• DailyFX คาดการณ์ทิศทางตลาดไตรมาสที่ 2/2019

    3 เมษายน 2562 | Economic News

จากความผันผวนในช่วงไตรมาสแรกของปี ก็ดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มความผันผวนให้แก่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ด้วยเช่นกัน โดยเราจะเห็นได้ถึงการรีบาวน์กลับของราคาน้ำมันดิบ และการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เคลื่อนไหวอ่อนตัวลง ท่ามกลางตลาดค่าเงินที่แกว่งตัวผันผวน ซึ่งกรณี Brexit, การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งความกังวลเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกก็ยังดูจะเป็นประเด็นสำคัญของตลาดในเวลานี้



ทิศทางดอลลาร์ Q2: มีวี่แววกลับเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย


แม้ว่าเฟดจะมีการเปลี่ยนท่าทีจากท่าทีคุมเข้มทางการเงิน แต่เฟดก็ยังมีท่าทีคุมเข้มมากกว่าที่ผ่านมาในช่วงหลายๆปี โดยจะเห็นได้ตั้งแต่ปี 2018 ที่เฟดมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากถึง 3 ครั้ง โดยปัจจัยที่สร้างความกังวลให้เฟดคือเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก และประเด็นนี้ก็ดูจะกลับมาทำให้ค่าเงินดอลลาร์น่าจะกลายมาเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยแทน เมื่อพิจารณาจากปี 2017 จะเห็นได้ว่าค่าเงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางอ่อนค่า ก่อนจะเริ่มกลับมาเป็นภาวะขาขึ้นตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว และยังคงปรับแข็งค่าขึ้นต่อ ซึ่งมองแนวรับแนวต้านไตรมาสที่ 2 ไว้ในกรอบ 95.86-96.00 จุด

ทิศทางยูโร Q2: ดัชนีราคาอ่อนตัวท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง ตอกย้ำความกังวลภาวะขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก

ค่าเงินยูโรดูจะไม่ค่อยสดใสและมีแรงกดดันขาลงอยู่มากจากภาวการณ์ขยายตัวภายในภูมิภาค รวมทั้งปัญหาทางการเมือง จึงจะเห็นได้จากการที่อีซีบีเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ย และดูเหมือนตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2018 ค่าเงินยูโรจะถูกกดดันต่อเนื่องจากปัญหาทางการเมืองของยูโรโซน ตลอดจนเริ่มต้นปีนี้ แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นได้บ้างก็เป็นการปรับขึ้นอย่างจำกัด ซึ่งดูเหมือนจะมีสัญญาณของขาลงเป็นหลัก จึงดูดเหมือนไตรมาสที่ 2 น่าจะมีโอกาสถูกกดดันต่อ

ทิศทางปอนด์ Q2: ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ Brexit

การเจรจา Brexit ถือเป็นดาวเด่นด้านการลงทุนสำหรับค่าเงินปอนด์ ที่ทางรัฐสภาอังกฤษก็ยังไม่สามารถหาทางออกได้ และก็ไม่ต้องการออกจากอียูแบบไร้ข้อตกลง ภาวะ Hard Brexit จึงดูจะกลับมาเป็นประเด็นหลักในขณะนี้ และสร้างความผันผวนให้แก่ค่าเงินปอนด์อย่างมาก แต่ค่าเงินปอนด์ก็จะกลับมาสดใสได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว หากทราบว่าผลลัพธ์ของ Brexit นั้นเป็นเช่นไร

ทิศทางเยน Q2: สินทรัพย์ Safe-Haven ที่คนทั่วโลกให้การยอมรับ

ค่าเงินเยนไตรมาสที่ 2 มีความเป็นไปได้ที่จะเผชิญกับภาวะผันผวนเช่นกัน ท่ามกลางความกังวลด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอังกฤษและอียูก็ยังไม่สามารถหาทางออกได้และส่งผลลบต่อภูมิภาคยุโรป และความกังวลที่เกิดขึ้นทั่วโลกดูจะทำให้ค่าเงินเยนในเวลานี้ยังเคลื่อนไหวในกรอบ Symmetrical Triangle รอจนกว่าจะเกิดการ Breakout ในทางใดทางหนึ่ง จึงจะบ่งชี้ถึงทิศทางทิศทางนั้นได้ชัดขึ้น

ทิศทางน้ำมัน Q2: ดูผลสะท้อนที่ยื้อยุดกันระหว่างเศรษฐกิจโลกอ่อนตัว กับภาวะอุปทานตึงตัว

ตลาดน้ำมันดูจะผันผวนมาตั้งแต่ Q4/2018 ก่อนจะค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งตอบรับไตรมาสแรกของปีนี้ อันเป็นผลมาจากกลุ่ม OPEC ที่ยังคงเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันจนกว่าจะถึงเดือนมิ.ย.เป็นอย่างน้อย รวมทั้งยังมีเรื่องตึงเครียดที่อิหร่านและซาอุดิอาระเบียถูกคว่ำบาตรและเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานที่มีแนวโน้มจะปรับลง จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบมีการเคลื่อนไหวในเชิงบวก แต่ในบางช่วงราคาก็ปรับตัวลงจากความกังวลในเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก

ทิศทางทอง Q2: จับกระแสเฟดปรับลดดอกเบี้ย หนุนมุมมองขาขึ้น

 

เฟดมีแนวโน้มจะลดแผนการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และดูตลาดจะเริ่มตอบรับกับคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้มากกว่า และนั่นดูจะทำให้ราคาทองคำตอบรับในทิศทางเชิงบวก

ทิศทางหุ้น Q2: ตลาดหุ้นถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในไตรมาสแรกของปี อันได้รับอานิสงส์จากบรรดาธนาคารกลางต่างๆที่พยายามเสริมสภาพคล่องให้แก่ตลาด แต่ภาวะความกังวลเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกก็ดูจะเป็นหัวข้อสำคัญในการสนทนาทุกวันนี้ และดูจะส่งผลให้บรรดาธนาคารกลางต่างๆมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยหรือมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น ซึ่งท่าทีที่ผ่อนคลายและสนับสนุนเศรษฐกิจก็ดูจะเป็นปัจจัยบวกที่ดีต่อไตรมาสที่ 2/2019

ที่มา: DailyFX


Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com