• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 11 เมษายน 2562

    11 เมษายน 2562 | Economic News

· ดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวหรืออ่อนค่าเล็กน้อยประเมณ 0.04% แถว 96.523 จุด ท่ามกลางแรงกดดันหลังรายงานการประชุมของเฟดเมื่อคืน

โดยรายงานการประชุมเฟดเดือน มี.ค. ที่เปิดเผยเมื่อคืน บ่งชี้ว่าเฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยตลอดปี 2019 แม้สมาชิกบางส่วนยังเปิดกว้างต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้ง หากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงทิศทางเติบโตที่แข็งแกร่งได้

ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมา 0.1% แถว 1.1280 ดอลลาร์/ยูโร โดยเป็นการฟื้นตัวขึ้นมาหลังจากอ่อนค่าลงหลังการประชุมอีซีบีที่มีมติคงนโยบาย พร้อมส่งสัญญาณเชิงลบต่อเศรษฐกิจจากถ้อยแถลงของประธานอีซีบี

ด้านค่าเงินปอนด์แข็งค่า 0.1% แถว 1.3103 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่าบรรดาผู้นำอียูยินยอมขยายระยะเวลา Brexit ให้กับอังกฤษออกไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค.

EUR/USD TECHNICAL ANALYSIS


· ค่าเงินยูโรยังคงทิศทางแข็งค่าต่อได้ แม้จะปรับร่วงลงไปชั่วขณะหนึ่งหลังจากถ้อยแถลงของประธานอีซีบี
และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำผลประกอบที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. ขณะที่สัญญาณทางเทคนิค เกิดเป็นลักษณะ Morning Star ในกราฟรายวัน ประกอบกับเส้น RSI ที่เคลื่อนไหวแดนบวก บ่งชี้ถึงทิศทางขาขึ้นที่แข็งแกร่ง ดังนั้นจึงคาดว่าค่าเงินจะเคลื่อนไหวตามเทรนขาขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือน เม.ย. และจะมีโอกาสขึ้นทดสอบแนวต้านแถว 1.13022 ดอลลาร์/ยูโร

AUD/USD มีโอกาสปรับฐานลงทดสอบแนวรับ 0.7150


· แรงเทขายในค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเรียยังคงดำเนินต่อ ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดที่ลดน้อยลง หลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาผสมผสาน
ประกอบกับความเชื่อมั่นของตลาดที่ค่อนข้างอ่อนแออยู่แล้ว จึงคาดว่าค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเรียมีแนวโน้มที่จะคงทิศทางอ่อนค่าจากระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนและอาจทดสอบแนวรับที่ 0.7150 ดอลลาร์ภายในวันนี้

USD/JPY: ทรงตัวแถว 111.00 รอความคืบหน้าเจรจาการค้า


· ค่าเงินเยนดูจะทรงตัวแถว 111.00 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดที่ค่อนข้างน้อยลง ขณะที่ตลาดได้ตอบรับกับทวีตข้อความของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และกำลังรอความคืบหน้าเพิ่มเติม

ในทางเทคนิค แม้ค่าเงินจะทรงตัวเหนือแนวรับสำคัญที่ 111.00 เยน/ดอลลาร์ แต่สัญญาณส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะบ่งชี้ไปในเชิงลบ โดยในกราฟราย 4 ช.ม.

จะเห็นถึงการที่ค่าเงินหลุดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน ก็เคลื่อนไหวในทิศทางขาลง ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินจะปรับขึ้นจึงมีอย่างจำกัด

และจำเป็นต้องยืนเหนือระดับ 111.20 เยน/ดอลลาร์ให้ได้ ถึงจะสามารถลบล้างสัญญาณของทิศทางขาลง

แนวรับ: 110.75 | 110.40 | 110.00

แนวต้าน: 111.20 | 111.55 | 111.80

GBP/USD : เคลื่อนไหวใกล้ 1.3100 แม้มีแรงหนุนจากการเลื่อน Brexit ก็ตาม


· ค่าเงินปอนด์อังกฤษเคลื่อนไหวแถว 1.3090 ดอลลาร์/ปอนด์ ในช่วงตลาดเอเชียวันนี้ โดยดูจะมีแรงหนุนสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟด ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอ และการขยายเวลา Brexit ออกไปอีกครั้ง ภาพรวมของค่าเงินปอนด์จึงดูมีแรงหนุนที่ดี แต่ตลาดน่าจะรอความชัดเจนจากการประชุมของอียูเสียก่อน

ในทางเทคนิค ค่าเงินได้อ่อนค่าลงมาจากระดับสูงสุด และกำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1.3100 ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญที่ค่าเงินไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านมาได้ติดต่อกันหลายครั้ง ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคต่างๆ ค่อนข้างบ่งชี้ไปในแดน Neutral หรือค่อนข้างที่จะเป็นลบ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินต้องหลุดต่ำกว่าระดับ 1.2965 ดอลลาร์/ปอนด์ ถึงจะเป็นการยืนยันถึงทิศทางขาลง ซึ่งความไม่แน่นอนของ Brexit ยังเป็นปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ

แนวรับ: 1.3050 | 1.3000 | 1.2965

แนวต้าน: 1.3120 | 1.3160 | 1.3195

· นักวิเคราะห์จาก Jefferies Financial Group กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ 6 – 6.5% ท่ามกลางแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ด้วยการปรับลดภาษีและยอดขายตราสารหนี้ที่สูงขึ้น ส่วนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีน คาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายในปี 2020

อย่างไรก็ตาม Jefferies ประเมินว่า แนวโน้มที่รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมดูจะมีลดน้อยลง เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณของการฟื้นตัว ท่ามกลางตัวเลขของภาคอุตสหกรรมที่แข็งแกร่งขึ้นและความเชื่อมั่นของตลาดที่เริ่มฟื้นตัว ดังนั้น เศรษฐกิจจึงมีโอกาสกลับไปมีอัตราเติบโตเท่ากับระดับสูงสุดเดิมของปี 2018 ได้

· อินเดียจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นในวันนี้ ซึ่งการเลือกตั้งของอินเดียจะถูกแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน และเสร็จสิ้นกระบวนการเลือกตั้งจริงๆในวันที่ 19 พ.ค.

การเลือกตั้งครั้งนี้ มีตัวเต็งคือพรรคของนายนเรนทระ โมธี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนปัจจุบัน โดยมีคู่แข่งคือพรรค Indian National Congress ซึ่งโพลสำรวจเชื่อว่า พรรคของนายโมธีจะได้ที่นั่งในสภาล่างไป 273 ที่นั่ง จากทั้งหมด 543 ที่นั่ง จึงน่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ดำเนินไปอย่างสูสี

· อัตราเงินเฟ้อของภาคการผลิตในประเทศจีน ส่งสัญญาณฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือนเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภันฑ์ที่สูงขึ้น รวมถึงแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน จึงอาจช่วยหนุนให้ปริมาณอุปสงค์ในประเทศแข็งแกร่งขึ้นได้

ทั้งนี้ ดัชนี PPI ของจีนในเดือน มี.ค. ขยายตัว 0.4% จากปีก่อนหน้า จากเดิมที่ 0.1% ในเดือน ก.พ.

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันเนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 17 เดือน


ท่ามกลางยอดการผลิตที่สูงเป็นประวัติการณ์และความกังวลทางเศรษฐกิจทำให้เกิดข้อกังวลต่อความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.4% ที่ระดับ 71.44 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.5% ที่ระดับ 64.28 เหรียญ/บาร์เรล

· กระทรวงพลังงานนานาชาติ (IEA) เตือน ตลาดน้ำมันกำลังเผชิญภาวะตึงตัวนับตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 2/2019 ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงหลายประการ โดยเฉพาะความกังวลที่มากเป็นพิเศษเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการคว่ำบาตรน้ำมันของเวเนซุเอลาและอิหร่านโดยสหรัฐฯ รวมถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในลิเบีย

CRUDE OIL TECHNICAL ANALYSIS


· ราคาน้ำมันยังคงเคลื่อนไหวทดสอบแนวต้านที่บริเวณ 63.59 – 64.88 เหรียญ/บาร์เรล โดย Daily FX ประเมินว่า หากราคาผ่านแนวต้านี้ไปได้ แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ 66.09 – 67.03 เหรียญ/บาร์เรล ตามมาด้วยแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 70 เหรียญ/บาร์เรล
ในทางกลับกัน หากราคาร่วงหลุดแนวรับแรกที่ 60.39 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นเส้นเทรนขาขึ้นตั้งแต่เดือน ธ.ค. จะเป็นการลบล้างสัญญาณของฝั่งขาขึ้น และมีแนวโน้มจะร่วงต่อไปถึงบริเวณ 57.24 – 88 เหรียญ/บาร์เรล



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com