
· ค่าเงินเยนแข็งค่าทำระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ทำให้นักลงทุนหันเข้าหา Safe-haven อย่างค่าเงินเยน
โดยตลาดจะจับตาการเจรจาการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งนายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจจีน มีกำหนดเดินทางไปร่วมเจรจา ณ กรุงวอชิงตันของสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ และน่าจะพยายามสรุปข้อตกลงให้ได้ภายในวันศุกร์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกปรับขึ้นภาษี
ความตึงเครียดดังกล่าวช่วยหนุนให้ค่าเงินเยนแข็งค่า 0.2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่บริเวณ 110.07 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินได้ปรับแข็งค่ามาแล้วถึง 1% ในภาพรวมรายเดือนนี้
· ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า 0.1% บริเวณ 1.1213 ดอลลาร์/ยูโร แต่ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบเดิม เนื่องจากตลาดยังคงถูกกดดันจากสัญญาณของการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนและอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัว
· ยอดเกินดุลการค้าของจีนประกาศออกมาลดลงผิดคาดในเดือน เม.ย. ที่ระดับ 1.384 หมื่นล้านเหรียญ ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 3.5 หมื่นล้านเหรียญอย่างมาก เทียบกับยอดเกินดุลในเดือน มี.ค. ที่ 3.265 หมื่นล้านเหรียญ
ขณะที่ยอดส่งออกก็ปรับลดลงผิดคาดเช่นกัน โดยยอดส่งออกเดือน เม.ย. ปรับลดลง -2.7% จากปีก่อนหน้า จากที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 2.3%
ทางด้านยอดนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นผิดคาดถึง 4% จากปีก่อนหน้า จากที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 3.6% เทียบกับในเดือน มี.ค. ที่ยอดนำเข้าชะลอตัวลงไป 7.6%
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า กลุ่มนักลงทุนมีความวิตกกังวลกับสถานการณ์ของสหรัฐฯและจีนที่อาจไม่เพียงพอต่อการเจรจาเรื่องภาษีการค้าในช่วงปลายสัปดาห์นี้ และอาจบั่นทอนต่อภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก, ผลประกอบการบริษัท และกดดันให้ราคาหุ้นปรับตัวลง
ทั้งนี้ ระหว่าง 9-10 พ.ค. ถูกกำหนดให้เป็นการเจรจารอบใหม่ในสัปดาห์นี้ แต่ภาวะความตึงเครียดมีแนวโน้มที่ค่อนข้างน้อยจะเห็นการเกิดข้อตกลงได้ก่อนท่ี่ทีมบริหารของนายทรัมป์จะทำการปรับขึ้นภาษีรอบใหม่กับจีน แม้ว่านักวิเคราะห์บางส่วนจะเชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวจะยังเกิดขึ้นได้ เพียงแต่ไม่ทันต่อการขึ้นภาษี และทำลายความหวังที่จะเห็นข้อตกลงจากปัญหาระยะยาวดังกล่าว
· นายเคธ ปาร์คเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นประจำ UBS กล่าวว่า ผลประกอบการของดัชนี S&P500 อาจได้รับผลกระทบ 2% หรือมากกว่านั้น หากสหรัฐฯตัดสินใจปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนที่ 10% มูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ เป็น 25% ที่ 3.25 แสนล้านเหรียญแทน หรืออาจกระทบกับผลประกอบการบริษัทมากถึง 7% หากเผชิญกับปัญหา Trade War อย่างเต็มรูปแบบ
· ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายมองว่า การที่จีนมีการกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก็ดูเหมือนทั้งสองประเทศจะยังอยู่ห่างไกลจากการเจรจากันได้บางประเด็น และก็อาจทำให้พวกเขาอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ตามที่ต้องการ
· ด้านนักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup ระบุว่า หากมีการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจริงจาก 10% เป็น 25% ก็อาจส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวต่ำไปกว่า 0.5% และเศรษฐกิจโลกขยายตัวลดลง 0.2% ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจน้อยกว่า 0.1%
· ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการคว่ำบาตรผู้ส่งออกน้ำมันดิบอิหร่านและเวเนซุเอลาของสหรัฐฯ รวมถึงการปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องทำให้ตลาดตึงตัว เช่นเดียวกับการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.
โดยราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.9% ที่ระดับ 61.96 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 70.31 เหรียญ/บาร์เรล
· ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบสู่ประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันในปีก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าแร่เหล็กและทองแดงกลับปรับตัวลดลง
โดยนักวิเคราะห์จาก Commonwealth Bank of Australia ระบุว่า ยอดนำเข้าที่ประกาศออกมาผสมผสานกัน เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง ซึ่งสัญญาณดังกล่าวเริ่มเห็นได้ตั้งแต่ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังจำเป็นที่จะต้องรอตัวเลขทางเศรษฐกิจมากกว่าจนกว่าจะสามารถยืนยันถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้