· รายงานจาก CNBC ระบุว่า องค์กรไอเอ็มเอฟ ทำการหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ลง อันเป็นผลมาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเรื่องความตึงเครียดทางการค้าและการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด โดยคาดว่าปีนี้จะขยายตัวได้ 3.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5% และปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวกลับมาได้แถว 3.6%
ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดามีการลงนามการค้าฉบับใหม่ USMCZ แทนข้อตกลง NAFTA ก็ดูเหมือนจะเป็นเวลาเดียวกับที่สหรัฐฯพยายามสร้างข้อการค้าฉบับใหม่กับทางจีน และถึงแม้จะเกิดข้อตกลงดังกล่าวขึ้นมา ก็ดูเหมือนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจะเผชิญภาวะขาลงอยู่ และความล้มเหลวในการแก้ไขข้อแตกต่าง พร้อมกับการเพิ่มกำแพงภาษีการค้าที่สูงขึ้น ดูจะนำไปสู่การเพิ่มราคาการนำเข้าสินค้าให้สูงมากขึ้น และทำให้กลุ่มผู้บริโภคเผชิญกับการซื้อสินค้าในราคาที่แพงมากขึ้น
นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดและความสัมพันธ์ ก็จะทำให้การลงทุนในภาคธุรกิจนั้นปรับตัวลงตาม และสกัดกั้นห่วงโซ่อุปทาน และการชะลอตัวของประสิทธิภาพทางการขยายตัว รวมทั้งผลประกอบการภาคบริษัทที่ดูจะไม่สดใส และอาจเป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่นต่อตลาดการเงิน และกดดันภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกได้
อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟ กล่าวเตือนว่า หากข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนประสบภาวะล้มเหลวก็อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนได้ โดยจีดีพีจีนในปีที่แล้วขยายตัวได้เพียง 6.6% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปีได้ และความเสี่ยงทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะเฟด
ซึ่งจะเห็นได้ว่าเฟดเปลี่ยนท่าทีในการดำเนินนโยบายจากช่วงต้นปี และเหลือคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ไว้เพียง 1 ครั้ง หลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยมาทั้งสิ้นจำนวน 4 ครั้งในปีที่ผ่านมา ขณะที่ความเสี่ยงที่สำคัญอีกประการคือการที่ Brexit มีผลลัพธ์ในรูป No-Deal ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในหลายๆประเทศ และการเลือกตั้งควบคู่กับภาวะตึงเครียดที่เกิดขึ้นในแถบเอเชียตะวันออก
· ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางเทรดเดอร์ที่หันมาถือครองค่าเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากที่สหรัฐฯมีการประกาศว่ากำลังตัดสินใจจะขึ้นภาษีสินค้ายุโรปมูลค่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญ และไอเอ็มเอฟมีการหั่นคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.31% ที่ระดับ 111.12 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางปัจจัยต่างๆที่เริ่มจะกดดันความเชื่อมั่นตลาดการเงิน ขณะที่หุ้นสหรัฐฯอ่อนตัวลง ทางด้านดัชนี S&P500 ปิดลด 0.55%
· ราคาน้ำมันปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ส่งสัญญาณความเป็นไปได้ที่จะผ่อนคลายข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิต และความกังวลที่ว่าความรุนแรงในลิเบียจะยิ่งทำให้ภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัว
การที่สหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรป และการหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจากไอเอ็มเอฟก็ดูจะกดดันการฟื้นตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก และยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงในปีนี้ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภค และเป็นปัจจัยสกัดกั้นราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวขึ้น
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 42 เซนต์ ที่ 63.98 เหรียญ/บาร์เรล หลังไปทำระดับสูงสุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2018 ที่ 64.79 เหรียญ/บาร์เรล
ด้านราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 49 เซนต์ ที่ 70.61 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ขึ้นไปทำระดับสูงสุดตั้งแต่พ.ย. ที่ 71.34 เหรียญ/บาร์เรล