· ค่าเงินดอลลาร์เริ่มชะลอการแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ทรงตัวหลังผลการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลอังกฤษเมื่อคืนนี้ ผลออกมาเป็นชัยชนะของรัฐบาล
โดยดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่บริเวณ 96.133 จุด หลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นมาได้ 1% ตลอด 5 ช่วงตลาดที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา ดัชนีดอลลาร์เกือบอ่อนค่าหลุดเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วัน หลังดัชนีอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ที่ 95.029 จุด ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นมา และทรงตัวเหนือบริเวณดังกล่าว
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าเมื่อเทียกับเงินยูโร หลังข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงเป็นปัจจัยกดดันค่าเงิน โดยการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงสัปดาห์นี้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนีเกือบหลุดเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 ขณะที่ทางประธานอีซีบีก็ได้ยอมรับว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจของยูโรโซนนั้นอ่อนแอกว่าที่ทางอีซีบีได้คาดการณ์เอาไว้
โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินยูโรวันนี้ ค่อนข้างทรงตัวบริเวณ 1.1388 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ดอลลาร์ปรับแข็งค่าติดต่อกันได้ 5 ช่วงตลาด ขึ้นมาประมาณ 1.5%
บรรดานักลงทุนเริ่มให้ความสนใจไปยังรายงานข่าวของ Wall Street Journal ที่ระบุว่า เจ้าหน้าสหรัฐฯกำลังสืบสวนกรณีต้องสงสัยว่า Huawei มีการโจรกรรมทางข้อมูลจากบรรดาธุรกิจในสหรัฐฯโดยอาจมีรายงานความคืบหน้าที่ชัดเจนตามมาภายหลัง
อีกปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนจับตาคือ การที่ภาวะ Shutdown ของสหรัฐฯเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงสัญญาณเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จากบรรดาสมาชิกเฟด ก่อนหน้าการประชุมเฟดที่จะมีขึ้นในวันที่ 29-30 ม.ค. นี้
ผู้บริหาร State Street Bank สาขาโตเกียว กล่าวว่า ตลาดเริ่มมีกระแสคาดการณ์ว่า เฟดอาจหยุดวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ รวมถึงเริ่มมีแนวโน้มว่าเฟดอาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2020 ดังนั้นหากการประชุมในเดือนนี้ มีสัญญาณไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สัญญาณดังกล่าวก็น่าจะคงอยู่กับตลาดไปได้ในระยะยาว
· รายงาน Beige Book ของเฟด เมื่อคืนนี้ แสดงให้เห็นว่า ตลาดแรงงานในสหรัฐฯเริ่มมีภาวะตึงตัว หลังบรรดาผู้ประกอบปะสบปัญหาในการหาลูกจ้างในทุกระดับชั้น ขณะที่อัตราค่าจ้างขยายตัวได้ในระดับปานกลาง
ขณะที่หลายๆรัฐในสหรับฯต่างรายงานการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ รวมถึงต้นทุนที่สูงขึ้นจากการขึ้นภาษี
ในภาพรวมทางเศรษฐกิจยังค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวก แต่หลายๆรัฐเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง เนื่องจากผลกระทบความผันผวนของตลาด อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ปรับสูงขึ้น ราคาพลังงานที่ตกต่ำ และความตึงเครียดทางการค้าและการเมืองที่ยังไร้ความชัดเจน
· สำหรับผลกระทบที่เกิดจากภาวะ Shutdown ของสหรัฐฯ ยังไม่ค่อยปรากฏอยู่ในรายงาน Beige Book ฉบับนี้เท่าไหร่นัก เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บในช่วงที่รัฐบาลเพิ่งเข้าสู่ภาวะ Shutdown
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเพียงหนึ่งเดียวที่บ่งชี้ถึงผลกระทบจากภาวะ Shutdown มาจากเฟดสาขาชิคาโก ที่ระบุว่าบรรดาเกษตรกรและผู้ประกอบการอื่นๆในพื้นที่ กำลังประสบปัญหาในการตัดสินใจ เนื่องจากการที่ตัวเลขภาคการเกษตรถูกชะลอการรายงานออกไป รวมถึงค่าเสียหายจากการขึ้นภาษีที่ภาครัฐจะจ่ายให้กับเกษตรกรก็ถูกเลื่อนออกไปจากภาวะShutdown เช่นกัน
· ในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าเฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่ผ่านมา แต่รายงานดูเหมือนจะบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังค่อนข้างชะลอตัว และไม่มีท่าทีจะขยายตัวถึงระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% ได้ในเร็วๆนี้ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทับซ้อนกัน ขณะที่ทางประธานเฟดยังได้ออกมาส่งสัญญาณจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ท่ามกลางภาวะ Shutdown ที่ยังคงดำเนินต่อไป ในขณะที่เฟดเตีรยมตัวสำหรับการประชุมครั้งต่อไปภายในเดือนนี้ บรรดาสมาชิกเฟดก็ได้ออกมากล่าวสนับสนุนแนวคิดเชิงชะลอการขึ้นดอกเบี้ยตามประธานเฟดเช่นกัน
· เมื่อวานนี้กลุ่มผู้นำยุโรปเรียกร้องให้อังกฤษนำส่งแผนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการก้าวออกจากอียู ท่ามกลางความกังวลที่ว่าปัญหาทางการเมืองยืดเยื้อครั้งประวัติศาสตร์ หลังจาก นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษยังคงล้มเหลวในการยืนเสนอแผน Brexit ต่อทางรัฐสภา
โดยทางฝั่งยุโรปยังคงรอคอยข้อเสนอจากอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อเสนอใดๆก็ตามแต่ที่จะทำให้ได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากรัฐสภาอังกฤษเองเพื่อมาดำเนินการเจรจากันต่อ ซึ่งทางอังกฤษเองก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จได้ โดยเสียงส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่ยอมรับต่อข้อเสนอ Brexit หรือแนวร่วมในการไปต่อ
อย่างไรก็ดี ทางกลุ่มผู้นำยุโรปจะไม่ปล่อยให้ถึงขีดเส้นตาย รวมทั้งชาติพันธมิตพรมแดนไอร์แลนด์ด้วย ซึ่งพวกเขาก็ยังคงเปิดกว้างต่อความเป็นไปได้ในการขยายเวลาการออกจากอียูออกไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 29 มี.ค.นี้
· ตลาดกำลังให้ความสนใจกับความคืบหน้าของ Brexit ครั้งใหม่ หลังจากที่ นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เอาชนะอย่างฉิวเฉียดในการลงมติไม่ไว้วางใจเมื่อคืนนี้ และสามารถหลีกเลี่ยงการพิจารณาจัดเลือกตั้งทั่วไปได้ รวมทั้งนางเมย์ ยังเรียกร้องให้หัวหน้าพรรคทุกพรรคร่วมเจรจากันเพื่อพยายามหลีกเลี่ยงอุปสรรคสำหรับข้อตกลง Brexit
โดยมีกำหนดการสำหรับ "Plan B" ภายในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ โดยนักลงทุนในตลาดการเงินส่วนใหญ่เชื่อว่ารัฐบาลอังกฤษจะสามารถผลักดดันแผนเพื่อขยายมาตรา 50 ออกไปก่อน หรือกำหนดการออกจากอียูในวันที่ 29 มี.ค.นี้
· ผลสำรวจของ Reuters แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง ท่ามกลางปริมาณอุปสงค์ในประเทศที่จะอ่อนแอลง ขณะที่การส่งออกจะถูกกดดันโดยนโยบายภาษีของสหรัฐฯ จึงหนุนกระแสคาดการณ์ว่ารัฐบาลจีนอาจมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น
ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนในปี 2019 ถูกคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 6.3% ซึ่งเป็นระดับที่ชะลอตัวมากที่สุดในรอบ 29 ปี จากเดิมในปี 2018 ที่ระดับ 6.6% และปี 2017 ที่ระดับ 6.9%
· นักวิเคราะห์จาก Capital Economic คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะอ่อนตัวต่อในปีนี้ ท่ามกลางความผันผวนภายในประเทศที่ดูจะยังรุนแรงอยู่ จนกว่าจีนจะสามารถหลีกเลี่ยงสงครามการค้าได้ ซึ่งโดยภาพรวมความตึงเครียดด้านความมั่นคงและเทคโนโลยียังมีอยู่ในระดับสูง และแหล่งข่าวบางรายบอกกับสำนักข่าว Reuters ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จีนกำลังมีแผนจะปรับลดเป้าจีดีพีอยู่ที่ 6-6.5% ในปีนี้ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ประมาณ 6.5% ในปีที่แล้ว
· การขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนหดตัวลงในปีที่แล้วจาก 6.8% ในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งคาดจีดีพีไตรมาสที่ 4/2018 จะหดตัวสู่ 6.4% โดยรายงานการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนไตรมาสที่ 4/2018 จะเปิดเผยในวันที่ 21 ม.ค. นี้
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลทางเศรษฐกิจจีนที่ผ่านมา พบว่า ภาคการค้าและกิจกรรมภาคการผลิตในเดือนธ.ค. หดตัวลงอย่างมาก จึงยิ่งจุดประกายความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ขณะที่การเติบโตของภาคการลงทุนปรับตัวขึ้นได้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จากการที่กลุ่มผู้ใช้นโยบายของจีนมีการใช้โครงการ Fast-Track ของโครงสร้างพื้นฐาน แต่ภาพรวมถึงจะปรับตัวขึ้นก็ยังอยู่ใกล้เคียงกับระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ทางด้านการขยาตัวของภาคค้าปลีกก็อ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2003 รวมทั้งภาคอสังหาริมทรัยพ์ก็ดูจะไม่สดใส
กล่าวโดยสรุปว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอกำลังส่งผลกระทบต่อผลประกอบการภาคบริษัท รวมทั้งบั่นทอนภาคการลงทุน และเสี่ยงที่จะทำให้มีคนตกงานเพิ่มมากขึ้น
· จีนกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อยุติความชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนที่กำลังส่งผลกระทบต่อภาคแรงงาน โดยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของจีนมีการประกาศนโยบายออกมาสนับสนุนไม่ว่าจะเป็น การปรับลดภาษี, การผ่อนคลายนโยบายการเงิน และแผนการสนับสนุนค่าใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อผลักดันให้ข้อมูลเศรษฐกิจที่กำลังบ่งชี้ว่าเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ประกอบกับแนวโน้มที่สหรัฐฯจะยังคงเดินหน้ากดดันทางการค้ากับจีนต่อไป โดยสภาวะดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความกังวลว่าจะก่อให้เกิดภาวการณ์ตกงานและไม่ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นมากเท่าใด
· รัฐบาลญี่ปุ่นออกมายอมรับว่า เนื่องจากวิธีสำรวจข้อมูลที่บกพร่อง ทำให้ภาครัฐประเมินอัตราค่าจ้างเฉลี่ยของประชากรต่ำกว่าความเป็นจริงไป 0.6% ตลอดปี 2012-2018 ซึ่งข้อบกพร่องดังกล่าวได้ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้
ข้อมูลอัตราค่าจ้างที่ผิดจากความเป็นจริงไป ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ได้ว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงหรือไม่
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนดจะปรับแผนงบประมาณสำหรับปีงบประมาณถัดไป ที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นไป โดยจะเพิ่มงบประมาณเป็นมูลค่า 650 ล้านเยน (5.96 ล้านเหรียญ) เพื่อทดแทนรายจ่ายในส่วนของค่าประกันสำหรับการประเมินค่าจ้างที่ผิดพลาดไป
· นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าบีโอเจ กล่าวว่า บรรดาธนาคารกลางจำเป็นต้องจับตาผลกระทบที่เกิดจากการใช้นโยบายกระตุ้นการเงินที่ผิดขนบธรรมเนียมอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผลกระทบโดยตรงและทางอ้อมอาจแตกต่างออกไปจากการใช้นโยบายการเงินตามขนบธรรมเนียม
นอกจากนี้ นายคุโรดะยังได้เตือนว่า สังคมผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้การดำเนินงานของบีโอเจเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากปริมาณอุปสงค์ในกองทุนที่น้อยลงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยตกต่ำ และอาจทำให้บรรดาสถาบันทางการเงินมีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่มากขึ้น
· รายงานจาก DailyFX ระบุว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ มีมุมมองว่า ประชากรสูงวัยไม่ได้เป็นส่วนสำคัญที่ฉุดให้เศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่ Natural Rate หรืออัตราการวางงานตามธรรมชาติมีแนวโน้มจะปรับตัวลง ตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลง
ดังนี้น บีโอเจจึงต้องเฝ้าระวังอย่าใกล้ชิดเกี่ยวกับผลกระทบจากเครื่องมือที่่แตกต่างไปจากเดิม
· โฆษกประจำกระทรวงพาณิชย์จีนยืนยัน นายหลิว อี้ รองนายกรัฐมนตรีจีน จะเดินทางเยือนสหรัฐฯระหว่างวันที่ 30 และ 31 ม.ค. นี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเจรจาการค้าร่วมกับสหรัฐฯอีกรอบ
· รายงานจากสำนักข่าว Yonhap ระบุว่าตัวแทนการเจรจาจากเกาหลีเหนือได้เดินทางมาถึงกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แล้วในวันนี้ และเดินทางต่อไปยังกรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ
โดยรายงานก่อนหน้านี้ระบุว่า นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งสหรัฐฯ และนายคิม ยอง ชอล รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศและที่ปรึกษาคนสนิทของผู้นำเกาหลีเหนือ ถูกคาดการณ์ว่าจะมีประชุมร่วมกันในวันศุกร์นี้ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับการจัดการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐฯและผู้นำเกาหลีเหนือเป็นครั้งที่ 2
ขณะที่รายงานจาก CNN ระบุว่า นายคิมได้ครอบครองจดหมายฉบับใหม่ที่นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือเป็นผู้เขียนด้วยตัวเอง เพื่อที่จะส่งมอบให้กับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างการเดินทางเยือนสหรัฐฯ
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงท่ามกลางกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายที่ระดับ 12 ล้านบาร์เรล/วัน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง
น้ำมันดิบ WTI อ่อนตัวลง 31 เซนต์ คิดเป็น -0.6% ที่ระดับ 52 เหรียญ/บาร์เรล เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อคืนนี้
น้ำมันดิบ Brent อ่อนตัวลง 34 เซนต์ คิดเป็น -0.6% เช่นกัน ที่ระดับ 60.98 เหรียญ/บาร์เรล
รายงานจาก EIA บ่งชี้ว่า กำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯในสัปดาห์ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ปรับตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 11.9 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 11.7 ล้านบาร์เรล/วัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นชาติที่มีผลผลิตน้ำมันพุ่งขึ้นมากที่สุดในโลก