ภาคธุรกิจอเมริกามีการจ้างงานในเดือนม.ค. ที่ผ่านมามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ก.พ. ปีที่แล้ว จึงช่วยผ่อนคลายความกังวลจากสภาวะ Shutdown ในช่วง 35 วันของภาครัฐที่อาจสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ข้อมูลการจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯ (Non-Farm Payrolls) ออกมาขยายตัวขึ้นได้ 304,000 ตำแหน่ง จากคาดการณ์แถวระดับประมาณ 165,000 ตำแหน่ง ขณะที่ข้อมูลเดือนธ.ค.ถูกปรับทบทวนลงมาที่ 222,000 ตำแหน่ง หรือลดลงไป 90,000 ตำแหน่ง
อัตราว่างงานปรับขึ้น 0.1% สู่ระดับ 4.0% เนื่องจากบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯประสบปัญหาภาวะ Shutdown สำหรับการจ้างงานภาคการผลิตปรับตัวขึ้น 13,000 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าเป็นระดับการเพิ่มขึ้นมากที่สุดรอบ 2 ปี นับตั้งแต่ปี 1995 ทางด้านอัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยรายชั่วโมงทรงตัวที่ 3.2%
การจ้างงานภาคการผลิต
เมื่อพิจารณาจากถ้อยแถลงหลังเสร็จสิ้นประชุมของเฟดในวันพุธที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด มีการพูดถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวได้ โดยหนึ่งปัจจัยแห่งความวิตกกังวลนั้นมาจากภาวะ Shutdown ของหน่วยงานรัฐบาลบางส่วนที่ปิดทำการยาวนาน 35 วัน และถือว่ายาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งการติดตามผล Brexit ทั้งหมดนี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเช่นไร
ธนาคารกลางสหรัฐฯมีการปรับลดอัตราการขยายตัวในการประชุมเดือนธ.ค. โดยลด GDP ปีนี้ลงสู่ 2.3% จากเดิม 2.5% ขณะที่หั่นอัตราดอกเบี้ยจาก 3.1% สู่ระดับ 2.9% พร้อมกันนี้คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในปีนี้ก็ดูจะลดจำนวนครั้งลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2 ครั้ง เหลือเพียงได้แค่ครั้งเดียว
สำหรับข้อมูลการจ้างงานภาคแรงงานเดือนม.ค. ดูเหมือนจะชี้ว่าผลกระทบจากภาวะ Shutdown และข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่ได้บั่นทอนมากนัก โดยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจอาจเผชิญกับความไม่แน่นอนของข้อขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศที่เริ่มต้นมาเป็นเวลานาน และข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนตัวลงเป็นผลมาจากภาคธุรกิจถอนการลงทุนและลดการผลิตเพื่อรอผลลัพธ์จาก Shutdown และข้อขัดแย้งทางการค้า
ISM เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิต (PMI)
ภาคธุรกิจและตลาดต่างๆ รวมทั้งหุ้นพื้นฐานอ่อนตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับการที่เฟดจะเดินหน้าปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยที่มากขึ้น และดูเหมือนเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยก็น่าจะได้รับผลจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
แต่ความกังวลดังกล่าวดูจะเลือนรางลงไปหลังจากที่ ISM เผยดัชนี PMI ปรับตัวขึ้นมาที่ 56.6 จุด จากภาคธุรกิจที่ดูจะกลับเข้ามาจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 และการเพิ่มขึ้นของพนักงานโดยทั่วไปเป็นผลมาจากแผนภาคธุรกิจและสถาบันในการขยายฐานการเติบโต และดูเหมือนว่าข้อมูลต่างๆเมื่อนำมาประกอบกันจะสดใสกว่าที่เฟดได้กังวลไว้
ที่มา: FXStreet