• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2562

    13 พฤษภาคม 2562 | SET News

· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดในแดนลบ ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กำลังจับตาความคืบหน้าของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่มีท่าทีจะย่ำแย่ลง โดยดัชนี STOXX 600 เปิด -0.5% นำโดยหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่อง ขณะที่หุ้นกลุ่มยานพาหนะปรับร่วงลงไปกว่า 1.5%

· หุ้นอนุพันธ์สหรัฐฯและตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นว่าสหรัฐฯและจีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าได้หรือไม่ หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนอีก 25% ที่มีผลในวันศุกร์นี้ ขณะที่จีนกล่าวว่าจะทำการตอบโต้กลับ

โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น ร่วงลง 0.7% ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางหุ้นวัฏจักรส่วนใหญ่ร่วงลงหลังจากความตึงเครียดทางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การปรับตัวลงของของตลาดหุ้นอนุพันธ์สหรัฐฯส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นเหล่านักลงทุน

โดยดัชนี Nikkei ลดลง 0.7% ที่ระดับ 21,191.28 จุด

ทั้งนี้ หัวหน้านักกลยุทธ์ประจำ Tokai Tokyo Research Center ระบุว่า การเจรจาการค้าจะดำเนินต่อไปเนื่องจากมีการประชุมสุดยอดที่โอซาก้า ดังนั้น จึงเร็วเกินไปที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในตลาดอย่างแท้จริง

· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง และค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากความหวังของนักลงทุนสำหรับข้อตกลงที่จะยุติสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีนนั้นได้รับผลกระทบจากการเริ่มต้นของการเจรจาการค้า

โดยดัชนี Shanghai Composite ร่วงลง 1.2% ขณะที่ดัชนี CSI300 กลุ่มบลูชิพ ลดลง 1.7% สำหรับภาพรวมรายเดือนดัชนี Shanghai Composite ร่วงลง 5.7% และดัชนี CSI300 ลดลง 6.2%


· ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ในการประชุมครั้งล่าสุด (8 พ.ค.)

โดย “ทิตนันท์ มัลลิกะมาส” เลขานุการ กนง.อธิบายเหตุผลการคงดอกเบี้ยครั้งนี้ ว่า กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวได้ที่ 3.8% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปีนี้ มีแนวโน้มใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่อยู่ที่ 1-4% โดยภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งยังสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

แต่มี “ปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน” ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศที่ยังมีสูงในระยะข้างหน้า


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com