• ปี 2019 อาจเป็นปีที่ดีสำหรับตลาดหุ้น!?

    2 มกราคม 2562 | SET News

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ปัจจัยที่กดดันทิศทางของตลาดหุ้นให้เข้าสู่แนวโน้มขาลงในช่วงปลายปี 2018 อาจฟื้นตัวและกลายเป็นปัจจัยหนุนให้กับตลาดหุ้นในปี 2019 ได้
 

โดยหลังจากผลประกอบการของตลาดหุ้นในเดือน ธ.ค. ออกมาเป็นที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1931 และตลาดหุ้นก็ได้ดำเนินเข้าสู่ปี 2019 ด้วยความผันผวนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะเห็นได้จากดัชนี S&P 500 ที่ปัจจุบันเคลื่อนไหวแถวระดับ 2,495 จุด ปรับร่วงลงมาในภาพรวมรายปีถึง -6.6และ -9.6สำหรับภาพรวมรายเดือน ธ.ค. เพียงเดือนเดียว

ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2018 หุ้นได้ปรับร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลประกอบการของบริษัทที่อ่อนแอ รวมถึงปัจจัยจากการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และ Trade war อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นในช่วงปลายปี 2019 ไปในเชิงบวก โดยมองเป้าหมายของดัชนี S&P 500 ในช่วงปลายปี 2019 ไว้ที่ระดับ 3,000 จุด หรือ +20จากระดับปัจจุบัน

Jonathan Golub นักกลยุทธ์จาก Credit Suisse ระบุว่า การฟื้นตัวของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมายังไม่เห็นผลเป็นที่แน่ชัด แต่ตลาดก็มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นได้ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมองได้ว่าตลาดน่าจะลงไปทำ Bottom เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และปัจจัยบวกอีก 1 อย่างคือการที่อัตรามูลค่าหุ้นต่อผลกำไร ล่าสุดได้ปรับลดลงหลุดระดับ 15ลงมา จากเดิมที่ระดับ 18.4ในช่วงต้นปี 2018 ขณะที่มองเป้าหมายของดัชนี S&P 500 ในปี 2019 ไว้ที่ระดับ 2,925 จุด

อย่างไรก็ตาม แม้ความพยายามฟื้นตัวของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาดูจะเป็นสัญญาณบวกที่ดี แต่ Ed Keon หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนจาก QMA ได้เตือนว่าตลาดมีแนวโน้มที่จะผันผวนในระดับสูง และแกว่งตัวไปได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในขณะที่หุ้นยังคงพยายามฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดของสัปดาห์ก่อนอยู่ รวมถึงมองว่าผลประกอบการตลอดปี 2019 น่าจะค่อนข้างทรงตัว แตกต่างกับมุมมองของตลาดที่มองว่าผลประกอบน่าจะเติบโตได้ 7-8%

 

มุมมองเกี่ยวกับเฟด

ตลาดหุ้นยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ตลาดอนุพันธ์เริ่มมีมุมมองว่าเฟดจะไม่ทการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้แต่เพียงครั้งเดียวในปี 2019 และอาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2020 เสียด้วยซ้ำ

โดย Golub ได้ระบุว่า ในปี 2018 ตลาดหุ้นได้เผชิญกับเฟดที่ยังคงอยู่ในการคุมเข้มทางการเงิน แต่ในปี 2019 เฟดน่าจะจบสิ้นกับการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่สิ่งที่ตลาดสับสนคือ การที่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันที่ปรับลงมากว่า 40% ตลาดบางส่วนจึงมองว่าเฟดน่าจะหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เฟดกลับส่งสัญญาณจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ จึงเป็นการส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกับมุมมองของตลาด

 

ทิศทางของ Trade war

เมื่อไม่นานมานี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มีการส่งสัญญาณในเชิงบวกเกี่ยวกับทิศทางของการเจรจาการค้ากับผู้นำจีน แต่ยังคงไม่มีความชัดเจนว่าการเจรมีความคืบหน้าไปมากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะถึงเดดไลน์ของข้อตกลงสงบศึกในวันที่ 1 มี.ค. ซึ่งหากไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ก่อนครบกำหนด ทรัมป์ก็จะกลับขึ้นภาษีกับจีนต่

ทั้งนี้ ทางนักวิเคราะห์ได้มองว่า หากทั้ง 2 ฝ่ายสามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ก็จะเป็นผลบวกต่อตลาด แต่นั้นเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เลย

ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนกลับมีมุมมองเชิงลบต่อโอกาสที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้ ยกตัวอย่างเช่น Goldman Sachs ที่ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจลงสู่ระดับ 2ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 โดยจะมีปัจจัยกดดันหลักๆมาจาก Trade war ที่ยืดเยื้อ 


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com