอุปทานล้นตลาด และกลุ่มประเทศเหล่านั้นก็ได้ยึดมั่นในแนวทางดังกล่าวต่อในการประชุมของกลุ่ม OPEC เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และหลังจากนั้น กระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียได้ออกมาส่งสัญญาณว่าพวกเขาอาจปรับลดกำลังการผลิตลงเป็นจำนวนประมาณ 1 ล้านบาร์เรล/วัน

อย่างไรก็ตาม นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับกล่าวโน้มน้าวให้กลุ่ม OPEC และซาอุดิอาระเบีย คงระดับการผลิตน้ำมันในปัจจุบันไว้ดังเดิม รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งรัสเซียที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศ


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com