โดยค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวบริเวณ 109.53 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ปรับขึ้นมาได้ด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบเดือนในช่วงตลาดวันศุกร์
นักวิเคราะห์จาก Rakuten Securities ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนรายงานตัวเลขการจ้างงาน ทำให้ค่าเงินสามารถรีบาวน์ขึ้นมาหลังจากเผชิญแรงกดดันจากสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเฟดได้
ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี รีบาวน์ขึ้นมาเคลื่อนไหวบริเวณ 2.69% จากระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ระดับ 2.619% ในสัปดาห์ก่อน จึงเป็นอีกปัจจัยที่หนุนค่าเงินดอลลาร์
ส่วนดัชนีดอลลาร์วันนี้ทรงตัวบริเวณ 95.58 จุด ขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1455 ดอลลาร์/ยูโร
· ค่าเงิน GBP/USD ในระยะยาวยังเคลื่อนไหวตามทิศทางขาขึ้น ที่ยังคงอยู่แม้จะค่าเงินจะอ่อนค่าลงเมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่เส้น RSI ยังคงเคลื่อนไหวไม่ถึงแดน Overbought หรือต่ำกว่าระดับ 70 จุด บ่งชี้ว่าค่าเงินมีโอกาสแข็งค่าได้อีก ประกอบกับสัญญาณจาก Indicators อื่นๆก็ส่งสัญญาณบวกเช่นกัน
ทั้งนี้ ค่าเงินดูจะแกว่งไปมาระหว่างระดับ $1.3095 ขณะที่ระดับ $1.3150 เป็นแนวต้านที่กันไม่ให้ค่าเงินสามารถผ่านไปได้ แม้จะได้รับแรงหนุนจากสัญญาณผ่อนคลายการเงินจากเฟด ซึ่งหากทะลุผ่านไปได้ แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ $1.3275 และ $1.3300
สำหรับแนวรับแรกจะอยู่ที่ 1.3040 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ขณะที่แนวรับถัดไปจะอยู่ที่ 1.300 ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญทางจิตวิทยา ตามมาโดย 1.2925 และ 1.2830
· ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้น หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นตามรายงานจ้างงานภาครัฐบาล โดยเงินเยนจากระดับ 108.9 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าสู่ระดับ 109.6 เยน/ดอลลาร์
หากค่าเงินเยนยืนเหนือ 109.05 เยน/ดอลลาณ์ ซึ่งเป็นระดับเส้น Fibonacci Retracement 61.8% ก็มีโอกาสปรับขึ้นไปบริเวณ 111.5 เยน/ดอลลาร์ในระยะยาว ซึ่งก็ดูมีโอกาสท่ี่จะเห็นเยนอ่อนค่าได้ต่อ และในเชิงเทคนิคภาพรวมดูเหมือนดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้อีก
· ภาคธุรกิจอเมริกามีการจ้างงานในเดือนม.ค. ที่ผ่านมามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ก.พ. ปีที่แล้ว จึงช่วยผ่อนคลายความกังวลจากสภาวะ Shutdown ในช่วง 35 วันของภาครัฐที่อาจสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ข้อมูลการจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯ (Non-Farm Payrolls) ออกมาขยายตัวขึ้นได้ 304,000 ตำแหน่ง จากคาดการณ์แถวระดับประมาณ 165,000 ตำแหน่ง ขณะที่ข้อมูลเดือนธ.ค.ถูกปรับทบทวนลงมาที่ 222,000 ตำแหน่ง หรือลดลงไป 90,000 ตำแหน่ง
อัตราว่างงานปรับขึ้น 0.1% สู่ระดับ 4.0% เนื่องจากบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯประสบปัญหาภาวะ Shutdown สำหรับการจ้างงานภาคการผลิตปรับตัวขึ้น 13,000 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าเป็นระดับการเพิ่มขึ้นมากที่สุดรอบ 2 ปี นับตั้งแต่ปี 1995 ทางด้านอัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยรายชั่วโมงทรงตัวที่ 3.2%
ภาคธุรกิจและตลาดต่างๆ รวมทั้งหุ้นพื้นฐานอ่อนตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับการที่เฟดจะเดินหน้าปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยที่มากขึ้น และดูเหมือนเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยก็น่าจะได้รับผลจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
แต่ความกังวลดังกล่าวดูจะเลือนรางลงไปหลังจากที่ ISM เผยดัชนี PMI ปรับตัวขึ้นมาที่ 56.6 จุด จากภาคธุรกิจที่ดูจะกลับเข้ามาจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 และการเพิ่มขึ้นของพนักงานโดยทั่วไปเป็นผลมาจากแผนภาคธุรกิจและสถาบันในการขยายฐานการเติบโต และดูเหมือนว่าข้อมูลต่างๆเมื่อนำมาประกอบกันจะสดใสกว่าที่เฟดได้กังวลไว้
· ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดของปีนี้ ท่ามกลางแรงหนุนจากมาตรการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และการคว่ำบาตรน้ำมันเวเนซุเอลาของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมัน Brent ปรับสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 63.37 เหรียย/บาร์เรล หลังจากปรับขึ้นมาได้ 3% ในช่วงตลาดก่อนหน้า
ขณะที่ ราคาน้ำมัน WTI ปรับสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 55.68 เหรียย/บาร์เรล หลังจากปรับขึ้นมาได้ 2.73% ในช่วงตลาดก่อนหน้า
นักวิเคราะห์จาก Commonwealth Bank ระบุว่า แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของเวเนซุเอลาจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือนที่ผ่านมา แต่มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯอาจกดดันให้อุปทานน้ำมันหายไปจากตลาดได้ประมาณ 0.5 – 1%