• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 24 มกราคม 2562

    24 มกราคม 2562 | Economic News

F_20190124.jpg

·         ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะทางการค้าและเศรษฐกิจโลก ที่ดูจะทำให้ภาพของดอลลาร์ระยะสั้นไม่สดใสนักและมีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ


·         ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายอาวุโสจาก Silicon Valley Bank กล่าวว่า ความตึงเครียดจากขัดแย้งทางการค้าและภาวะ Shutdown ดูจะเป็นปัจจัยที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกปี 2019 และทั้งหมดนี้ก็ได้บั่นทอนทิศทางของดอลลาร์


·         หน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯที่ปิดตัวลงในภาวะ Shutdown ได้เข้าสู่วันที่ 33 แล้ว และส่งผลให้นักลงทุนรู้สึกเป็นกังวล ขณะที่ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯจากพรรครีพับลิกัน กล่าวถึง แผนที่จะลงมติในวันนี้เพื่อให้มีการอนุมัติงบประมาณภาครัฐในช่วง 3 สัปดาห์


·         ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.18ที่ระดับ 96.13 จุด หลังจากที่ในช่วง 2 สัปดาห์ปรับขึ้นได้กว่า 1%


·         ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงไป 0.2% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ หลังบีโอเจมีมติคงดอกเบี้ย แต่มีการหั่นคาดการณ์เงินเฟ้อ พร้อมกันนี้ ผู้ว่าการบีโอเจมีการกล่าวเตือนภาวะความเสี่ยงทางการขยายตัวของเศรษฐกิจอันเป็นผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้า และอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนตัว


image.png

โดยบีโอเจหั่นคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะเริ่มต้นปีงบประมาณในเดือนเม.ย. ลงสู่ระดับ 0.9จากระดับ 1.4% ท่ามกลางการร่วงลงของราคาน้ำมันที่เป็นเหตุผลหลัก


ค่าเงินเยนเช้านี้ทรงตัวบริเวณ 109.59 เยนดอลลาร์

·         การประชุมอีซีบีในคืนนี้ ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีมติคงนโยบาย แต่อาจส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน จึงอาจทำให้ตลาดมีมุมมองว่า การดำเนินการปรับนโยบายให้เข้าสู่ภาวะปกติของอีซีบีน่าจะถูกยืดเยื้ออกไปอีก

โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมา อีซีบีมีมติยกเลิกนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรเป็นมูลค่า 2.6 ล้านล้านยูโร พร้อมส่งสัญญาณอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในช่วงปลายปีนี้

แต่เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนดูจะอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ การดำเนินการในขั้นต่อไปของอีซีบีจึงอาจเป็นการผ่อนคลายนโยบายมากกว่าการคุมเข้ม   


ทั้งนี้ เศรษฐกิจเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยูโรโซน ต่างขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยในช่วงไตรมาสที่ 4/2018 และทางนายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบี ก็รับทราบถึงการชะลอตัวดังกล่าวเป็นอย่างดี รวมถึงมีมุมมองว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจยืดเยื้อนานกว่าที่คาดไว้ การประชุมในคืนนี้จึงอาจมีสัญญาณของการผ่อนคลายนโยบายการเงินบ้าง


โดย Deutsche Bank ประเมินว่า อย่างมากที่สุด ทางอีซีบีมีแนวโน้มจะปรับลดคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งสัญญาณต่อตลาดว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆเริ่มหันไปในทิศทางลบ และอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการออกนโยบายปล่อยกู้ระยะยาวให้กับภาคธนาคาร (Long-Term Refinancing Operations) ซึ่งอาจมีการประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงเดือน มี.ค. – พ.ค.


·         ผลสำรวจโดย Reuters พบว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มจะชะลอตัวในไตรมาสนี้ ท่ามกลางภาวะ Shutdown ของรัฐบาลสหรัฐฯที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ จึงอาจทำให้เฟดพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยไปจนเดือน พ.ค. เป็นอย่างน้อย

แต่โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในอีก 12 เดือนข้างหน้า ยังทรงตัวที่ 20% และทรงตัวที่ 40% สำหรับอีก 2 ปีข้างหน้า


ทั้งนี้ ความคิดเห็นจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์กว่า 100 คน ที่เก็บรวบรวมในช่วงวันที่ 16-23 ม.ค. ต่างมีมุมมองว่าเศรษฐกิจรายไตรมาสของสหรัฐฯตลอดปี 2019 จะชะลอตัวลงด้วยอัตราที่ย่ำแย่ยิ่งกว่าปี 2018 ด้วยกันทั้งสิ้น


·          หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์จาก Daiwa Capital Markets มองว่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯส่งสัญญาณอ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้อก็ไม่มีการปรับขึ้นได้อย่างมีนัยยะสำคัญ โอกาสที่เฟดจะใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินในปีนี้จึงยิ่งน้อยลงไปตาม พร้อมคาดการณ์ว่า GDP ของสหรัฐฯในไตรมาสนี้จะถูกปรับลดลงไป 0.3%


ขณะที่ผลสำรวจมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสนี้ จะขยายตัวได้ 2.1% ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.3% ส่วนไตรมาสที่ 2/2019 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 2.3% และไตรมาสที่เหลือคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.9%


·         นักเศรษฐศาสตร์จาก Deutsche Bank ระบุว่า หากภาวะ Shutdown ยืดเยื้อออกไปตลอดทั้งไตรมาส เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจชะลอการเติบโตตัวลงได้มากถึง 1% และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อัตรา GDP ที่แท้จริงของสหรัฐฯก็มีโอกาสที่จะหดตัวในไตรมาสนี้ได้เช่นกัน แม้ว่าในปัจจุบัน ทาง Deutsche Bank จะยังไม่ได้ปรับคาดการณ์ GDP ที่แท้จริงของสหรัฐฯแต่อย่างใด เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจอีกมาก

·         นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า เขาจะหาหนทางอื่นในการเรียกเสียงสนับสนุนในการก่อสร้างกำแพงชายแดน หลังจากที่นางแนนซี่ เพโลซี่ โฆษกประจำสภาผู้แทนราษฎร กีดกันไม่ให้นายทรัมป์สามารถขึ้นกล่าวแถลงการณ์นโยบายประจำปี (The State of the Union) ต่อรัฐสภาได้

การประทะกันระหว่างผู้ทรงอำนาจในสหรัฐฯทั้งสอง เป็นการส่งสัญญาณว่าภาวะ Shutdown ของสหรัฐฯที่กำลังเข้าสู่วันที่ 33 มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อออกไปอีก และสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงบรรดาข้าราชการกว่า 800,000 ราย ที่ต้องพักงานหรือทำงานโดยไม่ได้รับค่าแรง

·         สำนักข่าว KCNA รายงานว่า นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ได้กล่าวชื่มชมนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พร้อมแสดงความพึงพอใจต่อผลการเจรจาระหว่างตัวแทนของเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดการประชุมระหว่างเขาและนายทรัมป์ขึ้นอีกครั้ง

โดยนายคิมระบุว่า เขาจะเชื่อมั่นในมุมมองเชิงบวกของนายทรัมป์ ซึ่งก่อนหน้านี้นายคิมได้ข่มขู่จะหา หนทางใหม่” หากสหรัฐฯยังคงดำเนินการคว่ำบาตรและกดดันเกาหลีเหนืออยู่ การออกมาแสดงความพึงพอใจต่อผลการเจรจาครั้งนี้ จึงเป็นสัญญาณว่านายคิมต้องการที่จะเจรจากับนายทรัมป์อย่างตรงไปตรงมาเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย


ทั้งนี้ นายคิมมีการประชุมร่วมกับนายทรัมป์ อย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือน ก.พ. ขณะที่สหรัฐฯจะคงมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเอาไว้ก่อน

·         ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงท่ามกลางกระแสการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกที่อาจเป็นอุปสรรคสำหรับอุปสงค์พลังงาน และนั่นเป็นสาเหตุหลักที่กดดันราคาพลังงานเวลานี้ แต่ภาพรวมตลาดก็ยังมีแรงหนุนบางส่วนจากความคาดหวังที่ว่าญี่ปุ่นและจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงชะลอตัว ควบคู่กับสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่แล้ว และข้อมูลทางการที่บ่งชี้ว่าผลผลิต Shale Oil ของสหรัฐฯมีแนวโน้มจะชะลอลงในปีหน้า

อย่างไรก็ดี เมื่อวานนี้ก็ถือเป็นวันที่ 2 ต่อเนื่องที่ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลง โดยน้ำมันดิบ Brent ปิดลง 35 เซนต์ คิดเป็น -0.5ที่ระดับ 61.15 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดลง 39 เซนต์ คิดเป็น -0.75ที่ระดับ 52.62 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com