โดยค่าเงินออสเตรเรียดอลลาร์ปรับสูงขึ้นเหนือระดับ 0.72 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. จากที่ก่อนหน้าถูกกดดันจากสัญญาณเชิงผ่อนคลายนโยบายการเงินจาก RBA หรือธนาคารกลางออสเตรเรีย
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร โดยดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.2% แถว 96.846 จุด ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า 0.4% บริเวณ 1.1300 ดอลลาร์/ยูโร
ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรเผชิญแรงกดดันหลัง Reuters รายงานว่า บรรดาสมาชิกอีซีบีมีแนวคิดว่า อิซีบีมองภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนไปในทางที่ดีมากเกินไป
· จีนประกาศตัวเลขการเติบโตของจีดีพีออกมาเหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยจีดีพีในไตรมาสที่ 1/2019 ขยายตัวได้ 6.4% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.3% เทียบกับไตรมาสที่ 4/2018 ที่เติบโตได้ 6.4% และ 6.5% ในไตรมาสที่ 1/2018
นอกจากนี้ จีนยังมีการประกาตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่
- อัตราการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) เดือน มี.ค. ขยายตัว 8.5% มากกว่าคาดการณ์ที่ 5.9% นับเป็นอัตราเติบโตที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 2014
- ยอดค้าปลีก (Retail sales) เดือน มี.ค. ขยายตัวได้ 8.7% มากกว่าคาดการณ์ที่ 8.4%
- ยอดลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed asset investment) ไตรมาสที่ 1/2019 ขยายตัวได้ 6.3% เท่ากับคาดการณ์
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า การที่ตัวเลขดังกล่าวประกาศออกมาดีกว่าคาดการณ์ เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสัญญาณความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะการเจรจาการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ยังไร้ความชัดเจน จึงมีแนวโน้มที่รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขั้นต่อไป
· นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs เชื่อว่า โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปีนี้ ได้ลดน้อยลงไปเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ทั้งนี้ เป็นเพราะไม่มีข้อมูลใดที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ณ ขณะนี้
ทั้งนี้ การที่บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกต่างหันมาผ่อนคลายนโยบายการเงิน น่าจะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตตามเทรนต่อไปได้
· รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งอิตาลี กล่าวว่า เศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2019 มีสัญญาณที่ดี รัฐบาลจึงคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ 0.2% ในปี 2019
สอดคล้องกับคาดการณ์ของตลาดที่ว่าเศรษฐกิจอิตาลีน่าจะเติบโตได้เล็กน้อยในปีนี้ หลังจากที่ตัวเลขจีดีพีของอิตาลีในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีก่อน ปรับลดลงที่ระดับ -0.1% จึงทำให้เศรษฐกิจอิตาลีเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
· ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นติดต่อเป็นวันที่ 2 ท่ามกลางแรงหนุนจากสัญญาณความแข็งแกร่งของปริมาณอุปสงค์จากบรรดาโรงกลั่นน้ำมันในประเทศจีน ประกอบกับการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และรายงานปริมาณสต็อกน้ำมันของสหรัฐฯที่ออกมาลดลงผิดคาด
โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 0.4% บริเวณ 72.01 เหรียญ/บาร์เรล ทำระดับสูงสุดรายวันที่ 72.10 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 8 พ.ย.
ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 0.7% บริเวณ 64.49 เหรียญ/บาร์เรล
CRUDE OIL TECHNICAL ANALYSIS
· ราคาน้ำมัน WTI ยังเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวแถวแนวต้านที่บริเวณ 63.59 – 64.88 เหรียญ/บาร์เรล หากผ่านแนวต้านนี้ไปได้ จะมีแนวต้านถัดไปบริเวณ 66.09 – 67.03 เหรียญ/บาร์เรล ส่วนเป้าหมายระยะยาวจะอยู่ที่ 70 เหรียญ/บาร์เรล
ในทางกลับกัน หากราคาย่อตัวลงจะมีแนวรับที่ 60.39 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากหลุดลงมาอีก ทิศทางจะกลับตัวเป็นขาลงในระยะสั้น และจะมีเป้าหมายบริเวณ 57.24 – 88 เหรียญ/บาร์เรล