• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 10 เมษายน 2562

    10 เมษายน 2562 | Economic News

· ความต้องการสินทรัพย์ Safe-Haven อย่างค่าเงินเยนจากกลุ่มนักลงทุนยังคงม่ีอยู่ ท่ามกลางประเด็นความตึงเครียดทางการค้าครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯและยุโรป ขณะที่ไอเอ็มเอฟปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ขณะที่ยังมีความผันผวนจากประเด็น Brexit และการประชุมอีซีบี

ดัชนีดอลลาร์ปรับแขํ็งค่าขึ้นเล็กน้อยมาที่ 97.036 จุด ขณะที่ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าไป 111.135 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 111.825 เยน/ดอลลาร์ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดเมื่อคืนวันศุกร์

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1258 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์ทรงตัวที่ 1.3052 ดอลลาร์/ยูโร

· ทางผู้นำยุโรปมีแนวโน้มจะยินยอมให้ นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษเลื่อนขยายระยะเวลา Brexit ครั้งที่ 2 แต่พวกเขาอาจต้องให้เธอยินยอมรับต่อข้อตกลงขยายเวลาระยะยาว โดยฝรั่งเศสกำลังผลักดันเงื่อนไขจำกัดความสามารถอังกฤษหลังออกจากอียู

EUR/USD : ค่าเงินชะลอการแข็งค่าก่อนหน้าปัจจัยสำคัญวันนี้

· ค่าเงิน EUR/USD เมื่อวานนี้เคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าโยมีเป้าหมายแถว 1.1283 แต่กลับปิดตลาดเมื่อคืนที่ระดับ 1.1260 เนื่องจากบรรดานักลงทุนเริ่มชะลอการเข้าซื้อ และหันมาจับตาปัจจัยสำคัญในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น การประชุมอีซีบี รายงานประชุมเฟดเดือน มี.ค. และ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

ในทางเทคนิค ค่าเงินเคลื่อนไหวทรงตัวในลักษณะสะสมพลังใกล้แนวต้าน 1.1285 ขณะที่ในภาพราย 4 ช.ม. ราคาเคลื่อนไหวใกล้เส้นเฉลี่ยราย 100 วัน แต่สูงกว่าเว้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน บ่งชี้ว่า แม้ทิศทางขาขึ้นจะเริ่มสูญเสียกำลัง แต่ก็มีความเป็นไปได้ต่ำที่ราคาจะย่อตัวลงมา

แนวรับ: 1.1245 | 1.1200 | 1.1175

แนวต้าน: 1.1285 | 1.1315 | 1.1350

USD/JPY: ภาวะ Risk-off ช่วยหนุนค่าเงินป้องกันระดับ 111 เยน/ดอลลาร์ต่อ
· ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดที่ดูจะซบเซาลงเมื่อคืนนี้ ได้ช่วยหนุนให้ค่าเงินเยนไม่อ่อนค่าหลุดบริเวณ 111.00 เยน/ดอลลาร์

ทั้งนี้ ในระยะสั้นๆแนวโน้มของทิศทางขาลงก็ยังคงแข็งแกร่ง โดยหากค่าเงินหลุดแนวรับแรกที่ 110.90 เยน/ดอลลาร์ลงมา จะมีโอกาสร่วงต่อไปได้มาก ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 100 วันเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดรายวัน จึงยิ่งตอกย้ำถึงแนวโน้มของฝั่งขาลง ส่วนแนวต้านสำคัญของวันนี้ มองไว้ที่บริเวณ 111.50 เยน/ดอลลาร์ แต่โดยภาพรวมทางเทคนิคแล้ว เชื่อว่าค่าเงินมีโอกาสปรับตัวลงมากกว่า

แนวรับ: 110.90 | 110.55 | 110.20

แนวต้าน: 111.20 | 111.55 | 111.80

AUD/USD: ฝั่งขาลงจับตา 0.7100 ท่ามกลางภาวะ Risk-off

· ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเรียเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า และมีแนวโน้มที่จะลงทดสอบแนวรับที่ 0.7100 ดอลลาร์ เนื่องจากตลาดมีความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลง แม้ตัวเลขด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเรียจะประกาศออกมาดีขึ้นก็ตาม ขณะที่ตลาดเริ่มหันไปจับตาถ้อยแถลงของสมาชิกธนาคารกลางออสเตรเรีย รวมถึง เงินเฟ้อสหรัฐฯ และรายงานประชุมเฟดคืนนี้
· องค์กรไอเอ็มเอฟ มีการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนปีนี้ อันได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวที่ยังคงแข็งแกร่งแม้เผชิญปัญหา Trade War กับทางสหรัฐฯ โดยไอเอ็มเอฟคาดว่าจีดีพีจีนจะโตได้ 6.3% ปีนี้ จากคาดการณ์เดิมในปี 6.2%

อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟ มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจจีนปี 2020 จาก 6.2% สู่ 6.1% เนื่องจากว่า แม้ภาพรวมจะมีทิศทางเชิงบวก แต่ก็ยังคงม่ีความเสี่ยงขาลงอยู่ และไม่ง่ายที่จีนจะเดินหน้านโยบายการค้าได้ จากความตึงเครียดกับสหรัฐฯ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเป็นอุปสรรคสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทาน จึงอาจเห็นเศรษฐกิจจีนเผชิญกับภาวะขาลงได้

· ไอเอ็มเอฟมีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2019 แตะ 2.3% จากเดิมที่ 2.9% ในปี 2018

เมื่อวานนี้ไอเอ็มเอฟปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไปกว่า 70% ทั่วโลก ประกอบไปด้วยยุโรปและญี่ปุ่น อันเป็นผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้าที่เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญสำหรับการปรับมุมมองการขยายตัว

ขณะที่เศรษฐกิจโลกปีปีนี้ ไอเอ็มเอฟมองว่าจะเติบโตได้ 3.3% ลดลงจากปีที่แล้วที่ขยายตัวได้ 3.6% ซึ่งถือเป็นระดับใกล้เคียงกับปี 2016 ที่อ่อนตัวลงมารกที่สุดตั้งแต่ปี 2009 ที่ภาวะเศรษบกิจโลกเผชิญกับภาวะขาลงเต็มรูปแบบที่ได้เริ่มาเปิดฉากตั้งแต่ปี 2008

· สำหรับฝั่งยุโรป ไอเอ็มเอฟมีการคาดการณ์ว่าจตะขยายตัวได้เพียง 1.3% ในปีนี้ โดยอ่อนตัวลงจากการขยายตัวปีที่แล้วที่ 1.8% หรือนับตั้งแต่ปี 2013

· อ้างอิงรายงานจาก HSBC กล่าวว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนมีส่วนช่วยหนุนการขยายตัวทางภาคเอกชน และน่าจะทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีโอกาสจะเห็นเศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ 6.6% ในปีนี้

ขณะที่ในเดือนที่ผ่านมา ทางการจีนกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนไว้ที่ 6.0-6.5% ในปีนีิ้ โดยต่ำกว่าเป้าหมายประมาณการณ์ที่ 6.5% โดยจีนมีกำหนดการเปิดเผยข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกในวันที่ 17 เม.ย.

· นายเดวิด มัลพาส ประธาน World Bank คนใหม่ ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อคืนผ่านมา จากการเสนอชื่อโดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ยืนยันว่า จะผลักดัน World Bank ให้ดำเนินการตามนโยบายต่อสู้กับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป และจะพัฒนาให้ความสัมพันธ์ระหว่าง World Bank กับจีนพัฒนาดีขึ้น

ทั้งนี้ เกิดกระแสความกังวลว่า การที่นายมัลพาสรับตำแหน่งประธาน World Bank จากการเสนอชื่อโดยนายทรัมป์ อาจทำให้ World Bank เอนเอียงไปตามนโยบาย American First ของนายทรัมป์ แม้ถ้อยแถลงของเขาหลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการจะไม่มีสัญญาณของการเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งก็ตาม

· อียูตอบโต้สหรัฐฯ จากกรณีที่สหรัฐฯเล็งขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากยุโรป ภายใต้ข้อกล่าวหาว่าอียูมีการจ่ายเงินสนับสนุน Airbus โดยระบุว่า มาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯเป็นมูลค่าถึง 1.1 หมื่นล้านเหรียญ เป็นการกระทำที่ “เกินกว่าเหตุ” และทางอียูก็พร้อมที่จะตอบโต้ด้วยมาตรการที่เท่าเทียมกัน

· รายงานจาก CNBC ระบุว่า ข้อมูลเงินเฟ้ออาจได้รับแรงหนุนจากราคาแก๊สโซลีนที่เพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. แต่ก็อาจไม่สูงไปกว่าระดับที่จะทำให้เฟดมีกำลังใจในการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อหลังจากที่คงดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนที่แล้ว แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค. จะมีการประกาศในวันนี้ ควบคู่กับการมีกำหนดเปิดเผยรายงานประชุมเฟดในคืนนี้ โดย CPI จะประกาศในช่วงเวลา 19.30น. และคาดว่าจะออกมาที่ 0.3% หรือแตะ 1.8% เมื่อเท่ียบรายปี ขณะที่รายงานประชุมเฟดจะเปิดเผยในคืนนี้เวลา 01.00น. (ตี 1)ตามเวลาไทย

หัวหน้านักวิเคราะห์จาก Bank of America Merrill Lynch กล่าวว่า ข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอก็ดู จะไม่เพียงพอจะให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยใดๆได ้ แต่ก็มีโอกาสเห็น CPI ออกมาที่ 0.4% และ Core มาที่ 0.2%

· นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าบีโอเจ ยืนยันว่า บีโอเจจะคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ “ทรงพลัง” ต่อไป เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวสู่ระดับเป้าหมายของบีโอเจที่ 2$ ให้ได้ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นกลับเข้ามาในตลาด

นอกจากนี้ นายคุโรดะยังมองว่า กรณีที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเคลื่อนไหวใกล้ระดับติดลบ ไม่ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่นักลงทุนใช้ในการป้องกันความเสี่ยง

· การประชุมอีซีบีในวันนี้น่าจะมีการประกาศยุติการสิ้นสุดยุคการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงสิ้นปีนี้ แต่ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ก็ดูจะมีหลักฐานทางเศรษฐกิจเพียงพอที่บ่งชี้ว่าการอ่อนตัวดังกล่าวเป็นการชั่วคราว อันเป็นผลมาจากการขายตัวจากต่างประเทศที่ออกมาแย่กว่าที่คาด

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเวล่าโดยสหนัฐฯ อย่างไรก็ดี ยังคงถูกดดันจากกระแสคาดการณ์การชะลอตัวของเศรษฐกิจ

ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ระดับ 70.76 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ระดับ 64.20 เหรียญ/บาร์เรล โดยน้ำมันดิบทั้งสองชนิดปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อวานนนี้ ก่อนหน้าความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

WTI Technical Analysis: กราฟราย 4 ช.ม. เริ่มส่งสัญญาณกลับตัวเป็นขาลง

· ราคาน้ำมัน WTI ได้ปรับตัวขึ้นชนแนวต้านของเทรนขาขึ้น และเริ่มย่อตัวลงมาโดยมีแนวรับแรกที่บริเวณ 63.70 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่เส้น Stochastics เริ่มปรับตัวลงและหลุดจากแดน Overbought จึงเป็นสัญญาณเริ่มต้นของฝั่งขาลง

หากราคาปิดตลาดวันนี้ต่ำกว่า 63.70 เหรียญ/บาร์เรล จะเปิดโอกาสให้ราคาร่วงต่อลงไปถึงบริเวณ 61.80 เหรียญ/บาร์เรล ที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 504 ช.ม. ตามมาด้วยระดับ 61.20 และ 61.00 เหรียญ/บาร์เรลที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 และ 100 วัน ตามลำดับ

หากแนวรับเหล่านี้รับการร่วงลงของราคาไม่ได้ ราคาจะร่วงลงไปมากถึงบริเวณ 57.80 เหรียญ/บาร์เรล และเข้าสู่ทิศทางขาลงโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะมีเป้าหมายที่บริเวณ 42.00 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com