· ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางดัชนีราคาผู้ผลิตหรือ PPI ของสหรัฐฯ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯออกมาดีขึ้น ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าหลังจากที่มีข่าวว่า Brexit สามารถเลื่อนเวลาออกไปได้ และค่าเงินยูโรก็ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าจากถ้อยแถลงของอีซีบีเมื่อไม่นานนี้
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯปรับลงต่ำสุดในรอบ 49 ปีครึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงบ่งชี้ถึงภาวะตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่งแลอาจลดความกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขณะที่ภาพรวมผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงต่อเนื่อง 4 สัปดาห์
ดัชนี PPI ปรับขึ้นมากที่สุดในรอบ 5 เดือนในเดือนมี.ค. โดยขยับขึ้นมาที่ 0.6% อันเป็นผลจากราคาแก๊สโซลีนที่ปรับขึ้น แต่ถึงแม้จะเห็น PPI ปรับขึ้น แต่เงินเฟ้อภาพรวมก็ดูยังไม่ค่อยดีนัก
· ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.22% ที่ 97.16 จุด ด้านค่าเงินยูโรค่อนข้างอยู่ในทิศทางอ่อนค่า หลังจากอีซีบีดูมีท่าทีจะยังคงดอกเบี้ย ประกอบกับภาวะตึงเครียดทางการค้า และสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จึงเห็นยูโรอ่อนลงไปอีก 0.15% ที่ 1.1256 ดอลลาร์/ยูโร และในส่วนของค่าเงินปอนด์เมื่อวานอ่อนค่าเล็กน้อย 0.26% ที่ 1.3055 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังแข็งค่าในวันก่อนหน้าตอบรับการขยายเวลา Brexit
· ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ค่าเงินและโครงสร้างสินค้าจาก Cambridge Global Payments มองว่า ดอลลาร์ค่อนข้างตอบรับกับข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และดัชนี PPI ที่มีการปรับตัวขึ้น จึงลดกระแสเงินที่ไหลออกจากตลาดดอลลาร์ อันเนื่องจากกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับเฟดปรับลดดอกเบี้ย
· เมื่อวานนี้ นายริชาร์ด แคริด้า รองประธานเฟด กล่าวกับสำนักข่าว CNBC ว่า เฟดยังไม่มีความจำเป็นจะเปลี่ยนแปลงกรอบดอกเบี้ยในเวลานี้ และเราจะอดทนรอต่อข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมาถึงต่อไป
· นายเดวิด มัลพาส ประธาน World Bank คนใหม่ กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกมีปริมาณหนี้สินอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไป โดยเฉพาะจากประเทศจีน เนื่องจากจีนมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศให้กับพวกเขาเอง รวมทั้งจากสหรัฐฯ ซึ่งระดับหนี้ของจีนในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.12 ล้านล้านเหรียญ
นอกจากนี้ นายมัลพาสยังกล่าวต่อว่าจีนที่มีการดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับที่ต่ำ แม้จีนจะเป็นถึงเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกก็ตาม
· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับลงหลังจากที่ปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุดรอบ 5 เดือนในช่วงต้นสัปดาห์ จากการที่กลุ่มโอเปกมีท่าทีจะคงข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตต่อไป และการปรับลงของผลผลิตน้ำมันในประเทศเวเนซุเอลา
น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 1.03 เหรียญ คิดเป็น -1.6% ที่ 63.58 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ช่วงต้นสัปดาห์ปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุดตั้งแต่ 1 พ.ย. ที่ 64.79 เหรียญ/บาร์เรล
ด้านราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดลง 90 เซนต์ หรือ -1.3% ที่ 70.83 เหรียญ/บาร์เรล หลังไปทำสูงสุดตั้งแต่ 12 พ.ย. ที่ 71.78 เหรียญ/บาร์เรล เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่า การปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบเกิดจากสัญญาณทางเทคนิค และการตั้งคำสั่ง Stops บางส่วน จึงทำให้เกิดแรงเทขายตามมาอัตโนมัติ