ดัชนีดอลลาร์มีการปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ในคืนที่ผ่านมา ยกเว้นเฉพาะกับค่าเงินดอลลาร์แคนาดา เนื่องจากภาวะ Shutdown กลับส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์และหุ้นสหรัฐฯ
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิด ภาวะ Shutdown ไม่ได้เป็นผลดีต่อการถือครองทรัพย์สินในสหรัฐฯแต่อย่างใด ซึ่งที่ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้ คือความผ่อนคลายของตลาด หลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของภาครัฐต้องถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากผลกระทบของภาวะShutdown
โดยตัวเลขสำคัญๆ อย่างยอดค้าปลีกและดุลการค้าต่างถูกเลื่อนการรายงานออกไป ขณะที่ภาวะ Shutdown โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ส่งผลกระทบที่คงอยู่ในระยะยาวต่อเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากภาวะ Shutdown ครั้งนี้ ซึ่งได้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ถือเป็นภาวะShutdown ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ นักวิเคราะห์จึงมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจสูญเสียการเติบโตไปถึง 0.5% เนื่องจากข้าราชการกว่า 800,000 คนที่ไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นปัจจัยกดดันค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนและปริมาณการลงทุนโดยรวม
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า ภาวะ Shutdown อาจจบลงเร็วๆนี้ เนื่องจากทีมบริหารทรัมป์เริ่มมีท่าทีกระวนกระวายมากขึ้น
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะปล่อยให้รัฐบาลอยู่ในสภาพเวิ้งว้างต่อไปเพื่อเรียกร้องงบประมาณก่อสร้างกำแพงชายแดนอีกนานแค่ไหน ซึ่งหากรัฐบาลสหรัฐฯกลับมาดำเนินงานได้อีกครั้ง ค่าเงินดอลลาร์จะมีโอกาสปรับแข็งค่าขึ้นได้ ขณะที่ค่าเงินเยนอาจถูกกดดันจากปริมาณความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่กลับเข้ามา โดยทางธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีการประชุมขึ้นในสัปดาห์ ขณะที่ตลาดยังคงคาดว่าจะไม่มีประกาศเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบาย แต่อาจมีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเงินเฟ้อในการขยายตัวของเศรษฐกิจลงแทน
ส่วนค่าเงินปอนด์เมื่อคืนวันศุกร์ ปรับอ่อนค่าลงอย่างมากก่อนหน้าการประกาศรายละเอียดของนโยบาย Brexit ในแบบ “Plan B”
โดยนักวิเคราะห์มองว่า แนวโน้มความเป็นไปได้มากที่สุดของ “Plan B” คือการขยายระยะเวลาที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากอียูออกไปก่อน
แต่การขยายเวลา ไม่ใช่ความเป็นไปได้เพียงหนึ่งเดียวของ Plan B เท่านั้น ยังมีความเป็นไปได้ที่นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณายอมใช้แบบแผน Norway style model หรือการยอมส่งเงินสมทบให้อียูด้วยวงเงินที่น้อยลงแลกกับสิทธิ์คงอยู่ในตลาดเดี่ยว ตลอดจนการพิจารณาจัดการลงประชามติใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะถอนตัวแบบ No-deal ก็ยังคงมีอยู่ โดยหากนายกฯอังกฤษไม่ส่งเรื่องขอขยายระยะเวลาต่ออียูเพื่อเปิดทางไปสู่ No-deal Brexit ค่าเงินปอนด์ก็มีโอกาสปรับอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ รัฐสภาอังกฤษมีกำหนดจะหารือและลงมติใน Plan B อีกครั้งในวันที่ 29 ม.ค. นี้ โดยหนทางที่ Plan B จะเป็นไปได้นั้น มีโดยสรุปดังนี้
1.ยื่นขยายระยะเวลา > ผลักดันแผน Norway style model
2.ยื่นขยายระยะเวลา > จัดการลงประชามติใหม่
3.ไม่ยื่นขยายระยะเวลา > No deal Brexit