· ยอดนำเข้าถั่วเหลืองของจีนในช่วงเปิดสัปดาห์แรกของปี 2019 ร่วงลงจากปีก่อน จึงยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลที่ว่ากลุ่มเกษตรกรของสหรัฐฯที่กำลังคาดหวังถึงข้อตกลงการค้าที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างสหรัฐฯและจีนจะได้รับผลกระทบ
อ้างอิงรายงานจาก ClipperData เผยว่า ยอดขนส่งถั่วเหลือของจีนปี 2019 ปรับตัวลงไปประมาณ 37% จากช่วงเริ่มต้น 2 สัปดาห์แรกของปี 2018 ซึ่งการร่วงลงของตลาดได้ยิ่งตอกย้ำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับเงื่อนไขทางตลาดการเงินที่เบาบางแลข้อขัดแย้งทางการค้าที่เกิดขึ้น
· ตลาดสหรัฐฯจะปิดทำการในวันนี้เนื่องในวันหยุดวันนี้ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯยังปิดทำการอย่างต่อเนื่อง จึงอาจทำให้ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของทางสหรัฐฯอาจถูกเลื่อนการประกาศออกไป
ขณะที่ประเด็นการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีน น่าจะเป็นประเด็นเด่นในเดือนนี้ที่ต้องจับตา โดยเฉพาะการที่รองนายกฯจีนจะเดินทางมายังสหรัฐฯในระหว่าง 30-31 ม.ค. เพื่อเปิดเจรจารอบใหม่
· นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีกำหนดจะแถลงการณ์ต่อรัฐสภาในคืนนี้ เกี่ยวกับแผนการดำเนินงานขั้นต่อไปสำหรับกรณี Brexit ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งบรรดา ส.ส. จะมีสิทธิ์เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน ก่อนที่รัฐสภาจะมีการหารือกันอีกครั้งภายในวันที่ 29 ม.ค. และการลงมติที่จะตามมาหลังจากนั้นจะเป็นการชี้วัดว่าแผนฉบับใหม่มีแนวโน้มที่จะได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอหรือไม่
· ผลสำรวจโดย Reuters พบว่า บรรดานักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองว่า โอกาสที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวภายในปีงบประมาณนี้มีสูงมากขึ้น ท่ามกลางแรงกดดันจากประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
โดยบรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวได้ 0.8% ซึ่งอาจเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะชะลอตัวไปได้ แต่ภาพรวมก็ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง
แนวโน้มดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อแนวทางการดำเนินนโยบายของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่มีแผนจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่ 8% สู่ระดับ 10% ภายในเดือน ต.ค. ปีนี้ เพื่อที่รัฐบาลจะสามารถนำงบประมาณส่วนนี้ มาดูแลด้านสวัสดิการทางสังคมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบในทางอ้อมจากประเด็นข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐฯ เนื่องจากราคาอุปกรณ์และวัตถุดิบนำเข้าจากประเทศจีน โดยเฉพาะในกลุ่มของเซมิคอนดักเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และอื่นๆ ต่างมีราคาที่สูงขึ้น
โดยจะเห็นได้จากยอดส่งออกรวมของญี่ปุ่นที่ชะลอตัวลงในเดือน พ.ย. เนื่องจากยอดส่งออกสู่สหรัฐฯและจีนต่างปรับตัวลงอย่างมาก
ทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ระบุว่ามีความคืบหน้ามากขึ้นสำหรับการบรรลุข้อตกลงทางด้านกับจีน แต่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเมื่อถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวโน้มที่เขาจะพิจารณายกเลิกนโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้า
ขณะที่นักวิเคราะห์จาก IHS Markit มองว่าปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกยังคงสร้างความกังวลให้กับตลาด ไม่ว่าจะเป็น Brexit และผลกระทบที่เกิดจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขณะที่ผลกระทบที่เกิดกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังจากการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจจีนที่ออกมาชะลอตัวไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่อย่างที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ท่ามกลางการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 0.2% ที่ะรดับ 62.83 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.2% เช่นเดียวกัน ที่ะรดับ 53.92 เหรียญ/บาร์เรล
CRUDE OIL TECHNICAL ANALYSIS
นักวิเคราะห์จาก Daily FX ประเมินว่า ราคาน้ำมันกำลังปรับขึ้นเข้าใกล้แนวต้านที่บริเวณ 54.51 – 55.24 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากราคาปิดเหนือบริเวณดังกล่าวได้ จะแนวต้านถัดไปอยู่ที่บริเวณ 59.05 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่แนวรับระยะสั้นจะอยู่ที่บริเวณ 49.41 -50.15 เหรียญ/บาร์เรล หากหลุดบริเวณนี้ลงมา อาจย่อตัวต่อได้ถึงบริเวณ 42.05 -42.55 เหรียญ/บาร์เรล