· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่และเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ จากความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ดูจะขับเคลื่อนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง
หัวหน้าฝ่ายการจัดการจาก Rauten Securities กล่าวว่า การเจรจาของสหรัฐฯและจีนถือเป็นประเด็นใหญ่ที่ตลาดให้ความสนใจในสัปดาห์นี้ ขณะที่การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ก็ดูจะทำให้ความเชื่อมั่นของตลาดดูมีท่าทีระมัดระวังมากขึ้นในฐานะ Safe-Haven
· ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นอีก 0.1% มาที่ 109.82 เยน/ดอลลาร์ โดยวันนี้มีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยจากการที่ตลาดญ่ีปุ่นปิดทำการในวันหยุดประจำชาติ
ทีมผู้แทนเจรจาสหรัฐฯที่เดินทางเยือนจีนวันนี้ยังคงมีความมุ่งมั่นต่อข้อเรียกร้องที่จะให้จีนหาทางปฏิรูปการคุกคามบริษัทด้านสินทรัพย์ทางปัญญาของทางสหรัฐฯ ขณะที่หากไม่มีข้อตกลงใดๆเกิดขึ้นได้ก็ดูจเห็นจีนถูกสหรัฐฯเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งใหญ่
· ดัชนีดอลาร์ปรับขึ้นมาแถว 96.64 จุด และเป็นการปรับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจำนวน 8 วันทำการ
· ค่าเงินยูโรปรับลงไปแตะ 1.1322 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย 0.15% ที่ 0.7099 หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วปรับอ่อนค่าไป 2.2%
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นได้ แม้ว่าเฟดจะมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้นในการประชุมช่วงปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา และนักลงทุนดูจะกลับเข้าถือครองดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ช่วงกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการที่ค่าเงินยูโรถูกกดดันจากตราสารหนี้ของรัฐบาลยุโรปที่ปรับอ่อนค่าลงไปทำระดับต่ำสุดรอบ 2 ปี และโดยภาพรวมเดือนนี้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาแล้ว 2.5%
ขณะที่เครื่องมือทางเทคนิคอย่าง RSI และ SS ต่างแสดงถึงโอกาสการปรับตัวลงทั้งคู่ จึงมีสัญญาณบ่งชี้ว่ามีโอกาสเห็นค่าเงินปอนด์ปรับอ่อนค่าลงมาแตะ 1.2900 ดอลลาร์/ปอนด์ซึ่งเป็นระดับสำคัญของเส้นราย 100 DMA และ 1.2800 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่เป็นระดับสำคัญบริเวณ 50 DMA
แต่หากค่าเงินปอนด์ยืนเหนือ 1.2970 - 1300 ดอลลาร์/ปอนด์ ก็มีโอกาสเห็นค่าเงินปอนด์ไปแตะแนวต้านถัดไปได้
· FXStreet ระบุว่า ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์แกว่งตัวกลับมาบริเวณ 0.71 ท่ามกลางสภาวะ Risk on ที่เกิดขึ้นจากการที่ตลาดหุ้นจีนกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง พร้อมมีความคาดหวังว่าสหรัฐฯและจีนจะหาทางแก้ไขปัญหาทางการค้าร่วมกันได้
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์มีการเคลื่อนไหวตามธนาคารกลางออสเตรเลียที่ยังคงทรงตัว ขณะที่ดอลลาร์ปรับแข็งค่าแม้ว่าเฟดจะปรับท่าทีการขึ้นดอกเบี้ยที่ดูเหมือนจะลดน้อยลงไป
· นักวิเคราะห์จาก FXStreet มองว่า ค่าเงินเยนยังมีแนวโน้มอ่อนค่ากลับทดสอบแนวต้าน 110 เยน/ดอลลาร์ได้อีกครั้ง ท่ามกลางตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ยังคงมีการปรับขึ้นได้บ้างเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ว่าดัชนีดาวโจนส์จะปิดตลาดแดนลบก็ตาม
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ปรับแขํ็งค่าขึ้นก็ดูเหมือนเงินเยนจะยืนเหนือแนวสำคัญของ Fibonacci Retracement 61.8% ได้ที่ 111.45 เยน/ดอลลาร์ หรือ 105.16 เยน/ดอลลาร์(ในทางขาลง หากหลุด 109.05 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับแนวสำคัญทางเทคนิคในภาพรายวัน) แต่ระยะยาวดูเหมือนจะมีโอกาสเห็นค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นกลับทดสอบบริเวณ 111.5 - 111.7 เยน/ดอลลาร์
สำหรับแนวรับแนวต้านวันนี้
แนวรับ: 109.40 109.05 108.65
แนวต้าน: 110.15 110.45 110.90
· นักกลยุทธ์รายหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าว CNBC โดยระบุว่า การที่เฟดให้สัญญาณที่จะอดทนรอต่อารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจทำให้ตลาดเกิดใหม่ดูจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจากที่แล้วมาการที่เฟดคุมเข้มการดำเนินนโยบายการเงิน ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเทขายค่าเงินเข้ามาในหลายๆประเทศเกิดใหม่ และหุ้นบางส่วนก็มีการปรับตัวลง และดูเหมือนการขึ้นดอกเบี้ยนั้นจะยังคงเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่
· โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศจีน ออกมาแสดงความไม่พึงพอใจ หลังมีรายงานว่าเรือรบสัญชาติสหรัฐฯจำนวน 2 ลำ ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะของจีนในทะเลจีนใต้ โดยระบุว่า เรือรบของสหรัฐฯเข้ามาเคลื่อนในน่านน้ำของจีนโดยไม่ได้รับอนุญาต สร้างความกังวลให้กับตลาดว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจกดดันและสร้างความวุ่นวายให้กับการเจรจาการค้าระหว่างตัวแทนของทั้ง 2 ประเทศที่เริ่มต้นในวันนี้
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงต่างประเทศของจีน ยังคงแสดงความคาดหวังว่า การเจรจาการค้าของทั้ง 2 ฝ่าย จะสามารถมีผลลัพธ์ที่ดีออกมาได้
· นักลงทุนจีนมีการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีเรื่องความไม่แน่นอนในการเลือกตั้งไทยที่จะเกิดขึ้น โดยยังบ่งชี้ว่าไทยยังเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของเอเชียที่ยังเป็นประเทศที่จีนเลือกลงทุนและมีการซื้อเรียลเอสเตท์มากในปี 2018 โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 จุด ในปี 2016
ขณะที่ไทยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มี.ค. แต่ CEO จาก Juwai ก็ไม่คิดว่าจะส่งผลกระทบการเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวจีน แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีความกังวลกับผลลัพทธ์ที่จะตามมาก็ตาม
· ธนาคารกลางฝรั่งเศส คาดการณ์ เศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสที่ 1/2019 จะขยายตัวได้เพียง 0.4% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4/2018 ที่ขยายตัวได้ 0.3% อันเนื่องมาจากผลกระทบของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจ
ขณะที่คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจตลอดปี 2019 ธนาคารกลางมองไว้ที่ 1.7%
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงไปประมาณ 1% ท่ามกลางกิจกรรมแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น โดยสหรัฐฯเป็นอีกหนึ่งประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ขณะที่ตลาดการเงินปรับตัวลงจากภาวะตึงเครียดทางการค้า
น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง 63 เซนต์ ที่ระดับ 52.09 เหรีญญ/บาร์เรล หรือคิดเป็น -1.2% ทางด้านราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 49 เซนต์ คิดเป็น -0.8% ที่ 61.61 เหรียญ/บารเรล