ในช่วงปีที่ผ่านมา ทิศทางการค้าทั่วโลกอยู่ในสภาวะปั่นป่วน เนื่องจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแนวคิดออกนโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศคู่ค้าทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเลื่อมล้ำของดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้า
การดำเนินการขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ นำมาซึ่งการต่อต้านจากประเทศคู่ค้า ไม่ว่าจะเป็นจีน หรือสหภาพยุโรปก็ดี โดยพวกเขาได้โต้กลับสหรัฐฯด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจากสหรัฐฯเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งทางการค้าขึ้นทั่วโลก โดยระหว่างความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน ที่ในช่วงสัปดาห์นี้กำลังมีการเจรจากัน ท่ามกลางความหวังว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถหาจุดยืนร่วมกันได้ในที่สุด
สำหรับอัตราภาษีที่สหรัฐฯเป็นผู้ประกาศขึ้นกับประเทศคู่ค้าและการโต้กลับของประเทศคู่ค้าในช่วงปีที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้
หมายเหตุ: ข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ที่ทางสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ร่วมลงนามไปเมื่อช่วงปลายที่ผ่านมา จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็กซิโกและแคนาดา ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ขณะที่นายทรัมป์ให้สัญญาจะไม่ขึ้นภาษีรถยนต์จากญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ในระหว่างที่การเจรจาการค้ากับคู่ค้าทั้งสองยังคงดำเนินอยู่
หมายเหตุ: หากการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ทันเดดไลน์ในเดือน มี.ค. นายทรัมป์ได้เคยประกาศว่าจะทำการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าที่เหลือทั้งหมดจากประเทศจีน คิดเป็นมูลค่าอีกประมาณ 2.67 แสนล้านเหรียญ ซึ่งจะเป็นสินค้าในกลุ่ม โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าผู้บริโภคอื่นๆ
หมายเหตุ : หากพิจารณาจากข้อมูลการค้าปี 2017 จากหน่วยงานด้านสิถิติของจีน จีนจะสามารถปรับขึ้นภาษีตอบโต้สหรัฐฯได้อีกแค่ประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งใน 1.6 หมื่นล้านเหรียญนั้น เป็นสินค้าในกลุ่มอากาศยานพาณิชย์ของบริษัท Boeing ดังนั้นการต่อต้านนโยบายภาษีสหรัฐฯอาจเป็นในด้านอื่นๆ เช่น การคุมเข้มไม่ให้บริษัทสหรัฐฯสามารถดำเนินธุรกิจในประเทศจีนได้โดยง่ายแทน