· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นตามหุ้นเทคโนโลยีที่ปิดปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อาทิ หุ้นบริษัท Apple และ Facebook ที่ชดเชยการร่วงลงของหุ้นบริษัท Boeing โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดขึ้น 200.64 จุด ที่ระดับ 25,650.88 จุด หลังจากที่ดัชนี S&P500ปิด +1.47% ที่ระดับ 2,783.30 จุด ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิด +2.02% ที่ระดับ 7,558.06 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่รอคอยการลงมติของอังกฤษที่จะชี้ชะตาว่าข้อตกลง Brexit จะผ่านหรือไม่ ขณะที่ดัชนี Stoxx 600 ปิด +0.76%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา เนื่องจากหุ้นเทคโนโลยีกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากที่นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ สามารถบรรลุข้อตกลงกับอียูได้ก่อนหน้าการลงมติในวันนี้
โดยเช้านี้ดัชชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.7% ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1.48% ด้านดัชนี Kospi เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ะรดับ 0.99%
· นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.50 - 31.75 บาท/ดอลลาร์ ถึงแม้เมื่อวานนี้ค่าเงินบาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดของวันแต่ยังแข็งค่ากว่าราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากมี flow ไหลออกจากตลาดหุ้น
· นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมือง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีปัจจัยท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยง จากต่างประเทศที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงและมีความเปราะบางว่าจะเป็นทิศทางขาลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนถึง 70-80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)
· ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนการเลือกตั้ง มองว่าแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชนจะส่งสัญญาณชะลอตัว เพราะอยู่ระหว่างรอความชัดเจนผลการเลือกตั้งในวันที่ 24มี.ค.และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ว่านโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร
· รมว.คลัง ปัดหนี้ครัวเรือนเป็นจุดอ่อนฉุดภาพรวมเศรษฐกิจ เพราะเมื่อเปรียบเทียบต่อจีดีพีแล้วไม่ได้มีปัญหา เพราะ productivity เพิ่มขึ้น คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องดี เงินที่จ่ายไปเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อความมั่นคง ไม่ใช่เพื่อ ความฟุ่มเฟือย สัดส่วน NPL รายย่อยอยู่ที่ 3-4% ก็เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจโตขึ้น NPL จะลดเอง พอเศรษฐกิจดี ธุรกิจดีขึ้น ก็จะไม่มีหนี้เสีย หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นห่วงเรื่องหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย