โดยค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 0.3% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 111.77 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์มีการปรับแข็งค่าที่รวดเร็วขึ้น หลังจากฝ่าแนวต้านทางเทคนิคที่ระดับ 111.30 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันขึ้นมาได้
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นต่อจากเมื่อคืนนี้อีก 0.1% บริเวณ 96.250 จุด ขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 95.824 จุด
นักวิเคราะห์จาก IG Securities ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าตอบรับกับการปรับสูงขึ้นของพันธบัตร จึงบ่งชี้ว่าในช่วงนี้ ตลาดจะตอบรับกับปัจจัยเพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ตอบรับประเด็นทางการเมือง
ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1371 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากอ่อนค่าลงมาจากระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.1420 ดอลลาร์/ยูโร ที่ขึ้นไปได้เมื่อวันก่อน
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีเคลื่อนไหวแถวระดับ 2.716% หลังจากเมื่อคืนนี้ปรับขึ้นไปถึงระดับ 2.731% ที่เป็นระดับสูงสุดของวันที่ 6 ก.พ.
· นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ระบุว่า ค่าเงิน EUR/USD เคลื่อนไหวเข้าใกล้เส้นแนวต้านที่ 1.1457 และเหนือระดับนี้ขึ้นไปจะมีเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันอยู่ที่ระดับ $1.1507
ทั้งนี้ แม้ค่าเงินจะยังไม่ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยราย 100 วันที่ $1.1387 แต่ทางนักวิเคราะห์ก็มองว่า ค่าเงินจะยังยืนเหนือระดับต่ำสุดของเดือน พ.ย. ที่ $1.1216 ปัจจัยทางเทคนิคจึงค่อนข้างสนับสนุนค่าเงินไปในทิศทางขาขึ้น หากค่าเงินผ่านเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันขึ้นไปได้ จะปีเป้าหมายต่อไปอยู่ที่ระดับ $1.1623 ที่เป็นระดับสูงสุดของเดือน ต.ค. และในภาพระยะยาวขึ้นมาอีก มองเป้าหมายไว้ที่ $1.1685 ที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 55 สัปดาห์
สำหรับภาพระยะยาว (1-3 เดือน) หากค่าเงินยืนเหนือระดับ $1.1623 ได้ ทิศทางระยะยาวจะกลับตัวเป็นขาขึ้นและมีเป้าหมายต่อไปอยู่ที่ $1.1723
· ปริมาณอุปสงค์ในประเทศจีนที่อ่อนแอและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน เริ่มส่งผลกระทบที่หนักหน่วงมากขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมทั่วภูมิภาคเอเชีย
โดยตัวเลข Caixin Manufacturing PMI ประกาศออกมาที่ระดับ 49.9 จุด เหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 48.5 และสูงกว่าเดือนก่อนหน้านี้ที่ระดับ 48.3 จุด แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนและเอเชียจะยังคงเผชิญความเสี่ยงของการชะลอตัว และทางรัฐบาลจีนยังจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากกว่านี้
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก Capital Economics เตือนว่า การปรับสูงขึ้นของดัชนีภาคอุตสาหกรรมจีนในวันนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเศรษฐกิขจีนได้ลงไปทำ Bottom แล้ว และยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังเผชิญแรงกดดันต่อไปจนถึงช่วงกลางปี 2019
· Forexcrunch คาดการณ์ว่า ตลาดจะจับตาข้อมูลดัชนี Core PCE Price Index ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรวัดเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้ ในช่วงเวลา 20.30น. ตามเวลาประเทศไทย แต่ภาพรวมดูเหมือนสัญญาณการขยายตัวจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
· ผลการสำรวจของ Reuters ระบุว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลง 0.4% เนื่องจาก
ฤดูหนาวส่งผลต่อยอดขายของรายการตามฤดูกาล ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาอ่อนแอ
นักวิเคราะห์ ระบุว่า สภาพอากาศที่อบอุ่นในฤดูหนาว แสดงให้เห็นถึงการชะลอค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในรายการที่เกี่ยวกับพลังงานและยอดขายเสื้อผ้าฤดูหนาวที่ลดลงในเดือนนี้
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับมาจากการประชุมสุดยอดร่วมกับนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ โดยปราศจากข้อตกลง ก่อนจะเผชิญความตึงเครียดทางเมืองในสหรัฐฯ โดยเฉพาะการรายงานตนต่อคณะกรรมการของนายไมเคิล โคเฮน อดีตทนายความของทรัมป์ ที่ฟ้องร้องว่านายทรัมป์ทำผิดกฏหมายในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จึงมีแนวโน้มอาจกลายเป็นการประเด็นกดดันการดำเนินงานของนายทรัมป์ได้
ทั้งนี้ บรรดาเจ้าหน้าที่คนสนิทของนายทรัมป์ มองว่าการรายงานต่อคณะกรรมการของนายโคเฮนจะยังไม่เป็นภัยคุกคามต่อการดำเนินของนายทรัมป์ในช่วงนี้แต่อย่างใด เนื่องจากนายทรัมป์ได้รับเสียงตอบรับในทางดีจากการประชุมร่วมกันนายคิม แม้จะไม่มีข้อตกลงก็ตาม
แต่การรายงานตนของนายโคเฮนอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันความพยายามหาเสียงเลือกตั้งในครั้งต่อไปของนายทรัมป์ ได้
· ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางภาวะของตลาดน้ำมันที่เริ่มตึงตัวจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC แต่ปริมาณการผลิตน้ำมันของาสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยังเป็นปัจจัยที่กดดันการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 0.81% บริเวณ 66.85 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 0.77% บริเวณ 57.666 เหรียญ/บาร์เรล
นักวิเคราะห์จาก RBC Capital Markets ระบุว่า ตลาดน้ำมันดูเหมือนจะภาวะตึงตัวมากกว่าที่หลายๆฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ แต่ปริมาณสต็อกน้ำมันของสหรัฐฯยังคงท่าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวมเร็ว จึงเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันมาโดยตลอด