· ดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวแถว 97.051 จุด หลังจากปรับอ่อนค่าลงมาประมาณ 0.05% เมื่อวานนี้ ขณะที่ค่าเงินที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันต่างปรับร่วงลง หลังราคาน้ำมันดิบเริ่มชะลอตัว
· ค่าเงินออสเตรเรียดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 0.7179 ดอลลาร์ หลังปรับขึ้นเหนือระดับ 0.72 ดอลลาร์ จากตัวเลขการจ้างงานเดือน มี.ค. ที่แข็งแกร่ง
· ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงหลังข้อมูลเศรษฐกิจเยอรมนีออกมาแย่กว่าที่คาด แม้ว่าข้อมูลภาคการผลิต PMI ออกมาดีขึ้น ก็ยังแย่กว่าที่คาดการณ์ โดยค่าเงินยูโรร่วงลงจาก 1.1290 ดอลลาร์/ยูโร ไปแถว 1.1265 ดอลลาร์/ยูโร โดยภาพรวมค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงต่ำกว่าระดับเส้นค่าเฉลี่ย MA 200 ชม. ที่ 1.1284 ดอลลาร์/ยูโร และนั่นส่งสัญญาณว่ามีโอกาสร่วงลงต่อจากภาพระยะสั้นที่กลับมาอยู่ในทิศทางอ่อนค่า โดยค่าเงินยูโรจะมีแนวรับถัดไปที่ 1.1250 ดอลลาร์/ยูโร โดยหากหลุดลงมาจะมีแนวรับถัดไปที่ 1.1220 และ 1.1215 ดอลลาร์/ยูโรตามลำดับ โดยแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1.1200 ดอลลาร์/ยูโร
EUR/USD Technical Analysis: คาดยูโรกลับมาเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงต่อ
· ค่าเงินยูโรได้รีบาวน์ขึ้นจากแนวรับแถว 1.12 ดอลลาร์/ยูโร ขึ้นมาทดสอบแนวต้านของเทรนขาลงระยะยาวตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2018 ภาพรวมของค่าเงินยังคงมีความผันผวนอย่างมาก แต่จะเห็นได้ว่าค่าเงินทำจุดสูงยกต่ำ (lower highs) และจุดต่ำยกต่ำ (lower lows) ลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าในระยะสั้นทิศทางขาลงดูจะมีกำลังมากกว่า
การเคลื่อนไหวของกราฟแท่งเทียนที่เป็นลักษณะลำตัวแคบแต่ส่วนปลายยาว บ่งชี้ถึงความไม่มั่นใจของตลาดหลังจากค่าเงินขึ้นทดสอบแนวต้าน ขณะที่สัญญาณจาก RSI ที่เริ่มเคลื่อนไหวในแดนลบ เป็นอีกปัจจัยที่บ่งชี้ว่า ทิศทางขาขึ้นกำลังอ่อนแรง
เมื่อเข้ามาดูที่กราฟราย 4 ช.ม. แนวรับแรกของค่าเงินดูเหมือนจะอยู่ที่ระดับ 1.1285 ดอลลาร์/ยูโร หากหลุดลงมาจะมีแนวรับถัดไปที่ 1.1250 ดอลลาร์/ยูโร ในขณะเดียวกัน มองแนวต้านไว้ที่ระดับ 1.1332 ดอลลาร์/ยูโร แต่หากค่าเงินจะลบล้างทิศทางขาลงระยะสั้นได้นั้น จำเป็นต้องขึ้นเหนือระดับ 1.1390 ดอลลาร์/ยูโร ให้ได้เสียก่อน
· รายงานจาก Fortune ระบุว่า ทางรัฐบาลสหรัฐฯและจีนมีกำหนดการที่จะส่งตัวแทนการค้ามาพบกันอีก 2 รอบ เพื่อต่อยอดไปยังการร่วมลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างผู้นำของทั้ง 2 ประเทศที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายเดือน พ.ค.
โดยในวันที่ 29 เม.ย. นายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าแห่งสหรัฐฯ และนายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง จะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อร่วมเจรจากับตัวแทนจากจีน ในขณะที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กำลังเตรียมการต้อนรับตัวแทนจาก 40 ประเทศที่จะเดินทางมาร่วมประชุมในโครงการ Belt and Road ในช่วงปลายเดือน เม.ย. นี้เช่นกัน
จากนั้น ในวันที่ 6 พ.ค. นายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจแห่งประเทศจีน อาจเดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ เพื่อเจรจาการค้าร่วมกับตัวแทนสหรัฐฯ
· รายงานการสืบสวนคดีความเกี่ยวข้องกันระหว่างการแทรกแซงการเลือกตั้งโดยรัสเซีย กับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สืบสวนโดยนายโรเบิร์ต มูลเลอร์ อดีตผู้อำนวยการ FBI จะถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะภายในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากที่ดำเนินการสืบสวนมาเป็นเวลากว่า 22 เดือน
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาบางส่วนของรายงานน่าจะถูกปิดบังเอาไว้ เพื่อป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหลออกไป และการเปิดเผยรายงานครั้งนี้ อาจเป็นฉนวนก่อให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ภายในสภาคองเกรส และจะส่งผลกระทบไปยังการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2020 ได้
· รายงานจาก The Washington Post ระบุว่า เศรษฐกิจจีนดูจะผิดจากที่นายทรัมป์เคยคาดการณ์เอาไว้ เนื่องจากจีดีพีจีนล่าสุดยังคงขยายตัวได้ 6.4% ในช่วงไตรมาสแรกของปี
ขณะที่กลุ่มนักวิเคราะห์ก็ยังมีความไม่แน่ใจต่อข้อมูลเศรษฐกิจของจีน แม้ว่าข้อมูลจีดีพีจีนจะขยายตัวออกมา แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนต่อค่าใช้จ่ายภาครัฐบาล ซึ่งนายทรัมมป์กลับมองเห็นถึงสัญญาณที่เศรษฐกิจจีนจะปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ดี บรรดานักเศรษฐศาสตร์หลายราย ก็ยังคงประสานเสียงเตือนต่อระดับหนี้สินในจีน พร้อมเตือนว่าอาจก่อให้เกิดวิกฤตภาคธนาคาร และอาจเผชิญกับภาวะล้มละลายจากการผิดนัดชำระหนี้ได้ โดยทางการจีนก็ได้มีการหารือถึงภาพรวมของวิกฤตในช่วงหลายวันที่ผ่านมาที่อาจก่อเป็นปัญหากระแสเงินสดได้เช่นเดียวกับผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นในบราซิล หรือปัญหาระยะยาวที่เคยเกิดในญี่ปุ่นได้
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า ภาคธนาคารยุโรปรายใหญ่มีกำหนดการจะเริ่มเปิดเผยผลประกอบการไตรมาสแรกในสัปดาห์หน้า และกลุ่มนักลงทุนบางส่วนกำลังกังวลว่ารายงานที่ออกมาจะแย่และอาจส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้นได้
บรรดาหนักวิเคราะห์บางส่วน กำลังมีความกังวลเพิ่มขึ้นต่อการประกาศรายงานผลประกอบการที่ในช่วงที่ต่างประเทศกำลังมีความเสี่ยงที่กดดันให้อัตราการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้ง Brexit และการที่ธนาคารกลางแห่งใหญ่ที่เริ่มกลับมาใช้นโยบายที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังผลิตของกลุ่มโอเปก และการร่วงลงของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ แม้ว่าจะถูกกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิิ่มขึ้น 0.1% ที่ระดับ 71.71 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น 0.1% เช่นเดียวกันที่ระดับ 63.81 เหรียญ/บาร์เรล
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เปิดเผย สต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯลดลง 1.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ 12 เม.ย. ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล
CRUDE OIL TECHNICAL ANALYSIS
· ราคาน้ำมันยังคงเคลื่อนไหวกรอบแคบใกล้แนวต้านที่บริเวณ 63.59 – 64.88 เหรียญ/บาร์เรล ส่วนแนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ 66.09 – 67.03 เหรียญ/บาร์เรล หากปิดเหนือแนวต้านเหล่านี้ได้ จะมีโอกาสขึ้นไปทดสอบระดับ 70 เหรียญ/บาร์เรล
ในทางกลับกัน หากราคาย่อตัวลงหลุดแนวรับที่ 60.39 เหรียญ/บาร์เรล จะลบล้างแนวโน้มขาขึ้นในระยะสั้น และอาจมีโอกาสย่อตัวลงไปถึงแนว 57.24-88 เหรียญ/บาร์เรล