· ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสาน หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯที่ออกมาในเชิงบวก
จึงผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ทรงตัว ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางที่แตกต่างกัน
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางข้อมูลเชิงบวกของภาคโรงงานจีนและสหรัฐฯ
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน หลังจากเพิ่มขึ้นกว่า 1% ในช่วงก่อนหน้านี้
เหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่ออกมาดีขึ้นเกินคาด แม้ว่าข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯจะออกมาอ่อนแอลงก็ตาม
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน แต่ปิดทรงตัวในวันนี้ ท่ามกลางแรงเทขายในหุ้นป้องกัน (defensive stocks) จึงกดดันการเพิ่มขึ้นของหุ้นกลุ่มการเงินที่ได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
โดยดัชนี Nikkei ลดลงเล็กน้อย 0.02% ที่ระดับ 21,505.31 จุด หลังจากเปิดปรับตัวสูงขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดทอน ที่บริเวณ 21,774.64 จุด
ทั้งนี้ เหล่านักวิเคราะห์ ระบุว่า นักลงทุนซื้อขายในช่วงแรกที่ดัชนีปรับสูงขึ้นหลังจากความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ระดับ 3,176.82 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2018 ที่ผ่านมา ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ได้รับแรงหนุนจากข้อมูลภาคการผลิตที่ออกมาดีกว่าที่คาด รวมทั้งมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
· สภาผู้ส่งออก ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้ เหลือโตต่ำกว่า 5% โดยมองว่าความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออก คือ 1. บรรยากาศการค้าโลก ทั้งกรณีการเจรจาข้อตกลงที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)ที่ยังไม่มีความชัดเจน, ตลาดส่งออกสำคัญของไทยเจอกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ ตลาดญี่ปุ่นและยุโรปยังติดลบ จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว 2. มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ จากต่างประเทศ