




· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังคงร่วงลงต่อในเดือนมี.ค.นี้ โดยเมื่อวานนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีกลับมาร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 207
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนปรับขึ้นมายืนเหนืออัตราผลตอบแทนอายุ 10ปี โดยห่างกันประมาณ 0.5% จึงทำให้นักลงทุนเชื่อว่าเฟดน่าจะต้องปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้มากกว่า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10ปีปรับลงไปประมาณ 2.381% ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 30 ปี ร่วงลงแตะ 2.821% ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 3 เดือนเคลื่อนไหวที่ 2.434%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกอ่อนตัวลงในเดือนมี.ค. และยิ่งทำให้ดูเหมือนบรรดาธนาคารกลางต่างๆจะมีความตั้งใจคงดอกเบี้ยระดับต่ำนานขึ้นกว่าที่นักลงทุนได้เคยคาดการณ์ไว้ในปีที่แล้ว แม้ว่าความกังวลเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนและประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป ขณะที่เงินเฟ้ออ่อนตัวของเงินเฟ้อในสหรัฐฯก็ดูจะเพียงพอกับการที่เฟดจะต้องเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไปก่อน
· ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นมายืนเหนือ 96.8 จุด โดยเช้านี้อยู่ที่ 96.967 จุด ขณะที่นักลงุนรอคอยการพบกันของ นายโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ ตัวแทนการค้าระดับสูงของสหรัฐฯ กับนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ที่เดินทางไปยังจีนเพื่อหารือข้อตกลงทางการค้าต่อในวันนี้
รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นต่อในวันนี้จากการที่บรรดาธนาคารกลางต่างๆดูจะกลับมาเลือกใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดูไม่ค่อยดีนัก
· นางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดสาขาแคนซัสซิตี้ กล่าวว่า เธอไม่มีความกังวลใดๆเกี่ยวกับแนวโน้มของเงินเฟ้อสหรัฐฯ และยังเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อจะไม่ชะงักงัน และสามารถบรรลุเป้าหมาย 2% ของเฟดได้
· ค่าเงินปอนด์ปรับตัวลงหลังจากที่นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษอาจทำการลาออกจากตำแหน่งหากข้อตกลงการออกจากอียูของเธอยังคงได้รับการปฏิเสธจากทางรัฐสภาอังกฤษ ขณะที่พรรค DUP ของไอร์แลนด์เหนือก็เผยว่าจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆของนางเมย์ และส่งผลให้มีโอกาสสูงที่ข้อตกลงของนางเมย์จะถูกปฏิเสธจากรัฐสภาอังกฤษเป็นครั้งที่ 3
ทั้งนี้ เมื่อคืนนี้ รัฐสภาอังกฤษได้การลงมติทางเลือกสำหรับ Brexit ทั้ง 8 ทางในคืนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีทางเลือกที่ได้เสียงสนับสนุนจากรัฐสภาอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยทางเลือกที่ได้รับเสียงสนับสนุนมากที่สุด คือการให้อังกฤษยังคงอยู่ในตลาดเดี่ยวร่วมกับอียู หลังถอนตัวออกไป ซึ่งมีเสียงสนับสนุน 272 ต่อ 264 เสียง
รัฐสภามีกำหนดที่จะตัดทางเลือกบางตัวออกไปและทำการลงมติอีกครั้ง ภายในวันจันทร์สัปดาห์หน้า หากอังกฤษยังไม่สามารถหาแนวทางการดำเนินนโยบาย Brexit ได้อย่างเป็นเอกฉันท์ภายในวันที่ 12 เม.ย. อังกฤษจะถอนตัวออกจากอียูแบบ No-deal
และหลังจากทราบผลโหวตเมื่อวานนี้ ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงมา 0.2% ทำระดับต่ำสุดที่ 1.3156 ดอลลาร์/ปอนด์
อย่างไรก็ดี นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า หากอังกฤษสามารถหาทางเลือกสำหรับ Brexit ได้อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อไหร่ เธอก็จะสละตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อนั้น เพื่อเปิดทางให้ผู้นำคนใหม่เจรจาและทำงานร่วมกับอียูในอนาคตอันใกล้นี้
· ค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างหนักในกรอบกว่า 7 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ หลังจากที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า จากข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น และค่าเงินกีวีปรับลง 1.48% ที่ 0.6803 ดอลลาร์/กีวี
· ที่ปรึกษาประจำตัวนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวกับบรรดานักลงทุนต่างชาติว่า ประเทศญี่ปุ่นจะเปิดรับแรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนของประชาชนวัยทำงานในประเทศมีแนวโน้มที่จะร่วงลงเฉลี่ยปี 1.1% ภายในระยะ 50 ปี
ซึ่งทางญี่ปุ่นจะมีการแก้ไขกฎหมายที่อยู่อาศัยเพื่อรับแรงงานต่างประเทศ และคาดว่าจะมีแรงงานจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 350,000 ตำแหน่งภายในระยเวลา 5 ปี
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงหลังจากที่ข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับขึ้นเหนือความคาดหมายในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าการถูกจำกัดการส่งออกน้ำมันของเวเนซุเอลาจะเป็นตัวช่วยลดการปรับลงของราคาน้ำมัน
น้ำมันดิบ WTI ปิดลง 53 เซนต์ ที่ระดับ 59.41 เหรียญ/บาร์เรล หรือร่วงลงไปเกือบ 1% ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลง 14 เซนต์ ที่ 67.83 เหรียญ/บาร์เรล
· EIA เผย สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวขึ้นไปประมาณ 2.8 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว จากเดิมที่คาดว่าจะออกมาลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล
