· ดัชนีดอลลาร์อ่นอค่าลงมาที่ 94.46 เหรียญ โดยยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรและเงินปอนด์ และยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับสูงสุดรอบ 16 เดือนที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนพ.ย. บริเวณ 97.69 จุด
· ค่าเงินยูโรและค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ หลังจากที่อังกฤษและอียูมีความเห็นพ้องกันในร่างข้อกำหนดความสัมพันธ์ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำวันอาทิตย์นี้ ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์มีท่าทีระมัดระวังต่อแนวโน้มเชิงบวกของร่างข้อตกลงดังกล่าวว่าจะมีความสัมพันธ์ทางการค้าเช่นไร
ค่าเงินยูโรและค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้นมาจากเมื่อคืน 0.2% และ 0.8% ตามลำดับ โดยเทรดเดอร์กำลังรอคอยความชัดเจนของข้อตกลง Brexit ว่าจะเผชิญกับการบรรลุข้อตกลงร่วมกันกับสภาอังกฤษได้หรือไม่
· นักวิเคราะห์จาก Trading View มองว่า ค่าเงินยูโรจะปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 1.1400 ดอลลาร์/ยูโร โดยในระยะสั้นจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องไปที่บริเวณ1.1500 ดอลลาร์/ยูโร และในระยะกลางจะอยู่ที่ะรดับ 1.1800 ดอลลาร์/ยูโร กับ 1.2000 ดอลลาร์/ยูโร
จากภาพข้างต้นค่าเงินเคลื่อนไหวแบบคลื่น A B C (ตามภาพ) ซึ่งหากค่าเงินสามารถยืนเหนือระดับ 1.1800 ดอลลาร์/ยูโรหรือสูงกว่าได้ตามภาพคลื่น C
สรุปได้ว่า จะเห็นค่าเงินยูโรปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับเป้าหมาย 1.1800 ดอลลาร์/ยูโร
· ที่ปรึกษาอาวุโสจากบริษัท Brain&Co. ระบุว่า ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนกำลังกดดันต่อภาคบริษัทต่างๆในโลกให้ต้องกลับมาพิจารณาเรื่องภาคการผลิตและการแปลรูปโลหะที่มีการดำเนินการอยู่ในจีน รวมทั้งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับประโยชน์อย่างมาก
โดยระยะสั้นในภูมิภาคดูจะได้รับผลเชิงลบต่อภาคการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักทางเศรษฐกิจระดับโลกและสหรัฐฯ ขณะที่ระยะกลางจะส่งผลต่อการส่งออกที่ไปยังจีน และเมื่อนั้นจะกระทบต่อสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอหรืออิเล็กทรอนิกส์
อย่างไรก็ดี ผลระยะยาวจะค่อนข้างไปในทางความเชื่อมั่นต่อแถบอาเซียนที่จะกระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทานและเมื่อนั้นภาคบริษัทจะมีการมองหาทางเลือกอื่นๆนอกจากจีน
· กลุ่มนักลงทุนจับตาไปยังการเผชิญหน้ากันระหว่างสองผู้นำมหาอำนาจระหว่าง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ในการประชม G20 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. ที่ดูเหมือนพวกเขาจะพยายามหาข้อสรุปเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งทางการค้าที่เกิดขึ้น
แต่หากความตึงเครียดทางการค้ายังมีอยู่ จะทำให้ภาคบริษัทพยายามและหาทางย้ายห่วงโซ่อุปทานออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
· Standard Chartered Private Bank กล่าวว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนอาจเข้าสู่สภาวะรอยแยกชั่วคราวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่อาจจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จนกว่าจะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020
ขณะที่่การตัดสินใจขของสหรัฐฯเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางการค้ากับจีนมีแนวโน้มจะขับเคลื่อนไปในเชิงการเมือง และคาดว่านายทรัมป์ จะหาทางแก้ไขในช่วงการดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 ของทำเนียบขาว ในศึกการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020
· รองรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจจีน กล่าวว่า การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนควรเป็นไปแบบเท่าเทียมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน และยิ่งเพิ่มความคาดหวังว่าทั้งสองประเทศจะหาทางจัดการต่อความแตกต่างทางการค้าร่วมกันได้ในการประชุม G20 สัปดาห์หน้า
· เฟดถูกคาดว่าจะประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 แต่ตลาดกำลังพยายามมองหาแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินปีหน้าโดยปราศจากความเสี่ยงทางด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายมองว่า เฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้ต่อไป แต่ยังไม่มีสัญญาณชี้นำว่าการประชุมในเดือนหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงคาดการณ์กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไร
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบปี 2018 ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง โดยถูกกดดันจากภาวะอุปทานของน้ำมันดิบท่ามกลางมุมมองเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2017 ที่ระดับ 61.52 เหรียญ/บาร์เรล ก่อนที่จะฟื้นตัวมาที่บริเวณ 61.88 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.5% ที่ระดับ 53.29 เหรียญ/บาร์เรล
ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI ที่ผันผวนเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่การร่วงลงของตลาดในช่วงปี 2014-2016 และก่อนหน้านั้นในช่วงวิกฤตทางการเงินปี 2008-2009
ขณะที่ซาอุดิอาระเบียผลักดันให้กลุ่มโอเปกปรับลดภาวะอุปทาน 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน โดยจะพบกันอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 ธ.ค.เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการจัดการภาวะอุปทาน