ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์มีการอ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สิ้นปี 2018 ท่ามกลางความกังวลว่าเฟดอาจชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แต่ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นมาได้ เรื่องจากสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ
· นักวิเคราะห์จาก Credit Agricole คาดการณ์ว่าการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ น่าจะชะลอตัวลงในเร็วๆนี้ และทางอีซีบีน่าจะมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการนโยบายการเงินภายในการประชุมสัปดาห์นี้ โดยตลาดจะจับตาสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มการคุมเข้มทางการเงินจากอีซีบีเป็นหลัก
ขณะที่ นักวิเคราะห์อื่นๆต่างมีมุมมองว่า ภาวะ Shutdown ของสหรัฐฯ จะเริ่มสร้างผลกระทบที่ชัดเจนต่อเศรษฐกิจมากขึ้นในเร็วๆนี้
· ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ปรับแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 96.472 จุด สำหรับภาพรวมรายเดือน ดัชนีปรับแข็งค่าขึ้นได้ 1.5% จากระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
· ค่าเงินยูโรค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ที่บริเวณ 1.1361 ดอลลาร์/ยูโร โดยปรับอ่อนค่าลงมาเกือบ 2% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
· ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 0.3% เมื่อเทียบกับเงินหยวนที่บริเวณ 6.8157 ดอลลาร์/ยูโร โดยแข็งค่าขึ้นกว่า 1% ตลอดช่วง 7 วันทำการที่ผ่านมา
· ขณะที่ค่าเงินเยนทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่บริเวณ 109.64 เยน/ดอลลาร์ โดยตลาดจับตาการประชุมบีโอเจระหว่างวันที่ 22-23 ม.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า บีโอเจจะปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ
· ค่าเงินเยนเคลื่อนไหว Sideways หลังจากที่เผชิญแรงเทขายเข้ากดดันในช่วงกลางตลาดเอเชีย ขณะนี้กำลังทดสอบแนวรับสำคัญ 109.5 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางสภาวะRisk-Off ซึ่งหากหลุดต่ำกว่าระดับดังกล่าวลงมา อาจกระตุ้นให้เกิดคำสั่ง Stops ในตลาด และมีโอกาสเห็นค่าเงินเยนทดสอบ 109 เยน/ดอลลาร์
· ค่าเงินหยวนอ่อนค่าแตะ 6.8 หยวน/ดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ แต่ภาพรวมมีการแข็งค่าขึ้นมาเกือบ 3% นับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค. จากความหวังที่ว่าสหรัฐฯและจีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้ ขณะที่การอ่อนค่าที่เกิดขึ้นมาจากการที่เศรษฐกิจจีนเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและอาจส่งผลให้จีนต้องมีการเร่งใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
· ค่าเงินหยวนฟอร์มตัวเป็นกรอบสามเหลี่ยมรอการ Breakout โดยจะเห็นได้ถึงการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ หรือหดตัวเข้ามาเป็นกรอบสามเหลี่ยมมากขึ้นในกราฟรายชั่วโมง (ตามภาพ)
ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 50ชั่วโมง (HMA) ทรงตัวเหนือเส้น 200-HMA และดูมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าขึ้นได้ต่อ ขณะที่ RSI ก็ยังคงสะท้อนถึงภาพการขึ้นต่อได้ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะเห็นค่าเงิน Breakout ไปทิศทางอ่อนค่าขึ้นและสามารถยืนเหนือกรอบสามเหลี่ยมที่ร่างไว้ได้จากระดับปัจจุบันที่ 6.8075 หยวน/ดอลลาร์
โดยหากขึ้นได้จริงมีโอกาสเห็นค่าเงินหยวนขึ้นไปได้แถว 6.8450 หยวน/ดอลลาร์ (อ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ 5 ธ.ค.)
แนวโน้ม: ขาขึ้นหากยืนเหนือ 6.8075 หยวน/ดอลลาร์
· ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ระบุว่า ความอ่อนแอภาคบริการและภาคเกษตรทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวในไตรมาสที่ 4 แม้ว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในภาคก่อสร้างก็ตาม
โดยภาคบริการในไตรมาสที่ 4 เติบโตที่ระดับ 7.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ที่ระดับ 7.9% ขณะที่ภาคเกษตรกรชะลอตัวลงที่ระดับ 3.5% จากเดิม 3.6% ตามการประกาศข้อมูลจีดีพีจีนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลงและสงครามการค้าอย่างต่อเนื่องกับสหรัฐฯ
· นายเจเรมี โคบลิน หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านรัฐสภาอังกฤษ มีความคืบหน้าในการผลักดันให้เกิดการลงประชามติ Brexit อีกรอบมากขึ้น โดยเรียกร้องรัฐสภาให้พิจารณาถอนอำนาจในการบริหารนโยบาย Brexit ออกจากนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรี
โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การลงมติข้อตกลง Brexit ของนางเมย์ จบลงด้วยพ่ายแพ้อย่างขาดลอยไปด้วยคะแนนเสียง 432-202 ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ ส่งผลให้บรรดา ส.ส. ต้องการให้รัฐสภาเรียกอำนาจในการบริหาร Brexit ออกจากนางเมย์ที่มีเสียงสนับสนุนน้อยลงเข้าทุกที
ขณะที่เมื่อคืนที่ผ่านมา นางเมย์ยังคงพยายามผลักดันข้อตกลง Brexit ฉบับเดิมของเธอ โดยให้สัญยาว่าจะปรับเปลี่ยนนโยบายให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นการผลักดัน Plan B ส่งผลให้บรรดาผู้ไม่เห็นด้วย มองว่านางเมย์กำลังพยายามหลอกตัวเองและปฏิเสธความพ่ายแพ้ในการลงมติเมื่อสัปดาห์ก่อนอยู่
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปริมาณอุปสงค์น้ำมันดิบ โดยข่าวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วเอเชีย รวมทั้งสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.8% ที่ระดับ 62.26 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลง 0.7% ที่ระดับ 53.43 เหรียญ/บาร์เรล
นักวิเคราะห์จากหน่วยงานด้านพลังงานในสิงคโปร์ ระบุว่า การชะลอตัวของกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมจีนมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวชี้วัดปริมาณความต้องการน้ำมันดิบ
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำ FXTM กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเป็นครั้งที่สองในรอบ 3 เดือน และเรายังสามารถเห็นการปรับลดในอนาคต หากความตึงเครียดทางการค้าเพิ่มขึ้น, อังกฤษออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลงทางการค้าใดๆ รวมทั้งการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีน
แม้จะมีมุมมองเชิงลบต่อราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ดีราคายังได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2018 ที่ผ่านมา