• รวมประเด็นเด่น: ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนขาลง จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว!

    19 ธันวาคม 2561 | SET News

 ประเด็นหลัก:

ความไม่แน่นอนทางการค้า, ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและภาวะการเมืองภายในประเทศกำลังกดดันดัชนีหุ้นในจีน, เกาหลีใต้, ตุรกี, อิตาลี, เยอรมนี และเม็กซิโก ให้เข้าสู่แนวโน้มขาลง

- ความกังวลขยายตัวลุกลามกระทบดัชนีหุ้นหลักของสเปน, ฝรั่งเศส และรัสเซีย ให้ปรับลงไปกว่า 5และดิ่งลึกจากภาวะขาลง

- สัญญาณล่าสุดบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจอาจชะลอตัวและทำให้หุ้นสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ดาวโจนส์, S&P 500 และ Nasdaq ทั้งหมดกลับสู่ภาวะปรับฐานเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มี.ค. 2016

ภาพรวมตลาดหุ้นส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวในแดนลบ จากกระแสที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความกังวลต่อภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก และในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นได้ถึงการร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลก นำโดยหุ้น iShares MSCI ACWI ETF ทีเป็นดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกไม่รวมกับสหรัฐฯ ทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่พ.ค. ปี 2017 จึงเป็นตัวตอกย้ำที่เห็นดัชนีกลับเป็นขาลง

ความไม่แน่นอนทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออันเป็นผลมาจากภาวะทางการเมืองในประเทศต่างๆได้ฉุดให้ดัชนีในตลาดหุ้นทั่งจีน, เกาหลีใต้, ตุรกี, อิตาลี, เยอรมนี และเม็กซิโก กลับเคลื่อนไหวเป็นตลาดขาลง และความกังวลเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ฉุดหุ้นในสเปน, ฝรั่งเศส และรัสเซียต่างปรับตัวลงไปกว่า 5%

โดยเฉพาะประเด็นร้อนแรงของสหรัฐฯและจีนที่ส่งผลให้ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ร่วงลงอย่างหนักในเดือนมิ.ย. ตามมาด้วยดัชนี HSI และ Kospi ของเกาหลีใต้ และล่าสุดข้อมูลเศรษฐกิจของจีนได้สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง อันมาจากยอดค้าปลีกที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 15 ปี และภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวได้น้อยลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียทั้งหมดกลับเข้าสู่แดนลบและมีมูลค่าซื้อขายย่ำแย่ที่สุดจากระดับสูงสุดที่ทำไว้ในช่วงปลายเดือนม.ค.

อิตาลี, เยอรมนี ตัวนำทำตลาดยุโรปอ่อนกำลัง

อิตาลีและเยอรมนี ถือเป็นประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของอิตาลีกำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในยุโรป และทำให้หุ้น FTSE MIB ของอิตาลีทรุดลงไป 24% จากระดับสูงสุดเมื่อช่วงปลายพ.ค. ขณะเดียวกันดัชนี DAX ของเยอรมนีร่วงลงไปเกือบ 21% จากระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และทำให้ตลาดเข้าสู่ภาวะขาลงในช่วงต้นเดือนนี้

โดยสิ่งที่กลุ่มนักลงทุนกังวลคือปัญหาเรื่องงบประมาณอิตาลีปี 2019 ที่มีการตั้งเป้ายอดขาดดุลรายปีของประเทศไว้ที่ 2.4% และดูจะเป็นการขัดแย้งกับข้อกำหนดของทางสภาพอียูและทำให้ทางอียูปฏิเสธร่างดังกล่าวในเดือนที่แล้ว และมีท่าทีคุกคามจะใช้มาตรการคว่ำบาตร ขณะที่นายกรัฐมนตรีอิตาลีพยายามหาเงื่อนไขที่ครอบคลุมตลอดช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาแต่ก็ยังคงไม่สามารถบรรลุผลกับทางอียูได้ และทำให้หุ้นภาคธนาคารของอิตาลีร่วงลงไปแล้วกว่า 36% จากระดับสูงสุดรอบ 52 สัปดาห์ช่วงปลายเดือนเม.ย.

ด้านดัชนี DAX ของเยอรมนี ได้รับผลกระทบจากข้อขัดแย้งทางการค้าระดับโลก และส่งผลต่อกลุ่มบริษัทหลักๆ 30 แห่งซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเยอรมนี ที่อาจบั่นทอนต่อผลกำไร และระส่ำระสายจากความไม่แน่นอนทางการค้า โดยเฉพาะ 3 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของเยอรมนีอย่าง Daimler, Volkswagen และ BMW ที่ทั้งหมดปรับตัวลงไปกว่า 20% จากระดับสูงสุดช่วงปลายเดือนม.ค. โดยเฉพาะ Diamler ที่ดูจะย่ำแย่ที่สุดและปรับตัวลงไปแล้วกว่า 38% จากจุดสูงสุดที่ผ่านมา จากการขึ้นภาษีครั้งใหม่และภาวะอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงครั้งใหม่ และการปรับตัวลงของการผลิตรถยนต์

ความกังวลด้านภาษีนำเข้ากลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในเยอรมนี ทำให้มีการปรับลดแนวโน้มผลประกอบการลงถึง 2 ครั้งในปีนี้ และสะท้อนถึงยอดขายรถยนต์ที่อ่อนแอในยุโรปและจีน

ภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่คิดเป็นสัดส่วน 8% ของจีดีพี กำลังเกิดกระแสกันว่าผลประกอบการของบริษัทที่จะลดน้อยลงและเข้ากดดันต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี อันจะเห็นได้จากข้อมูลจีดีพีไตรมาสที่ 3 ที่ออกมาแย่ลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2015

ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของเยอรมนีที่คาดว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจยุโรปมี ดังนี้:

- ยอดค้าปลีกที่ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนต.ค.
- ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ชะลอตัวลงอีกครั้งในเดือนธ.ค. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และไปทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2016
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิต (PMI) และภาคบริการปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดรอบ 4 ปีในเดือนพ.ย. (ดัชนีรายเดือนร่วงลงไปทำระดับต่ำ 8 ครั้งในปี 2018)

ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้รัฐบาลเยอรมนีทำการปรับลดคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจปี 2018 ลงจากระดับ 2.3% ที่ประเมินไว้ในช่วงเม.ย. สู่ระดับ 1.6% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเป็นการขยายตัวที่ลดลงจากระดับ 2.2% ในปีที่แล้ว อันมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่อาจย่ำแย่ลงต่อประกอบกับความไม่แน่นอนในการสืบทอดตำแหน่งของ นางอังเกลาร์ แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

สัญญาณบ่งชี้เศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัว

จากข้อมูลที่อ่อนแอของเศรษฐกิจในภูมิภาคยูโรโซน และความกังวลเกี่ยวกับ Brexit ยังคงสร้างความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนที่อาจยิ่งตอกย้ำให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงสู่ภาวะขาลงต่อในปีหน้า

หนึ่งความเป็นไปได้คือหุ้นฝรั่งเศสหรือ CAC 40 ที่ร่วงลงแล้วกว่า 15% จากระดับสูงสุดเมื่อพ.ค. อาจร่วงลงอีกไม่น้อยกว่า 5% จากระดับการเคลื่อนไหวแดนลบในตอนนี้

ขณะที่ฝรั่งเศสเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจภายในประเทศอันเนื่องมาจากการที่ภาคเอกชนของฝรั่งเศสเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2016 และภาคธุรกิจยังเผชิญกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการประท้วงของชาวฝรั่งเศสต่อแผนการปรับขึ้นภาษีเชื้อเพลิงที่มีการเดินขบวนประท้วงกันในกรุงปารีส ซึ่งการประท้วงดังกล่าวและผลกระทบจากภาวะห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ธนาคารกลางฝรั่งเศสมีการปรับลดคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจากปัจจุบันที่ 0.4% สู่ระดับ 0.2% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยช่วงก่อนเกิดเหตุประท้วงมีบรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจฝรั่งเศสจะขยายตัวได้ในช่วงที่ 2 ของปี จากการปรับลดภาษีและการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค

แต่ข้อมูลล่าสุดในปัจจุบันกลับไม่เป็นไปตามที่คาด เมื่อดัชนี PMI ของยุโรปอ่อนแอลงแตะระดับต่ำสุดรอบ 49 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ธ.ค.61) และได้ส่งผลให้อีซีบีมีการหั่นคาดการณ์จีดีพีปี 2018 ลงสู่ระดับ 1.9% จากเดิมที่ 2.0% ที่เคยคาดไว้ในเดือนก.ย. ขณะที่ปีหน้ามองว่าจะขยายตัวได้เพียง 1.7% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 1.8%

ตามมาที่ประธานอีซีบีมีการพูดถึงทิศทางเศรษฐกิจที่เสี่ยงจะเข้าสู่ภาวะขาลง ขณะที่หัวหน้าที่ปรึกษาประจำทำเนียบขาวอย่าง นายเควิน ฮาสเซ็ทท์ กล่าวกับสำนักข่าว CNBCในสัปดาห์ที่แล้วว่า ยุโรปเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และมีความชัดเจนถึงการชะลอตัว ไม่ว่าจะมาจากการใช้จ่ายของประชาชน การเฝ้าจับตารอดูผล Brexit และวิกฤตทางการเงินในอิตาลี รวมทั้งทางการค้ากับจีนที่ดูจะส่งผลให้เป็นองค์รวมที่กระทบต่อเศรษฐกิจยุโรป และทำให้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงมากกว่าปีที่แล้ว

สัญญาณของสหรัฐฯ?

ความผันผวนทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ลดลงได้ทำให้นักลงทุนทำการลดสถานะและเทขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าดัชนีหุ้นหลักสหรัฐฯจะได้รับผลกระทบแต่ก็น้อยกว่าหุ้นประเทศอื่น อันจะเห็นได้จาก Stoxx 600 ของยุโรปดิ่งลงไปกว่า 15% จากระดับสูงสุดรอบ 52 สัปดาห์ ทางด้านดัชนี S&P500 ปรับลงไปกว่า 12% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ช่วงปลายเดือนก.ย. และดัชนีดาวโจนส์ที่ร่วงลงไปกว่า 11% จากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.

แต่สัญญาณบ่งชี้ล่าสุดที่สะท้อนถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นที่เรียบร้อย โดยดัชนีดาวโจนส์ไปทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. ขณะที่ S&P500 ทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต.ค.ปี 2017 ทางด้านข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของเศรษฐกิจจีนก็ดูจะไม่ได้ตอบรับกับความคืบหน้าต่อการเจรจาทางการค้ามากขึ้นเท่าใดนัก และดัชนีดาวโจนส์กับ S&P500 รวมทั้ง Nasdaq ก็ยังคงเข้าสู่ภาวะปรับฐานเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มี.ค. ปี 2016

และจะเห็นได้ว่า ภาพรวมดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 เดือนธ.ค.นี้ ถือว่าย่ำแย่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 1931 หรือในช่วงที่เผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างหนัก

ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจนั้นเป็นปัจจัยหลักที่กดดันความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุน โดยจะเห็นได้จากตลาดการเงินที่อ่อนแอเข้าสู่ภาวะขาลง และกดดันหุ้นธนาคารให้ร่วงลงหนักตาม ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวนั่นเอง

นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจก็ดูจะสั่นคลอนไปทั่วทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาคที่อยู่อาศัย, การขนส่ง และสต็อกอุตสาหกรรม ให้ปรับตัวลดลงเป็นสองเท่าในปี 2018

บรรดานักลงทุนหลายๆคนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่าหุ้นสหรัฐฯจะยังคงผันผวนต่อไปจนถึงปีหน้า และมีโอกาสที่จะเห็นหุ้นสหรัฐฯเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆได้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อมูลเยอรมนีที่ปรับตัวลง 20% จีนลง 20% และขณะนี้ที่หุ้นสหรัฐฯกลับตัวเป็นขาลงตาม จึงยิ่งสะท้อนได้ดีว่าปัจจัยที่ตลาดตอบรับคือภาวะเศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอยหรือเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่บางความคิดเห็นก็ไม่คิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ เพียงแต่อาจมีสัญญาณชะลอตัวบ้างและนั่นน่าจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทฯเป็นที่แน่นอน ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงผันผวนต่อเนื่องจนถึงปีหน้า และทำให้ภาของตลาดเป็นขาลงในขณะนี้

ท้ายที่สุดนี้...

แม้ว่าจะมีมุมมองที่สดใสบางอย่าง แต่สัญญาณการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจก็ยังคงดำเนินต่อไป ควบคู่กับความไม่แน่นอนทางการค้าและความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนที่ลดน้อยลงไปเกี่ยวกับโอกาสที่จะเห็นตลาดหุ้นรีบาวน์ได้ในปี 2019


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com