• นักวิเคราะห์จาก CCB International Securities ได้กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะมองสถานการณ์ของตลาดหุ้นไปในเชิงบวก เนื่องจากมีปัจจัยด้านลบมากมายเหลือเกิน และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดน่าจะมาถึงภายในปีหน้า โดยเรายังอยู่เพียงแค่ช่วงครึ่งแรกของตลาดขาลงเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะตามมาภายในปีหน้า
• ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงอีกครั้ง เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองสหรัฐฯที่ส่งผลต่อความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะ Goverment Shutdown รวมถึงท่าทีที่ไม่พอใจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่มี่ต่อประธานเฟดคนปัจจุบัน ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 0.5%
• ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ร่วงลงในช่วงก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการทำ short-covering ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ปิดเพิ่มขึ้น 0.89% ที่ระดับ 19,327.06 จุด
• ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมืองสหรัฐฯ เนื่องจากภาวะ Government shutdown ที่ยืดเยื้อและความไม่พอใจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ต่อประธานเฟดคนปัจจุบัน
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.3% ที่ะรดับ 2,498.29 จุด
• นักบริหารทางการเงิน คาด ปี 2562 การใช้จ่ายภายในประเทศจะมีความสำคัญมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเข้าสู่ขาขึ้นหลังจากอัตราใช้กำลังการผลิตของหลายกลุ่มอุตสาหกรรมแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี รวมทั้งมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP fast track) และการเดินหน้าลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนราว 2.81 แสนล้านบาทในปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 0.98 แสนล้านบาทในปี 2561 รวมทั้งปัจจัยบวกจากการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากการย้ายฐานการลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
• ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ขณะที่เสถียรภาพด้านต่างประเทศมีความแข็งแกร่ง สะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง และภาระหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดการเงินโลกในช่วงที่ผ่านมา
• ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของอังกฤษ (CEBR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย และบราซิล น่าจะใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในการเติบโตจนแซงหน้าประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ อิตาลี อังกฤษ และฝรั่งเศส เพราะได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ