• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 มีนาคม 2562

    29 มีนาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่ากลับขึ้นมาได้ในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางนักลงทุนที่ตอบรับกับทิศทางเชิงบวกของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ แม้ว่าการประสานเสียงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางต่างๆจะยังเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินดอลลาร์ดัชนีดอลลาร์กลับขึ้นมาาที่ 97.217 หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นมาจากระดับต่ำสุดรอบ 15 เดือน และภาพรวมเดือนมี.ค.นี้ ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นได้ ปรับขึ้นได้กว่า 1% ถือเป็นระดับรายเดือนที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ที่ปรับแข็งค่าไป 2.1% ในเดือนต.ค. และมีการปรับขึข้นได้กว่า 1.5% จากต่ำสุดที่ทำไว้เมื่อ 20 มี.ค. ที่ระดับ 95.74 จุด· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯปรับขึ้น 2.405% โดยปรับขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ทำไว้วันก่อนหน้าที่ 2.340% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดรอบ 15 เดือน

· USD มีแนวโน้มเข้าสู่ไตรมาส 2 อย่างสดใส


แม้ดัชนีดอลลาร์ในตลอดไตรมาส 1 จะมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวน แต่ดัชนียังคงรักษาการเคลื่อนไหวในรูปแบบ Ascending triangle มาได้ตลอดหลายเดือนนี้ โดยดัชนีได้ทดสอบแนวต้านของกรอบดังกล่าว หลังจากการประชุมของ ECB เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน แต่หลังจากการประชุมเฟดและรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯที่ไม่ค่อยสดใสนัก ได้กดดันให้ดัชนีย่อตัวลงได้ทดสอบแนวรับ อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงรักษาการเคลื่อนไหวในกรอบ และทยอยปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ดัชนีจึงยังมีโอกาสที่จะเกิดการ Breakout ในทิศทางขาขึ้น หรืออย่างน้อยก็จะสามารถเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ด้วยทิศทางที่สดใส



· ปอนด์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ก่อนลงมติ Brexit คืนนี้


ค่าเงินปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์เคลื่อนไหวแถว 1.3050 ดอลลาร์/ปอนด์ ในช่วงตลาดเอเชียวันนี้ ซึ่งใกล้กับระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ โดยตลาดกำลังรอการลงมติเกี่ยวกับข้อตกลง Brexit ของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ในคืนนี้ ซึ่งคาดการณ์กันว่าการลงมติจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของนางเมย์เป็นครั้งที่ 3

ภาพรวมทางเทคนิคของค่าเงินปอนด์ จะเห็นได้ว่าค่าเงินหลุดต่ำกว่าเส้นเทรนขาขึ้นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ซึ่งเส้นเทรนดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 1.3120 ดอลลาร์/ปอนด์ และกลายมาเป็นแนวต้านสำหรับสำหรับวันนี้ อีกทั้งค่าเงินยังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันที่อยู่สูงกว่าแนวต้านไปเล็กน้อย และเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน ที่กำลังเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงเช่นกัน จึงยิ่งตอกย้ำถึงแนวโน้มที่ค่าเงินปอนด์จะอ่อนค่าลงไปอีก


แนวรับ: 1.3035 1.3000 1.2965


แนวต้าน: 1.3080 1.3125 1.3160



· หัวหน้านักวิเคราะห์จาก ANZ กล่าวว่า นักลงทุนควรเทขายค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ และค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์เพื่อถือครองค่าเงินหยวนและค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์แทน เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนจากการที่หุ้นหรือค่าเงินอื่นเผชิญแรงเทขายและทำให้ถูกลดมูลค่า โดยเราสามารถเข้าซื้อได้อีกครั้งเมื่อราคามีการปรับตัวลดลง ท่ามกลางธนาคารกลางต่างๆที่มีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่ดูจะส่งผลต่อค่าเงินในเอเชียด้วย

· นายแลรี คุดโลว์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว ระบุว่า สหรัฐฯพร้อมที่จะเจรจาร่วมกับจีน แม้จะกินเวลายาวนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน เพื่อที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าร่วมกัน และสร้างความมั่นใจได้ว่าจีนจะมีการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด


นอกจากนี้ สหรัฐฯอาจพิจารณายกเลิกนโยบายภาษีจีนบางตัว แต่ไม่ใช่ภาษีทั้งหมด เพื่อเอาไว้เป็นเครื่องมือสำหรับการต่อรองข้อตกลงทางการค้า ขณะที่รายงานจาก Blommberg คาดการณ์ว่า การลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาการค้าระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน น่าจะเกิดขึ้นได้ไม่เร็วไปกว่าช่วงปลายเดือน เม.ย.

· การเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯและจีน เกิดขึ้นในช่วงรับประทานอาหารค่ำกันในคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ขณะที่ผู้แทนการเจรจาจากสหรัฐฯที่เดินทางไปจีนเมื่อวานนี้ นำโดย นายโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ ตัวแทนการค้าระดับสูงของสหรัฐฯ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ


นายเกา เฟง โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของจีน กล่าวว่า แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการเจรจาร่วมกันบางส่วนตั้งแต่ที่มีการต่อสายโทรศัพท์หากันระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและ นายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีจีนที่ผ่านมา ก็ยังมีข้อแตกต่างอยู่มากที่ต้องหาทางแก้ไขร่วมกัน


ทั้งนี้ นายหลิว เป็นตัวแทนเจรจาการค้าระดับสูงของสหรัฐฯ ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะมีการเดินทางมาเจรจาต่อกับสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า แต่ทั้งนี้ ข้อตกลงขั้นสุดท้ายเพื่อหาทางยุติ Trade War ก็ยังคงไม่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่ Trade War ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีที่แล้ว มีเพียงแต่เลื่อนระยะเวลา Trade War ระหว่างที่ตกลงกันทั้ง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน



· รายงานจาก CNBC ระบุว่า นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะดำเนินการผลักดันนโยบาย Brexit ของเธอเป็นครั้งที่ 3 ในคืนวันศุกร์นี้ ท่ามกลางภาวะรัฐสภาที่ยังคงอยู่ในภาวะยืดเยื้อยาวนานเป็นประวัติการณ์ แต่มีแนวโน้มที่เธอจะได้รับเสียงสนับสนุนจากบรรดา ส.ส. มากขึ้นหลังการลงมติเมื่อวันพุธไม่มีตัวเลือกที่เป็นเอกฉันท์ แต่ถึงกระนั้น โอกาสที่รัฐสภาจะลงมติผ่านร่างนโยบายของเธอก็ยังคงมีอยู่ต่ำ

ทั้งนี้ หลังจากการลงมติทางเลือก Brexit ของรัฐสภาเมื่อคืนวันพุธ จบลงโดยไม่สามารถหาทางเลือกได้อย่างเป็นเอกฉันท์ รัฐสภามีกำหนดที่จะทำการลงมติในทางเลือกอีกครั้งในวันจันทร์สัปดาห์หน้า ซึ่งจะมีการตัดทางเลือกบางตัวออกไป

นักวิเคราะห์ระบุว่า หากรัฐสภาทำการตัดตัวเลือกออกไป จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสเสียงสนับสนุนในรัฐสภา จึงเชื่อว่าน่าจะมีทางเลือกที่ได้รับเสียงสนับสนุนออกมาในการลงมติคืนวันจันทร์


· อังกฤษมีกำหนดจะถอนตัวออกจากอียูในวันที่ 22 พ.ค. หากรัฐสภายอมรับนโยบาย Brexit ของนางเมย์ หรือวจะถอนตัวออกแบบ No deal ในวันที่ 12 เม.ย. หากยังหาข้อตกลงไม่ได้ ในกรณีที่อังกฤษต้องการที่จะชะลอการถอนตัวออกไปนานกว่านั้น อังกฤษจำเป็นต้องเข้าร่วมการเลือกตั้งของสภาอียูในวันที่ 26 พ.ค. ซึ่งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ที่จะให้อังกฤษเข้าร่วมการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ หากรัฐสภาสามารถหาข้อตกลง Brexit ที่เป็นเอกฉันท์ได้ นางเมย์ก็จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามที่เธอได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด



· ตุรกีจะมีการเลือกทั่วไปขึ้นในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ท่ามกลางตลาดที่เกิดความกังวลกับกรณีที่ค่าเงินลีราของตุรกีเคยถูกเทขายลงอย่างหนัก จนทำให้ค่าเงินของบรรดาตลาดเกิดใหม่ปรับอ่อนค่าลงตามๆกันเมื่อปีที่แล้ว อาจกลับมาอีกครั้ง


· นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า อียูกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะก่อสงครามการค้าร่วมกับมาเลเซีย เนื่องจากนโยบายที่ปฏิบัติกับการส่งออกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียอย่าง “ไม่ยุติธรรม”

โดยเมื่อไม่นานมานี้ ทางอียูได้มีมติจะลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มลงจนถึงปี 2030 เนื่องจากอียูมีปริมาณน้ำมันปาล์มที่มากเกินไป


มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำมันปาล์มมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากอินโดนีเซีย สินค้าการเกษตรถือเป็นสินค้าหลักของมาเลเซียที่สร้างรายได้ให้กับประเทศหลายพันล้านเหรียญและการจ้างงานอีกหลายแสนตำแหน่ง


· ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากภาวะตึงตัวของอุปทานน้ำมันจากข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และการที่สหรัฐฯทำการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอล่า ที่ยังเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นได้มากที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นับตั้งแต่ปี 2009


น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 26 เซนต์ หรือ +0.4% ที่ 59.56 เหรียญ/บาร์เรล โดยไตรมาสที่1/2019 ราคาน้ำมันปรับขึ้นแล้ว 31% ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ขยับขึ้น 30 เซนต์ คิดเป็น +0.4% ที่ 68.12 เหรียญ/บาร์เรล และภาพรวม Brent ไตรมาสแรกปรับขึ้นได้ 27%



· ราคาน้ำมันยังผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจก่อนเข้าสู่ไตรมาส 2


ราคาน้ำมัน WTI ยังคงมีแนวต้านสำคัญอยู่แถว 60 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งราคาได้ถูกกดดันลงมาจากแนวต้านดังกล่าวเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทวีตข้อความให้กลุ่มโอเปกช่วยลดราคาน้ำมัน ราคาจึงได้ปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับเมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ แต่โอกาสที่ราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงได้อย่างราบรื่นนั้นมีค่อนข้างต่ำ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆที่หนุนให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่าราคาจะยังเคลื่อนไหวในอยู่กรอบ จนกว่าจะเกิดการ Breakout ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งแนวต้านยังคงเป็นแนวต้านสำคัญที่ 60 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่แนวรับระยะสั้นมองไว้ที่ 58.33 เหรียญ/บาร์เรล ส่วนแนวรับถัดไปจะอยู่บริเวณ 57.47 – 57.85 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com