สถาบันวิเคราะห์เศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะประกาศประมาณการณ์จีดีพีครั้งที่ 1 ประจำไตรมาสแรกของปี 2019 ในคืนนี้เวลา 19.30น.
คาดการณ์
จีดีพีสหรัฐฯถูกคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 2.1% ในไตรมาสแรก จากไตรมาสที่ 4/2018 ที่ขยายตัวได้ 2.2% ทางด้าน Core PCE คาดว่าจะออกมาลดลงสู่ 1.6% จาก 1.9%
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ 70% จะมาจากค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขณะที่แนวโน้มของกลุ่มผู้บริโภคยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งการลงทุนในภาคธุรกิจก็ถือเป็นส่วนสำคัญรองลงมา แต่หนึ่งในแนวโน้มหลักก็คือกลุ่มผู้บริโภค และที่สำคัญที่สุดคือการบริโภคภายในประเทศของตลาดแรงงาน เพราะหากประชาชนมีงานทำและมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านรายได้ของพวกเขาก็จะมีความสามารถในการหางานใหม่ได้ ซึ่งก็จะมีแนวโน้มที่การใช้จ่ายจะมากขึ้นสอดคล้องกับรายได้ของพวกเขา
ความสำเร็จของตลาดแรงงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของสหรัฐฯนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันเป็นอย่างดี จากค่าเฉลี่ยต่ำสุดรอบ 12 เดือนของ Non-Farm Payrolls ในช่วงเดือนก.ย. ปี 2017 ที่ 167,700 ตำแหน่ง ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยของการจ้างงานที่สูงขึ้นสู่ระดับ 235,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค.ของปีนี้ ขณะที่ในเดือนก.พ. เป็นเดือนที่ปรับลงไป 33,000 ตำแหน่ง ก็ดูจะเป็นผลมาจากการที่รัฐบาล Shutdown ในช่วงเดือนม.ค.
ส่วนของค่าแรงที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดหลังประสบภาวะชะลอตัว ก็ดูจะทำให้นายจ้างมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น อันจะเห็นได้จากค่าจ้างรายปีในเดือนก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น 3.4% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนเม.ย. ปี 2009
มุมมองเชิงบวกของกลุ่มผู้บริโภค
กลุ่มผู้บริโภคชาวอเมริกาดูจะมีกำลังซื้อมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และหลังจากที่เผชิญกับภาวะ Shutdown ที่ได้ยุติลงไปเมื่อ 25 ม.ค. โดยจะเห็นได้จากดัชนีสำรวจความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่รีบาวน์ขึ้นแตะ 98.4 จุดในเดือนมี.ค. หลังจากที่เดือนม.ค.ร่วงลงไปแตะ 91.2 จุด
ขณะที่รายงานจาก Conference Board ก็ดูจะเห็นได้ถึงสัญญาณการกลับตัวหลังไปทำระดับสูงสุดเมื่อช่วงปลายเดือนต.ค. ที่ 137.9 จุด โดยร่วงลงมาแตะ 126.6 จุดในเดือนธ.ค. และ 121.7 จุด จากภาวะ Shutdown ขณะที่ข้อมูลล่าสุดในเดือนเม.ย.ปรับขึ้นได้เกินคาดที่ 126 จุดโดยประมาณ
ยอดค้าปลีกและสินค้าคงทน
ยอดค้าปลีกปรับขึ้นเกินคาดในเดือนมี.ค. แตะ 1.6% จากคาดการณ์ที่ 0.9% ซึ่งข้อมูลส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วน 0.73% สำหรับจีดีพีไตรมาสแรก และทำให้บรรดานักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองค่าเฉลี่ยของไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นที่ 0.80% จากไตรมาสที่ 4/2018 ที่อยู่ที่ -0.37% แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องยากต่อการฟื้นตัวจากภาวะรัฐบาล Shutdown ในเดือนม.ค. ที่ดูจะเห็นถึงความแตกต่าง
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนยังคงมีสภาวะเคลื่อนไหวใกล้เคียงกัน โดยไตรมาสแรกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.50% จากไตรมาสที่ 4/2018 ที่ -0.77% ทางด้านสินค้าคงทนปรับขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยที่ 0.67% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4/2018
และนี่อาจเป็นเรื่องไม่ปกติหากการฟื้นตัวของการบริโภคจากไตรมาสที่ 4/2018 สู่ ไตรมาสที่ 1/2019 ไม่เป็นผลสะท้อนต่อการขยายตัวของจีดีพีครั้งนี้
ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ
มุมมองเชิงบวกในกลุ่มธุรกิจอ่อนตัวลงในไตรมาสแรกมากกว่าของไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว แต่ความแตกต่างก็ไม่มากนัก แต่ความแข็งแกร่งของค่าใช้จ่ายผู้บริโภคก็ดูจะออกมาสวนทาง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจากสถาบัน ISM สะท้อนว่าในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 56.8 จุด ขณะที่ไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 55.3 จุด
ในส่วนของภาคบริการทรงตัวที่ 59.47 จุดในไตรมาสที่ 4/2018 และ 57.5 จุด ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ และทั้งหมดนี้ของ PMI ตลอดช่วง 6 เดือนมานี้สะท้อนในเกณฑ์การขยายตัว ละไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่า บรรดาผู้จัดการภาคธุรกิจรู้สึกเป็นกังวลต่อการลดลงของคำสั่งซื้อ หรือกิจกรรมทางธุรกิจโดยทั่วไป หรือ จำเป็นต้องจ้างงานใหม่ และการปรับตัวลงของตัวชี้วัดก็มาจากการเปลี่ยนแปลงทางเงื่อนไขภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
บทสรุปต่อจีดีพีสหรัฐฯ
ในไตรมาสที่ 4/2018 ที่จีดีพีขยายตัวได้ 2.2% และคาดการณ์คืนนี้จะออกมาที่ 2.1% สำหรับไตรมาสที่ 14/2019 ต้องดูจากผลสะท้อนของข้อมูลล่าสุดที่เพิ่งประกาศมาเมื่อไม่นานนี้ อันได้แก่ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ดีขึ้นเกินคาด ควบคู่กับภาคธุรกิจ, ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุน ที่มีการรีบาวน์ตอบรับกับมุมมองเชิงบวกของกลุ่มผู้บริโภค ประกอบกับตลาดแรงงานที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่องที่อาจเป็นปัจจัยบวกต่อจีดีพี Q1/2019 ขณะที่โมเดลจีดีพีของเฟดสาขาแอตแลนต้าก็สะท้อนว่า จีดีพีสหรัฐฯมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ประมาณ 2.7% ปีนี้
ที่มา: FXStreet