• ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลง โดยดัชนี S&P500 ปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดใหม่รอบปีท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากแผนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่อาจเป็นตัวบ่งชี้เศรษฐกิจ รวมทั้งตลาดหุ้น โดยดัชนี S&P500 ปิดปรับลง 2.5% ที่ระดับ 2,530.54 จุดซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. ก่อนที่ภาพรวมตลาดจะปิด -2% ที่ระดับ 2,545.94 จุด โดยถือเป็นระดับปิดต่ำสุดของปี
ดัชนีดาวโจนส์ปิดลง 507.53 จุด ที่ระดับ 23,592.98 จุด ซึ่งในช่วง 2 วันทำการปิดปรับตัวลงไปกว่า 1,000 จุด ท่ามกลางหุ้นบริษัทอะเมซอนและ Goldman Sachs ปรับตัวลดลง
ดัชนีดาวโจนส์และ S&P500 กำลังเข้าสู่ภาวะปรับฐานทั้งคู่ และส่งผลให้ภาพรวมเดือนธ.ค.ออกมาแย่ที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการร่วงลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 1931 ที่หุ้นในเดือนธ.ค.ปีนั้นร่วงลงกว่า 7% ซึ่งดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงไป 7.8% และดัชนี S&P500 ร่วงลงไป 7.6% ขณะที่ S&P500 ปีนี้ร่วงลงไปกว่า 4%
ดัชนี Nasdaq ร่วงลงไป 2.2% ที่ระดับ 6,753.73 จุด ท่ามกลางหุ้นกลุ่ม Microsoft ปิด -2.9% ขณะที่ดัชนี Russell 2000 ปรับลง 20% จากระดับสูงสุดรอบ 52 สัปดาห์
• ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 1.14% ขณะที่ตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ
ขณะที่ยอดขายปลีกของอังกฤษปรับลงมากที่สุด 2.7% หลังจากที่ทาง Asos ผู้ค้าปลีกแฟชั่นออนไลน์ของอังกฤษเตือนเกี่ยวกับผลกำไร โดยบริษัทปรับลดการเติบโตของยอดขายประจำปีและการคาดการณ์อัตราผลกำไร ส่งผลให้หุ้นยอดค้าปลีกอังกฤษลดลง 37.55%
• ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางแรงเทขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังถ้อยแถลงนาย สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีแห่งการเปิดประเทศและการปฏิรูป เพื่อยืนยันว่าจีนจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจต่อไป ในช่วงเวลาที่จีนต้องเผชิญกับแรงกดดันทางการค้ากับสหรัฐฯ
โดยเช้านี้ ดัชนี Nikkei ปรับตัวลดลง 1.55% ด้านดัชนี Topix ลดลง 1.56% ที่บริเวณ 1,572.33 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 2017 ที่ผ่านมา ขณะที่หุ้นกลุ่มค้าปลีกขนาดใหญ่ลดลงประมาณ 2.1%
• นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.70-32.83 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ เนื่องจากตลาดรอดูปัจจัยสำคัญที่จะมีผลอย่างมากต่อทิศทางค่าเงินในสัปดาห์นี้ คือ การประชุมเฟดวันที่ 18-19 ธ.ค.เพื่อพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตลอดจนการประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยเช่นกัน
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าในส่วนของเฟดรอบนี้น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยค่อนข้างแน่นอน แต่สิ่งที่ต้องตามต่อคือ ความเห็นจาก ประธานเฟดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปีหน้า ขณะที่การประชุม กนง.ยังมีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่ายคือ ขึ้นและไม่ขึ้นดอกเบี้ย แต่หากรอบนี้ กนง.ขึ้นดอกเบี้ย ก็จะสร้างเซอร์ไพรสให้ตลาดค่อนข้างมาก และส่งผลให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น