• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 3 เมษายน 2562

    3 เมษายน 2562 | Economic News
·  ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าลง เช่นเดียวกับค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่กังวลต่อการเจรจาเรื่องภาษีของสหรัฐฯและจีน หลังจากที่สำนักข่าว Financial Times มีรายงานว่า ทั้งสองฝ่ายยังต้องหาทางแก้ไขแนวทางทางการค้าร่วมกันอีกหลายข้อ

ค่าเงินเยนปรับแข็งค่ากลับลงมาที่ 111.455 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่อ่อนค่าไปทำระดับสูงสุดที่ 111.53 เยน/ดอลลาร์เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา

ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.35% ที่ 0.7097 โดยลดแรงอ่อนค่าลงไปจากการที่ RBA ตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงิน

สำหรับดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ปรับอ่อนค่าลง 0.1% ที่ 97.236% หลังจากที่ไปทำระดับสูงสุดรอบกว่า 3 สัปดาห์ครึ่งที่ 97.517 จุด

·  ค่าเงินปอนด์ทรงตัวที่ 1.3136 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่ค่าเงินยูโรปรับขึ้น 0.15% ที่ 1.1224 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่เมื่อวานนี้ไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 8 มี.ค. ที่ 1.1183 ดอลลาร์/ยูโร อันเป็นผลจากการปรับตัวลงของอัตราพันธบัตรเยอรมนี ที่ได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่อง Brexit และทำให้นักลงทุนต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่า


·  เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ-จีนจะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางการค้าเพื่อยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะยาว โดยนายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีจีนกำลังเตรียมเข้าพบกับ นายโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ ตัวแทนการค้าของสหรัฐฯ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มต้นหารือทางการค้ากันอีกรอบในวันนี้

แม้ว่าข้อตกลงจะอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ทั้ง 2 ประเทศ ก็ยังคงมีส่วนที่แตกต่างกันในเรื่องที่ จีนต้องการให้สหรัฐฯทำการยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของจีน ขณะที่สหรัฐฯยังคงเรียกร้องในเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญา

·  รายงานจาก Financial Times ระบุว่า ตัวแทนการเจรจาการค้าจากสหรัฐฯและจีน สามารถเจรจาแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งส่วนใหญ่เพื่อที่จะต่อยอดไปยังเขียนข้อตกลงทางการค้าขึ้น แต่ยังคงติดปัญหาเกี่ยวกับการประยุกษ์และบังคับใช้ข้อตกลงดังกล่าวอยู่

·  กรณี Brexit ดูจะเป็นที่น่าสับสนสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ถึงกระนั้น บรรดาธนาคารรายใหญ่ต่างพยายามที่จะคาดการณ์ว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปสำหรับกรณีความตึงเครียดทางการเมืองครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์อังกฤษ

Goldman Sachs

ทาง Goldman Sachs ได้เคยกล่าวไว้ว่า Brexit ได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจอังกฤษเป็นมูลค่าถึง 6 ร้อยล้านยูโร/สัปดาห์ นับตั้งแต่การลงประชามติเมื่อปี 2016 ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงไปอยู่แถว 2.5%

ขณะที่ทางธนาคารคาดโอกาส 15% ที่จะเกิดกรณี No-deal Brexit และกรณีดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินปอนด์อังกฤษอ่อนค่าลงไปได้ถึง 17%

ส่วนโอกาสที่จะไม่เกิด Brexit ขึ้นเลย ทางธนาคารมองไว้ที่ 35%


J.P. Morgan

J.P. Morgan มองว่า ความล้มเหลวที่จะผลักดันให้เกิดทางเลือก Brexit ของรัฐสภา อาจช่วยให้นายกรัฐมนตรีอาศัยช่องโหว่ดังกล่าว นำข้อตกลง Brexit ของเธอไปทำการลงมติเป็นครั้งที่ 4 ท่ามกลางเสียงสนับสนุนที่ดูจะมีมากขึ้นทุกๆครั้งที่รัฐสภาทำการลงมติในข้อตกลงของเธอ

สำหรับการลงมติทางเลือกของรัฐสภาที่อาจเกิดขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ ทางธนาคารมองว่า รัฐสภาจะเอนเอียงไปทางตัวเลือก “Soft Brexit” มากขึ้น

ทั้งนี้ ทางธนาคารมองโอกาส 30% ที่จะเกิดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นก่อนกำหนด ส่วนโอกาสที่ข้อตกลงของนางเมย์จะได้รับเสียงสนับสนุนมากพอ และการขยายระยะเวลา Brexit ออกไปอีกครั้ง มองไว้ที่ 20% เท่ากัน ขณะที่การจัดการลงประชามติครั้งที่สอง และการถอนตัวแบบ No-deal มองโอกาสไว้ที่ 15% เช่นเดียวกัน

·  ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งภูมิภาคเอเชีย (Asian Development Bank) คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในปี 2019 และจะชะลอตัวลงแรงขึ้นในปี 2020

โดยเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั้ง 45 ประเทศในเอเชีย ถูกคาดว่าจะเติบโตได้ 5.7% ในปีนี้ เทียบกับอัตราการเติบโตเมื่อปี 2018 ที่ 5.9% และปี 2017 ที่ 6.2%

สำหรับคาดการณ์เดิมในเดือน ธ.ค. ทางธนาคารคาดว่าเศรษฐกิจปี 2019 จะเติบโตได้ 5.8% ส่วนของปี 2020 ถูกคาดการณ์ไว้ที่ 5.6% ซึ่งจะเป็นระดับที่ชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001

สำหรับเศรษฐกิจจีนปี 2019 ทางธนาคารคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ 6.3% เท่ากับคาดการณ์เดิมในเดือน ธ.ค. แต่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2018 ที่ขยายตัวได้ 6.6% ส่วนปี 2020 คาดการณ์ว่าชะลอตัวลงสู่ระดับ 6.1%

·  อัตราการผลิตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ขยายตัวสู่ระดับสูงสุดเมื่อช่วงเดือน ต.ค. – ธ.ค. ด้วยอัตราการผลิตที่มากที่สุดในรอบ 26 ปี จึงอาจช่วยให้ทางบีโอเจมองว่า อัตราเงินเฟ้อจะได้รับแรงหนนุจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและขยายตัวตามเป้าหมายที่ 2% ได้

อย่างไรก็ตาม ทางบีโอเจมีแนวโน้มที่จะคงมุมมองผ่อนคลายทางการเงินเอาไว้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพอการส่งออกเป็นหลัก

·  นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ประกาศปลดรัฐมนตรีจำนวน 2 ราย เพื่อพยายามบรรเทาข่าวลือที่อื้อฉาวของเขา ที่อาจกดดันการเลือกตั้งในเดือน ต.ค. ปีนี้

โดยนางโจดี้ วิลสัน-เรย์โบลด์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม และนางเจน ไฟล์พอร์ต อดีตประธานคณะกรรมการคลัง ได้ถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่ง และกีดกันสิทธิในการก่อตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งในเดือน ต.ค.

เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา นางวิลสัน-เรย์โบลด์ ได้เปิดเผยว่า เธอถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มองข้ามประเด็นการฉ้อโกงเงินก่อสร้างของบริษัท SNC-Lavalin Group Inc

ทั้งนี้ ผลสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองของนายทรูโด ได้สูญเสียเสียงสนับสนุนจากประชาชนไปเป็นปริมาณมาก เนื่องจากกรณีข่าวฉาวดังกล่าว ส่งผลให้พรรคการเมืองของเขาอาจไม่สามารถชนะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือน ต.ค.

นอกจากนี้ ประเด็นดังกล่าวยังทำให้นายทรูโดสูญเสียความเชื่อใจจากที่ปรึกษาคนสนิทอย่างนายเจรัลท์ บัทต์ และนายไมเคิล เวอนิกค์ อีกด้วย

·  ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยราคาน้ำมัน Brent เข้าใกล้ระดับสำคัญที่ 70 เหรียญ/บาร์เรล ท่ามกลางแรงหนุนจากมาตรการปรับลดกำลังผลิตของกลุ่มโอเปก และการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ แม้จะมีรายงานเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณสต็อกน้ำมันของสหรัฐฯที่ผิดคาดก็ตาม

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 0.5% แถว 69.73 เหรียญ/บาร์เรล ทำระดับสูงสุดรายวันที่ 69.87 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 12 พ.ย.

ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 0.4% แถว 62.84 เหรียญ/บาร์เรล ทำระดับสูงสุดรายวันที่ 62.90 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 7 พ.ย.



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com