นักลงทุนคาดหวังว่า การพบกันระหว่างผู้นำสหรัฐฯและจีน มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในเดือนหน้าหลังจากจีนจบการประชุมประจำปีของสภาฯที่จะเริ่มต้นในวันที่ 5 มี.ค. และอาจนำมาซึ่งข้อตกลงดังที่คาดหวังไว้
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำระดับสูงสุดในรอบ 9 สัปดาห์ โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 21,431.49 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค. ท่ามกลางความคาดหวังที่ว่าการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ช่วยหนุนหุ้นวัฏจักร (Cyclical stocks) อย่างเช่น หุ้นรถยนต์และหุ้นหลักส่วนใหญ่ รวมถึงหุ้นของธนาคาร SoftBank ด้วย
แม้ยอดการส่งออกของญี่ปุ่นประจำเดือนม.ค.จะลดลง 8.4% ซึ่งมากที่สุดในรอบกว่า 2 ปี เนื่องจากยอดส่งของจีนร่วงลงและคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรลดลงอย่างรวดเร็ว
นักกลยุทธ์ประจำ Sumitomo Mitsui Trust Asset Management ระบุว่า เกิดความกังวลเกี่ยวกับยอดการส่งออกที่ลดลงของญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี เหล่านักลงทุนบางส่วนที่ไม่สามารถทำกำไร ได้ทันจากการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงก่อนหน้านี้ อาจจะมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับย่อตัวลงมา ก่อนที่ดัชนีอาจจะปรับตัวสูงขึ้นได้ หากการเจรจาการค้าเป็นไปด้วยดี
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ระดับ 2,761.22 จุด
· ธปท. เผย รายงานการประชุมกนง. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 6 ก.พ.62 ระบุว่า การตัดสินนโยบายการเงินที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง
แม้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี ยอดการส่งออกภาคบริการมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
ขณะเดียวกัน อุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่องตามรายได้ครัวเรือนทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และการร่วมลงทุนของรัฐบาลและเอกชนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในบางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้