· ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวในวันศุกร์ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงและกลับหาสินทรัพย์ปลอดภัยหรือคู่เงินใน Safe-Haven หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาแย่กว่าที่คาด รวมทั้งดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ จึงกดดันให้ภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯดูจะอ่อนแอ
ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯรีบาวน์น้อยกว่าคาดในเดือนม.ค. ท่ามกลางแรงกดดันราคาที่ลดน้อยลง ขณะที่ Core CPE ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรวัดเงินเฟ้อของเฟดดูจะอ่อนแอลง อันเป็นส่วนหนึ่งจากรายได้เดือนก.พ.ปรับตัวขึ้นเพียงปานกลาง สำหรับค่าใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวลงเกินกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 97.248 จุด หลังจากที่ลงไปทำระดับต่ำสุดที่ 96.6 จุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
· ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นที่ 1.122 ดอลลาร์/ยูโร แต่ภาพรวมยังคงปรับตัวลงต่ำไปประมาณ 1.2% ทางด้านค่าเงินปอนด์ปรับลงไปแถว 1.3 ดอลลาร์/ปอนด์ ท่ามกลางความผันผวนของการลงมติในรัฐสภาอังกฤษ แต่ถึงแม้นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากทางรัฐสภาเป็นส่วนใหญ่ แต่ตลาดก็เริ่มประเมินว่า Brexit น่าจะมีการขยายระยะเวลาออกไปได้ และนั่นดูจะเป็นปัจจัยที่หนุนค่าเงินปอนด์ได้อีกครั้ง
· ข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตในจีนที่ปรับตัวขึ้นในการประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้ช่วยสนับสนุนค่าเงินหยวนและค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์เมื่อวันจันทร์นี้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น จึงเห็นดอลลาร์เริ่มขยับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน
ทั้งนี้ ดัชนี PMI ประจำเดือนมี.ค.ปรับขึ้นแตะ 50.5 จุด จากระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีที่ทำไว้ในเดือนก.พ.ที่ 49.2 จุด จึงหนุนให้ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ปรับขึ้นมา 0.15% ที่ 0.7107 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ขณะที่ค่าเงินหยวนปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% มาที่ 6.711 หยวน/ดอลลาร์
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้นในคืนวันศุกร์ โดยตลาดให้ความสำคัญไปยังประเด็นเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปี ปรับขึ้นมาที่ระดับ 2.414% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปีปรับขึ้นมาที่ 2.82% ด้านอัตราผลตอบแทนระยะสั้นราย 3 เดือนทรงตัวที่ 2.408%
ขณะที่สหรัฐฯและจีนมีการกลับมาเจรจาการค้าเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และนักลงทุนดูจะตอบรับกับแนวโน้มเชิงบวก พร้อมเชื่อว่าสหรัฐฯและจีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้ ขณะที่อดีตนักการทูตสหรัฐฯประจำประเทศจีน กล่าวกับสำนักข่าว CNBC ว่า การเจรจาจะต้องมีบทสรุป และพวกเขาจะสามารถจัดการได้
· สำนักข่าว Xinhua ระบุว่า ตัวแทนเจรจาทางการค้าสหรัฐฯและจีนมีความก้าวหน้าครั้งใหม่ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับข้อตกลงที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อพิพาททางการค้า
ขณะที่นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวในทวิตเตอร์เมื่อวันศุกร์ว่า เขาและโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ตัวแทนการค้าของสหรัฐฯสรุปการเจรจาทางการค้าที่“ สร้างสรรค์ ” ในจีน พร้อมทั้งหวังว่าจะได้ต้อนรับนายหลิว เห่อ รองนายกรัฐมนตรีจีนเพื่อหารือเรื่องสำคัญเหล่านี้ในสหรัฐฯช่วงสัปดาห์นี้
· ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนจาก PNC Financial Services Group กล่าวว่า ความกังวลในเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะส่งผลลบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และดูเหมือนภาวะปั่นป่วนทางเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลมาจากสหรัฐฯ ที่ดูจะสั่นคลอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลก อาทิ ผลประกอบการต่างๆ
· นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษยังไม่สามารถผลักดันข้อตกลง Brexit ได้ และดูเหมือนจะมีการลงมติของทางรัฐสภาอังกฤษอีกครั้งในคืนนี้เพื่อหาทางปรับแนวทางของข้อตกลง Brexit หลังจากที่วันศุกร์ นางเมย์ยังไม่สามารถได้รับเสียงข้างมากในการสนับสนุนข้อตกลงครั้งที่ 3 ของเธอได้ ขณะที่รัฐมานตรีของทางอียูบางส่วน ต้องการให้นางเมย์ สร้างความสัมพันธ์กับพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อให้เกิดทางเลือกในเชิง Soft Brexit ในการอยู่ในสหภาพการค้ากับทางอียู
· รัฐสภาอังกฤษจะทำการลงมติทางเลือก Brexit อีกครั้งภายในคืนวันจันทร์นี้ ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าทางเลือกที่จะคงอยู่ในเขตการค้าเสรี (Custom union) ร่วมกับอียูจะเป็นทางเลือกที่ได้รับเสียงสนับสนุนมากที่สุด
ขณะที่ทางนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป หลังจากการลงมติข้อตกลง Brexit ของเธอล้มเหลวเป็นครั้งที่ 3 ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
ทางด้านนายฌ็อง คล็อด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการอียู ระบุว่า ต้องการให้บรรดารัฐมนตรีอังกฤษสามารถหาทางเลือก Brexit ที่เป็นเอกฉันท์ได้ในเร็วๆนี้
· ความคืบหน้าของการเลือกครั้งล่าสุดของตุรกี พบว่า นายเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกี มีแนวโน้มที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้ หลังจากสูญเสียคะแนนเสียงในเมืองอังการาที่เป็นเมืองหลวงของตุรกี และนับเป็นครั้งแรกที่นายเออร์โดกันพ่ายแพ้ผลการเลือกตั้งในท้องถิ่น
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นและส่งผลให้ภาพรวมรายไตรมาสปรับขึ้นได้มากที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ ท่ามกลางสหรัฐฯที่ประกาศคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอล่า ควบคู่กับภาวะอุปทานน้ำมันลดลงในตลาดที่ช่วยบดบังมุมมองการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก
น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 84 เซนต์ ที่ 60.14 เหรียญ/บาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.4% ขณะที่ช่วงต้นตลาดขึ้นไปทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 12 พ.ย. ที่ 60.73 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ภาพรวมปรับขึ้นได้ 4 สัปดาห์ต่อเนื่อง และขยับขึ้นได้กว่า 32% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี
น้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือนพ.ค. ที่หมดอายุลงเมื่อวันศุกร์ปิดปรับขึ้นได้ 57 เซนต์ ที่ 68.39 เหรียญ และโดยภาพรวมทำให้ช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ปรับขึ้นได้ประมาณ 27% ในส่วนสัญญาน้ำมันดิบ Brent เดือนมิ.ย. ปิดปรับขึ้น 57 เซนต์เช่นกันที่ 67.67 เหรียญ/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี ภาพรวมน้ำมันดิบทั้ง WTI และ Brent ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ถือเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2009 ที่ราคาปรับขึ้นไปได้ประมาณ 40%