• วิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯและ “Non-Farm Payrolls”

    7 ธันวาคม 2561 | Economic News

ตลาดแรงงานสหรัฐฯถือเป็นปัจจัยสำคัญในขณะที่ตลาดหุ้นมีการปรับตัวลดลง และมีความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและภาวะการเมือง

สภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีทิศทางที่ดี และคาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากภาคแรงงาน, ค่าแรง และอัตราว่างงาน


การคาดการณ์

FX Street มองว่า ข้อมูลการจ้างงานของรัฐบาลสหรัฐฯคาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 205,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. จากเดิมที่อยู่ที่ระดับ 250,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานจะคงตัวที่ 3.7% และค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงคาดจะขยายตัวได้ 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.


เศรษฐกิจสหรัฐฯน่ากังวลจริงหรือ?

ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีการเติบโตได้ดี และวัดได้จากผลสะท้อนทางสถิติของสหรัฐฯ

ขณะที่การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯจะมีค่าเฉลี่ยต่อเดือนในปีนี้อยู่ที่ 212,500 ตำแหน่งเมื่อช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นระดับการจ้างงานที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 ขณะที่อัตราว่างงานจะทรงตัวที่ 3.7ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และถือว่าต่ำกว่าระดับ 4จาก 6 ใน 7 เดือน

เมื่อพิจารณาจาก Core Personal Consumption Price Index (core PCE Price) ที่เฟดนำมาเป็นหนึ่งในมาตรวัดทางเศรษฐกิจจะพบว่าอ่อนตัวลง 0.1ในเดือนต.ค. สู่ระดับ 1.8ในระดับรายปี และภาพรวมในปีที่แล้วก็มีค่าเฉลี่ยที่ 1.8%และไม่มีสัญญาณใดๆเพิ่มในรอบกว่า 9 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเมื่อมิ.ย. ปี 2009 ซึ่งเฟดมีการตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 2%

ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโดยสถาบันจัดอุปทาน (ISM) เผยว่าทรงตัวที่ 59.3 จุดในเดือนพ.ย. และค่าเฉลี่ยปีนี้ยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2005 ขณะที่แนวโน้มกลุ่มผู้บริโภคโดยหน่วยงาน Conference Board อยู่ที่ 135.7 จุด ในเดือนที่แล้ว และมีค่าเฉลี่ยที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 17 ปี

สำหรับข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP บ่งชี้ว่ามีการจ้างงานเพียง 179,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. โดยออกมาแย่จากที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 195,000 ตำแหน่ง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. ที่ 200,900 ตำแหน่ง จึงยังสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน

ทางด้าน GDP สหรัฐฯ เคลื่อนไหวที่ 3.3ในช่วง 3 เดือนแรกของปี นับได้ว่าเป็นระดับที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน รวมทั้งยืนได้เหนือ 3%

และล่าสุดข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯก็ยังสะท้อนของความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 206,000 ราย ในสัปดาห์ที่สิ้นสุด 15 ก.ย. จนถึง 228,000 รายในสัปดาห์แรกของเดือนธ.ค. และนับได้ว่าในเดือนก.ย.นั้นเป็นค่าเฉลี่ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การเพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ในเดือนธ.ค. ก็ยังคงเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบประวัติการณ์เช่นกัน


ความกังวลในตลาดหุ้น

แม้ว่าสถิติของข้อมูลเศรษฐกิจจะอยู่ในทิศทางที่ดีมาก แต่ตลาดหุ้นก็ยังคงปรับตัวลดลงต่อ อันจะเห็นได้จากหุ้นหลักของสหรัฐฯที่ยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำหรือทรงตัวด้านล่างของปีนี้ ภาพรวมดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงมาแล้ว 9จากระดับสูงสุดเมื่อเดือนต.ค. ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับลงมาเกือบ 10จาก High ในเดือนก.ย.

ความกังวลในตลาดหุ้นไม่เพียงแต่มาจากสหรัฐฯเท่านั้น แต่เกิดจากผลสะท้อนถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และภาวะตึงเครียดทางการเมือง รวมทั้งข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ว่าผู้นำสหรัฐฯและจีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงขั้นต้นร่วมกันได้ใน G20 ก็ตาม

สถานการณ์ในฝั่งยุโรป ต้องจับตาไปยัง Brexit หลังจากที่ นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีแนวโน้มจะสูญเสียเสียงสนับสนุนในการออกจากอียูจากทางรัฐสภาอังกฤษ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่คณะกรรมาธิการอียูขัดแย้งต่อแผนงบประมาณของอิตาลี ขณะที่ฝรั่งเศสมีเหตุประท้วง นายมาคร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในเรื่องการขึ้นภาษีน้ำมันและเชื้อเพลงของรัฐบาล

เยอรมนีมีค่าจีดีพีแดนลบในไตรมาสที่ 3/2018 ขณะที่จีดีพีอิตาลีทรงตัว และดูภาพรวมอียูจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวและมีปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจ


การดำเนินนโยบายของเฟด

เฟดเริ่มถูกลดกระแสคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าลง หลังจากที่เดือนนี้ยังคงมีคาดการณ์ว่าจะเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25ในการประชุมระหว่าง 18-19 ธ.ค. และก็คาดว่ามีแนวโน้มจะเห็นการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเกิดขึ้น

ขณะที่ตลาดแรงงานถือเป็นปัจจัยหลักที่ถือว่าประสบความสำเร็จหลักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และนโยบายดอกเบี้ยในช่วงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลแรงงานอาจจะหนุนนให้เฟดยังสามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าและปีต่อไปได้


image.png

image.png

ที่มา: FXStreet

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com