• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2562

    22 มีนาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงต่อในวันนี้ ท่ามกลางค่าเงินปอนด์ที่กลับมาแข็งค่าตอบรับกับการที่ นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษสามารถขอขยายระยะเวลาเพื่อแก้ไขปัญหา Brexit โดยดัชนีดอลลาร์ล่าสุดอ่อนตัวลง 0.2% มาแถว 96.314%


ทั้งนี้ ทางอียูตอบรับต่อการขยายเวลา Brexit ของนางเมย์ โดยหากนางเมย์ยังคงล้มเหลวในการหาเสียงสนับสนุนเป็นครั้งที่ 3 จากทางรัฐสภาอังกฤษ จะส่งผลให้อังกฤษจะออกจากอียูใน 12 เม.ย. แต่หากเธอสามารถคว้าชัยและได้รับเสียงสนับสนุนจะส่งผลให้เธอสามารถขยายเวลา Brexit ได้เพิ่มขึ้นจนถึง 22 พ.ค. และการให้โควตาดังกล่าวทำให้ค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้นมาที่ 1.3140 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่ไปทำ Low ที่ 1.3004 ดอลลาร์/ปอนด์


· นักวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1.1350 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตออกมาแย่กว่าคาดที่ 44.7 จุด และเคลื่อนไหวเข้าสู่ภาวะหดตัวต่ำกว่าระดับ 50 จุด

โดยทางเทคนิคค่าเงินยูโรร่วงหลุดจากเส้นเทรนไลน์ กลับมาเคลื่อนไหวใกล้เส้น Fibonacci Retracement 50% ที่ 1.2556 – 1.0341 ดอลลาร์/ยูโร โดยแนวต้านของค่าเงินยูโรกลับมาแถว 1.1330 – 1.1335 ดอลลาร์/ยูโรอีกครั้ง ทั้งนี้ หากค่าเงินยูโรยังไม่สามารถกลับไปแถวระดับ 1.1300 ดอลลาร์/ยูโรได้ ก็จะยิ่งถูกแรงเทขายกลับลงมามีโอกาสทดสอบแนวรับ 1.1260 – 1.1255 ดอลลาร์/ยูโร รวมทั้งมีโอกาสกลับลงมาแถว 1.1200 ดอลลาร์/ยูโร

· ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นหลังจากที่ทราบผลประชุมเฟดและมีแรงขายกลับทำให้ค่าเงินเยนทรงตัวแถว 110.9 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวเชิงลบตามความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนตามการอ่อนตัวของัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

นายเวเลเรีย เบดนาริก หัวหน้านักวิเคราะห์จาก FXStreet อธิบายว่า ค่าเงินเยนแข็งค่ากลับลงมาที่ 110.95 เยน/ดอลลาร์ และโดยภาพรวมทางเทคนิคส่งสัญญาณเป็นทิศทางแข็งค่า โดย Indicators ส่งสัญญาณสูญเสียสภาวะอ่อนคาไป

ค่าเงินเยนจะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งเมื่อยืนเหนือ 111 เยน/ดอลลาร์ และสัญญาณอ่อนค่าจะยืนยันอีกครั้งเมื่อเราเห็นค่าเงินเยนผ่าน 112.13 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสูงสุดของปี แต่ภาพรวมส่วนใหญ่ดูจะยังเป็นแข็งค่ามากกว่า

· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียแปซิฟิก จาก S&P Global Ratings กล่าวว่า การที่เฟดตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวาระล่าสุดที่ผ่านมา ถือเป็น “ข่าวดี” สำหรับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันจะเห็นได้จากการขยายตัวทางการค้าโลกที่ชะลอตัวลง ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียและตลาดเกิดใหม่ต่างๆอาจจะต้องพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศรวมทั้งเรื่องของการลงทุน ซึ่งภาคการลงทุนที่เข้ามาส่งผลต่อยอดขาดดุลบัญชีในปัจจุบันของประเทศต่างๆเหล่านั้น และการลงทุนจะอ่อนไหวต่อเรื่องดอกเบี้ย แต่การที่เฟดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับต่ำก็อาจทำให้อัตราการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นได้ รวมทั้งช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการชะลอตัวของภาคการส่งออกตลอดปีนี้

· กลุ่มผู้นำอียูให้เวลานางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจนถึง 12 เม.ย.นี้ ก่อนที่อังกฤษจะต้องออกจากอียู หากว่าเธอยังคงล้มเหลวในการผลักดันข้อตกลงการถอนตัวออกจากอียู

ขณะที่นางเมย์ มีความต้องการจะขยายระยะเวลา Brexit ออกไปจนถึง 30 มิ.ย. โดยมีความพยายามจะรับรองกับทางอียูว่า เธอจะฝ่าเสียงคัดค้านจากทางรัฐสภาในการโหวตข้อตกลงของเธออีกครั้งในสัปดาห์หน้า

· ข้อมูลเงินเฟ้อรายปีของประเทศสิงคโปร์ถูกคาดว่าจะขยายตัวขึ้นแตะ 0.5% ในเดือนก.พ. โดยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ท่ามกลางพรีเมียมโควตารถยนต์และราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาอาหารก็อาจปรับเพิ่มขึ้นได้ตามค่าใช้จ่ายช่วงเทศกาลหรือในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา

· นักวิเคราะห์จาก DailyFX มองว่า ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุดของเส้น Fibonacci Expansion 38.2% ที่ 60.45 เหรียญ/บาร์เรล หากผ่านไปได้มีโอกาสไปแตะเส้น Fibo 50% บริเวณ 62.28 เหรียญ/บาร์เรล และจะทำให้ภาพกลับมาเป็นขาขึ้น มีโอกาสไปแถว 63.59 – 64.43 เหรียญ/บาร์เรล ในทางกลับกันหากราคาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci Retracement 50% ที่ 59.63 เหรียญ/บาร์เรล ก็มีโอกาสเห็นราคาขยับกลับลงมาที่ 57.88 – 57.24 เหรียญ/บาร์เรลโดยประมาณ

· ราคาน้ำมันดิบวันศุกร์ปรับอ่อนตัวลงจากระดับสูงสุดของปี ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เข้ากดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน แม้ว่าตลาดจะมีแรงหนุนจากการเดินหน้าใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอลาของสหรัฐฯก็ตาม

น้ำมันดิบ Brent อ่อนตัวลง 14 เซนต์ ที่ 67.72 เหรียญ/บาร์เรล หรือปรับลงไปประมาณ 0.2% เมื่อเทียบกับราคาปิดวานนี้ ทาด้านน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 14 เซนต์ คิดเป็น -0.2% ที่ 59.84 เหรียญ/บาร์เรล


ผู้อำนวยการที่ปรึกษาด้านพลังงานจาก Trifecta กล่าวว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นกังวลของกลุ่มนักลงทุน โดยนักลงทุนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจเอเชีย, ยุโรป และเกาหลีเหนือ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการอุปโภคบริโภคการใช้พลังงานเชื่อเพลิง

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com