เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณชะลอตัวมาก่อนที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาสสุดท้ายของปีขยายตัวได้ 7% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่สิ้นสุดเมื่อเดือนมิ.ย. ปี 2015 ขณะที่จีดีพีปี 2018 หดตัวลงจาก 6.8% ในไตรมาสแรกสู่ระดับ 6.5% ในไตรมาสที่ 3 โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบเกือบ 8 ปี หลังจากที่ฟื้นตัวมา 3 ไตรมาส
กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนชะลอตัว
กิจกรรมทางเศรษฐกิจและผลสำรวจทางสถิติของจีนชะลอตัวลง โดยภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้บริโภค รวมทั้งความเชื่อมั่น, ข้อมูลการค้าและยอดค้าปลีก ทั้งหมดนี้ต่างปรับตัวลดลงทั้งหมด ขณะที่ภาครัฐบาลพยายามหาทางกระตุ้นและผลักดันเศรษฐกิจ
ผลประกาศจีดีพีประจำปีปรับตัวลง 0.3% ที่ 6.5% ในไตรมาสที่ 3 จากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ 6.8% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่เริ่มช่วงครึ่งปี 2017
ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตเดือนพ.ย. ปรับลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินที่ระดับ 5.4% และมีค่าเฉลี่ยช่วง 3 เดือนลดลงจาก 6.7% ในเดือนเม.ย. ลงสู่ระดับ 5.7% ในเดือนพ.ย. และบ่งชี้ว่า ข้อมูลตั้งแต่ก.ย., ต.ค. และพ.ย. ยังคงอ่อนตัวลงมากที่สุด
ภาพกลุ่มการผลิตดูจะเสียงทรงต่อในช่วงครึ่งหลัง โดยจะเห็นได้จากข้อมูล PMI จากสำนักงานสถิติที่บ่งชี้ว่าภาคการผลิตนั้นทรงตัวได้แถว 50 จุดเดือนพ.ย. และหากย่อลงมาจะเข้าสู่แดนหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ก.ค. ปี 2016 หลังจากที่ร่วงลงมาที่ 51.9 จุด ในเดือนเม.ย. ขณะที่ดัชนีภาคบริการทรงตัวที่ 53.4 จุดในเดือนพ.ย. ลดลงจากระดับ 55.3 จุดในเดือนม.ค.
ผลสำรวจภาคเอกชนจาก Caixin ปรับตัวลง ขณะที่ PMI ปรับลงจาก 51.5 จุดในเดือนม.ค. สู่ระดับ 50.2 จุดในเดือนพ.ย. ทางด้านภาคบริการร่วงลงมาที่ 53.8 จุดในเดือนพ.ย. จากช่วงต้นปีที่ 54.7 จุด
สำหรับข้อมูลยอดค้าปลีกอ่อนตัวลง 8.1% ในเดือนพ.ย. โดยหดตัวมากที่สุดในรอบ 15 ปี ซึ่งถือเป็นยอดขายที่อ่อนตัวที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990
ภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวทำให้สินเชื่อใหม่สกุลเงินหยวน (New Yuan Loans) พุ่งขึ้นและทำให้รัฐบาลพยายามหาวิธีพยุงเศรษฐกิจ โดยค่าเฉลี่ยเครดิตของเงินหยวนช่วง 12 เดือนหรือในปี 2018 อยู่ที่ 1.306 ล้านล้านหยวนซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากเกิดวิกฤตการเงินปี 2008 ก็จะเห็นค่าเฉลี่ยสินเชื่อเงินหยวนพุ่งขึ้นแตะ 8.45917 แสนล้านหยวน หรือยอดสินเชื่อเงินหยวนยืนเหนือระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก.ค. ปี 2017 ได้
อย่างไรก็ดี ภาพรวมการลงทุนโดยตรงของต่างชาติมีการปรับลดลง 1.3% ในเดือนพ.ย. ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนส.ค. ที่ผ่านมา
ทางการจีนพยายามหาทางป้องกันเศรษฐกิจจากผลกระทบของข้อขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริโภคในจีนก็ยังไม่ได้ให้น้ำหนักต่อตลาดการเงินหรืออุปนิสัยการอุปโภคบริโภคของชาวอเมริกาเท่าใดนัก
ยอดส่งออกและนำเข้าของจีนก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยยอดรวมการส่งออกรายปีอยู่ที่ 14.4% ในเดือนก.ย. และ 15.5% ในเดือนต.ค. แต่เดือนพ.ย.หดตัวลง 5.4% ขณะที่ยอดส่งออกร่วงลง 3% ในเดือนพ.ย. จากระดับ 20.8% ในเดือนต.ค. ซึ่งส่งผลให้ค่าเฉลี่ยช่วง 3 เดือนยอดนำเข้าจีนหดตัวลงแตะระดับต่ำสุดรอบ 22 เดือน
ประเด็น Trade War ได้ประโยชน์คู่หรือสูญเสีย?
ข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลเกี่ยวกับการสั่นคลอนทางเศรษฐกิจโลกปีนี้ ว่าเศรษฐกิจทั้งสองประเทศจะกระทบให้ประเทศอื่นๆยังมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเพียงพอ หรือนำมาซึ่งภาวะชะลอตัวหรือเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปด้วยหรือไม่
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปอาจเผชิญอุปสรรคจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและทางการเมืองจากทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี รวมไปถึงความไม่แน่นอนจาก Brexit ด้วยว่าอังกฤษจะออกจากอียูได้อย่างราบรื่นหรือไม่ และยังมีปัจจัยจากอิตาลีเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจด้วย
ขณะที่ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนนั้นดูเหมือนทั้งสองประเทศจะยังเดินหน้าต่อได้และยังไม่มีภัยคุกคามทางเศรษฐกิจเท่าไรนัก แต่ดูเหมือนจะส่งผลกระทบไปยังยุโรป, อเมริกาเหนือ, ญี่ปุ่น, เกาหลี และไต้หวัน ที่มีการทำธุรกิจในจีนมากกว่า
ที่มา: FXStreet