• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 12 เมษายน 2562

    12 เมษายน 2562 | Economic News

 · ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลง 0.2% แถว 96.597 จุด ในช่วงตลาดเอเชียวันนี้ แม้จะมีแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ประกาศออกมาสดใสเมื่อคืนนี้ก็ตาม

· นักวิเคราะห์จาก Gaitame.Com ระบุว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมุมมองต่อค่าเงินดอลลาร์ไปเป็นฝั่งขาลง นับตั้งแต่การประกาศตัวเลข CPI ในสัปดาห์นี้ ทำให้นักลงทนเหล่านั้นจำเป็นต้องทำการ cover short หลังตัวเลขเมื่อคืนออกมาดีกว่าคาด แต่ในภาพรวมของเศรษฐกิจ ยังคงไร้สัญญาณที่ชัดเจนว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ ทำให้ดอลลาร์ไม่สามารถคงการแข็งค่าได้นานนัก

ในขณะที่ค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% แถว 1.3072 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังได้รับแรงหนุนจากการที่อียูยินยอมขยายระยะเวลาของ Brexit ออกไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค.


· นักวิเคราะห์จาก FXStreet มองว่า ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นจาก 111.10 เยน/ดอลลาร์ สู่ 111.7 เยน/ดอลลาร์ โดยในเดือนนี้มีการทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดไปแถว 111.82 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางดัชนี PPI และข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯที่ออกมาดีขึ้น ขณะที่เช้านี้ หุ้นเอเชียเปิดผสมผสานและอัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวแดนลบ

สำหรับดอลลาร์ปรับแข็งค่าอีกครั้งในตลาดหุ้นเอเชีย จึงทำให้ภาพของค่าเงินเยนทางเทคนิคมีสัญญาณอ่อนค่า โดยแนวต้านแรกจะอยู่ที่ 111.81 เยน/ดอลลาร์ หากฝ่าไปได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 112.13 เยน/ดอลลาร์ รวมทั้งมีโอกาสเห็น 112.40 - 112.50 เยน/ดอลลาร์

แนวรับ: 111.35, 111.00 และ 110.75

แนวต้าน: 111.80, 112.15 และ 112.50



· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ภาพระดับวันของค่าเงินยูโรอยู่ในทิศทางอ่อนค่า และมีกรอบการซื้อขายอยู่ระหว่างระดับสำคัญของเส้น Fibonacci โดยหากยูโรหลุดต่ำกว่าระดับเส้น Fibonacci Retracement 38.2% แถว 1.1447 ดอลลาร์/ยูโรลงมา ก็มีโอกาสลงมาแถว 1.1285 ดอลลาร์/ยูโร และถึงแม้จะยืนเหนือเส้น Fibonacci Retracement 23.6% บริเวณ 1.1245 ดอลลาร์/ยูโรก็ยังดูจะเป็นกรอบขาลงอยู่ดี

สำหรับภาพทางเทคนิคของค่าเงินยูโรดูจะมีสัญญาณจาก Indicators ต่างๆสะท้อนออกมาในเชิงลบ และมีโอกาสเห็นยูโรร่วงลงต่อ โดย RSI อยู่แถวระดับ 45 ซึ่งหากยูโรหลุดต่ำกว่า 1.1245 ดอลลาร์/ยูโร ก็มีโอกาสกลับทดสอบต่ำสุดของปีบริเวณ 1.1175 ดอลลาร์/ยูโร



· นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งฝรั่งเศส กล่าวว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-ยูโรโซน หากเกิดขึ้น จะถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกต่างชะลอตัวลง


ทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มีการทวีตข้อความและกล่าวถึงยูโรโซน ว่าเป็น “คู่ค้าที่โหดร้าย”

· ยอดส่งออกของจีนในเดือน มี.ค. ประกาศออกมาสูงกว่าที่คาด โดยเพิ่มขึ้น 14.2% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 7.3% ขณะที่ยอดนำเข้ากลับลดลงมากกว่าที่คาดไว้ โดยยอดนำเข้าลดลง -7.6% จากปีก่อนหน้า จากที่คาดไว้ที่ 1.3%

จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ภาพรวมยอดเกิดดุลการค้าของจีนออกมาเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.264 หมื่นล้านเหรียญ จากที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 6 – 7.05 พันล้านเหรียญ

หลังทราบรายงานดังกล่าว ค่าเงินหยวนได้แข็งค่าจากระดับ 6.7303 หยวน/ดอลลาร์ ลงมาบริเวณ 6.7225 หยวน/ดอลลาร์

· หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ประจำ Allianz กล่าวว่า เฟดได้เปลี่ยนมุมมองทางนโยบายการเงินจาก “คุมเข้มมากเกินไป” เมื่อปีก่อน มาเป็น “ผ่อนคลายมากเกินไป” ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม แม้การเปลี่ยนแปลงแบบสุดเหวี่ยงของเฟด จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างรุนแรงแต่อย่างใด แต่ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลก

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก ประกอบกับประเด็นการคว่ำบาตรอิหร่ายและเวเนซูเวล่าโดยสหรัฐฯ

แม้ว่าราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอาจทำให้ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ะรดับ 71.03 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 63.82 เหรียญ/บาร์เรล

CRUDE OIL TECHNICAL ANALYSIS



· ราคาน้ำมันย่อตัวลงมาจากแนวต้านที่บริเวณ 63.59 – 64.88 เหรียญ/บาร์เรล แต่ทิศทางขาขึ้นตั้งแต่เดือน ธ.ค. ก็ยังคงอยู่ หากราคาหลุดต่ำกว่าระดับ 60.39 เหรียญ/บาร์เรล จะมีโอกาสลงต่อ โดยมีแนวรับถัดไปที่ 57.24 – 88 เหรียญ/บาร์เรล ในทางกลับกัน หากราคาดีดกลับขึ้นมาเหนือแนวต้าน จะมีโอกาสขึ้นไปถึงแนวต้านถัดไปที่ 66.09-67.03 เหรียญ/บาร์เรล ตามมาด้วยระดับ 70 เหรียญ/บาร์เรล





บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com