· ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่หลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นมาเมื่อวานนี้ โดยมีแรงหนุนมาจากปริมาณความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับสูงขึ้นตามมา
โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 95.846 จุด หลังจากปรับแข็งค่าติดต่อกัน 3 ช่วงตลาด
· นักวิเคราะห์จาก Mizuho Securities ระบุว่า มุมมองที่เป็นเชิงลบมากเกินไปต่อเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้ว เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น แต่ปริมาณการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้น่าจะค่อนข้างซบเซา เนื่องจากตลาดจีนปิดทำการในช่วงเทศกาลตรุษจีน
· ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1438 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.15145 ดอลลาร์/ยูโร ที่ขึ้นไปได้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
เมื่อเทียบกับเงินเยน ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเล็กน้อยแถวระดับ 109.93 เยน/ดอลลาร์ โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา มีการแข็งค่ามากกว่าระดับ 110 เยน/ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า ค่าเงินดอลลาร์ยังมีโอกาสแข็งค่ากว่าระดับ 110 เยน/ดอลลาร์ ได้อีก เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นได้ต่อ
· ค่าเงินปอนด์ทรงตัวบริเวณ 1.3038 ดอลลาร์/ปอนด์ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็น Brexit
· ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าขึ้นนับตั้งแต่ทราบผลประชุมเฟดในสัปดาห์ที่แล้ว โดยค่าเงินเยน Break ระดับสำคัญทางเทคนิคบริเวณ 109 เยน/ดอลลาร์
แม้ว่าค่าเงินเยนจะอ่อนค่า แต่ก็ยังทรงตัวได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันบริเวณ 109.5 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งหากระยะสั้นหลุดแนวรับบริเวณนี้ลงมาจะทำให้ภาพของราคากลับมาเป็นทิศทางแข็งค่าได้ทันที
· FXStreet ระบุว่า ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่าหลุด 0.72!!! จากรายงานยอดค้าปลีกและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะยอดค้าปลีกที่ออกมาแย่ลงที่ระดับ 0.4% ในเดือนธ.ค. จากที่คาดไว้ว่าจะปรับตัวลงเพียง 0.1%
· FX Street ระบุว่า ค่าเงินยูโรมีการปรับฐานต่ำลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ที่อ่อนค่าหลุดระดับ $1.1500 ลงมา
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินมีแรงหนุนทางเทคนิคจากเส้นค่าเฉลี่ยราย 21 วัน และราย 10 วัน ที่ระดับ 1.1423 กับ 1.1418 ตามลำดับ
ขณะที่ที่ภาพทางเทคนิคบ่งชี้ว่าค่าเงินจะไม่ปรับลงไปต่ำกว่านี้ ตราบใดที่ยังยืนเหนือ 1.1301 และมีโอกาสที่จะกลับขึ้นไปทดสอบ 1.1500 ได้อีกครั้ง
· ตลาดจับตาข้อมูล API, ISM และแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ภายในคืนนี้ ตลาดสินค้าโภคภันฑ์จะจับตาการประกาศข้อมูลกระแสน้ำมันในสหรัฐฯ ที่เก็บรวบรวมโดย API เพื่อดูว่าปริมาณน้ำมันในสหรัฐฯจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ถึง 878,600 บาร์เรล ในรายงานปริมาณน้ำมันของภาครัฐในภายหลังหรือไม่
นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาการประกาศดัชนีภาคการผลิตโดย ISM ซึ่งคาดว่าภาคการผลิตน่าจะชะลอตัวลงในเดือน ม.ค. แต่ในช่วงต้นปี กิจกรรมของภาคอุตสาหกรรมมักจะมีการประกาศออกมาดีกว่าที่คาดไว้เสมอ ดังนั้นหากการประกาศในคืนนี้ ดัชนีออกมาดีกว่าที่คาดไว้จริง ก็จะเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินดอลลลาร์และกดดันทองคำได้
ส่วนการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซึ่งหากนายทรัมป์ใช้โอกาสนี้ในการเรียกเสียงสนับสนุนให้สหรัฐฯสามารถหาข้อตกลงการค้าร่วมกับจีน หรือสร้างความมั่นใจว่ารัฐบาลจะไม่ประสบภาวะ Shutdown อีก ความเชื่อมั่นของตลาดก็มีแนวโน้มที่จะสดใสขึ้นได้ แต่ถ้านายทรัมป์กล่าวแถลงการณ์ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อมั่นของตลาดก็จะอ่อนแอลงเช่นกัน
· ราคาน้ำมัน WTI มีการพักตัวหลังปรับขึ้นเหนือแนวต้านที่บริเวณ 54.51-81 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ตลาดมองแนวต้านถัดไปไว้ที่บริเวณ 57.96-59.05 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากยืนเหนือบริเวรดังกล่าวได้ เป้าหมายถัดไปก็จะอยู่แถวเส้นแนวรับของเทรนขาขึ้นเดิม ที่ระดับ 61.21 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะเดียวกัน หากราคาหลุดต่ำกว่าระดับ 54.51 เหรียญ/บาร์เรล ก็อาจย่อตัวลงมาถึงบริเวณ 49.51-50.15 เหรียญ/บาร์เรล
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ว่าอุปทานโลกจะตึงตัวเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯต่อเวเนซุเอลาและการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก
โดยราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 54.77 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.4% เช่นเดียวกัน ที่ระดับ 62.72 เหรียญ/บาร์เรล
ทั้งนี้ เหล่านักวิเคราะห์ ระบุว่า การคว่ำบาตรสหรัฐฯครั้งใหม่ในประเทศเวเนซุเอลาอาจทำให้อุปทานทั่วโลกลดลง 0.5-1%