• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562

    4 กุมภาพันธ์ 2562 | Economic News

Weekly_20190204.jpg

·         ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ที่ระดับ 0.7256 หรือคิดเป็น -0.22% หลังผลสำรวจภาคเอกชนเผยข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตของจีนชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบเกือบสามปีในเดือนม.ค.


 ซึ่งข้อมูลภาคการลิตจีนที่ออกมาอ่อนแอได้จุดประกายความกังวลต่อภาวการณ์ขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง และดูเหมือนจะเอื้อประโยชน์ต่อค่าเงินเยนในฐานะ Safe-Haven เราจึงเห็นเยนแข็งค่าขึ้นมาที่ 109.52 เยน/ดอลลาร์ หลังจากแข็งค่ากลับลงไปมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ในวันก่อน


อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงก็ยังคงแข็งแกร่ง หลังจากที่นายทรัมป์ปรารถนาที่จะพบกับผู้นำจีนในเร็วๆนี้


·         ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเพียงเล็กน้อย 0.01ที่ 95.59 จุด โดยภาพรวมสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวแดนลบ โดยอ่อนตัวลงไปประมาณ 0.6ในสัปดาห์ที่แล้ว และรายงานจาก CNBC ระบุว่า โดยส่วนใหญ่ทุกคนคาดจะเห็นดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อในปีนี้ จากการที่เฟดมีท่าทีระมัดระวังต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย


อย่างไรก็ดี การเจรจาระหว่างสหรัฐฯและจีนก็ดูจะยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ และหลายครั้งที่ดูเหมือนจะทำให้ดอลลาร์ตอบรับในฐานะ Safe-Haven จากความไม่แน่นอน


ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯต้องการจะมีข้อตกลงทางการค้าครั้งใหญ่กับจีน แต่ก็มีสัญญาณว่าเขาอาจเลื่อนการเจรจาออกไปได้หากการเจรจายังคงล้มเหลวตามข้อเรียกร้องของเขาในการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจจีนสู่ภาคอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ


·         นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ กล่าวว่า การประนีประนอมทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนอาจมีแนวโน้มจะหนุนให้สินทรัพย์เสี่ยงต่างๆปรับตัวสูงขึ้นได้ และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงในเวลาเดียวกัน


·         ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.1ที่ 1.1455 ดอลลาร์/ยูโร หลังอ่อนค่าไปกว่า 0.3ในวันก่อนหน้า โดยภาพรวมค่าเงินยูโรไม่ได้ตอบรับกับการอ่อนค่ามากเท่าไหร่นัก แต่ให้ความสนใจกับความอ่อนแอทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของยูโรโซนที่ดูจะอ่อนแอกว่าที่คาด


ล่าสุดนายเจนส์ เวียดแมนน์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนี หนึ่งในสมาชิกบอร์ดของอีซีบี ก็มีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจเยอรมนี โดยกังวลว่าอาจอ่อนแอเป็นเวลานานกว่าที่ประเมินไว้ในขั้นต้น


·         ค่าเงินปอนด์ ยังคงอ่อนตัวจากความไม่แน่นอนของ Brexit โดยวันศุกร์อ่อนค่าลง 0.14ที่ระดับ 1.3082 ดอลลาร์/ปอนด์ และทำให้บรรดานักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าน่าจะเห็นเงินปอนด์อ่อนค่าลงได้อีกจากความผันผวนที่จะเกิดขึ้นต่อในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

·         นายนีล คาชคาริ ประธานเฟดสาขามินิแอโปลิส ระบุว่า การตัดสินใจที่จะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะช่วยเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่สามารถเติบโตต่อไปได้ ขณะที่มองว่าเฟดไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศ อย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนหรือจีน แต่เฟดจะสามารถควบคุมทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ ซึ่งถ้อยแถลงของนายคาชคาริ ได้ช่วยให้ตลาดสหรัฐฯมีความเชื่อมั่นกลับเข้ามาบางส่วน

·         นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า การแทรกแซงทางการทหารในเวเนซุเอลาถือเป็นทางเลือกของชาติตะวันตกที่จะร่วมมือกดดันผู้นำสังคมนิยมอย่าง นายนิโคลัส มาดูโร ให้ทำการลาออกจากตำแหน่ง ขณะรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธมิตรกลุ่มประเทศโอเปก กล่าวเตือนว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายความสัมพันธ์อย่างให้ยิ่งย่ำแย่

·         นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า เธอจะหาทางออกเพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาฯให้ผ่านร่างเงื่อนไข Brexit หลังจากที่เธอพยายามหาทางกลับไปเจรจากับทางอียูอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน ที่อังกฤษจะถึงกำหนดวันที่ต้องออกจากอียูในวันที่ 29 มี.ค. นี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นว่าอังกฤษมีโอกาสเสี่ยงจะออกจากอียูแบบ “No Deal”


นายสตีเฟน บาร์เคลย์  รัฐมนตรีกระทรวง Brexit จะทำการเจรจาครั้งใหม่กับพรรคอนุรักษ์นิยมในวันนี้เพื่อหาทางเลือกสำหรับแผนการหลีกเลี่ยง Post-Brexit กรณีพรมแดนไอร์แลนด์

 

·         รายงานจากหนังสือพิมพ์ Bild ของเยอรมนี ระบุว่า รัฐบาลเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะเผชิญภาวะขาดแคลนงบประมาณภายในปี 2023 เนื่องจากผลกระทบของการปรับลดอัตราภาษี และค่าจ้างของภาคสาธารณะที่ขยายตัว เว้นเสียแต่ ภาครัฐจะพิจารณาใช้มาตรการรัดเข็มขัด


หากภาครัฐบาลของเยอรมนีประสบภาวะขาดแคลนงบประมาณจริง จะส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซนชะลอตัวลง ซึ่งเยอรมนีมีการรายงานยอดเกินดุลเป็นมูลค่า 1.12 หมื่นล้านยูโรในปีที่ผ่านมา


อย่างไรก็ตาม บรรดารัฐมนตรีน่าจะทราบถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะขาดแคลนงบประมาณกันแล้ว และน่าจะมีการหารือกันภายในเร็วๆนี้ ซึ่งปัจจัยที่กดดันให้เกิดภาวะดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากค่าจ้างของภาคสาธารณะที่ขยายตัว โดยคาดว่าจะขยายตัวสู่ระดับ 3.5 หมื่นล้านยูโรในปี 2020 จากเดิมที่ 3.1 หมื่นล้านยูโรในปี 2016

·         รายงานจาก CNBC ระบุว่า กลุ่มนักวิเคราะห์มองว่า ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคในจีนจะมีทิศทางที่ดีขึ้นมากกว่าที่ข้อมูลยอดค้าปลีกแสดงผลออกมา ซึ่งน่าจะทำให้เราได้เห็นสัญญาณบวกเพิ่มขึ้น ท่ามกลางสัญญาณส่วนใหญ่ที่ดูจะชะลอตัว

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่า ยอดค้าปลีกจะออกมาไม่ดีนักในปีที่ผ่านมา แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยที่ดีคือกลุ่มผู้บริโภค โดยจะเห็นได้ว่าถึงแม้ยอดค้าปลีกจะขยายตัวได้ช้าลงแต่ดัชนีภาคบริการและสินค้าต่างๆมีการขยายตัวมากขึ้นและนั่นถือเป็นเรื่องที่ดี ขณะที่กลุ่มผู้กำหนดนโยบายการเงินของจีนดูจะมีความต้องการให้ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นปัจจัยหนุนครั้งใหญ่ต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจีนด้วยเช่นกัน

·         ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นได้เกือบ 3% หลังจากข้อมูลจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯออกมาแข็งแกร่งเกินคาดจึงจุดประกายประเด็นความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น และสัญญาณที่ว่าการที่สหรัฐฯคว่ำบาตรเวเนซุเอลาจะช่วยตึงอุปทานน้ำมัน

น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.47 เหรียญ คิดเป็น -2.7% ที่ระดับ 55.26 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปิดปรับขึ้นเกือบ 3%


น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.91 เหรียญ คิดเป็น +3.1% ที่ระดับ 62.75 เหรียญ/บาร์เรล และภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นได้ประมาณ 2%


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com