

· ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ที่ระดับ 1.1166 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนจะทรงตัวแถว 1.1175 ดอลลาร์/ยูโร จากการที่ตลาดมีความกังวลต่อผลการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนจากภาวะตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยังดำเนินต่อไป
ค่าเงินยูโรได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ที่ นายมัทเตโอ ซัลวินี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ที่กล่าวว่ากฎระเบียบของทางอียูกำลังส่งผลลบต่อประเทศ และเขาจะทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหากพรรคของเขาได้คะแนนเสียงที่ดีพอในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในช่วงปลายเดือน
· นักกลยุทธ์ FX จาก Credit Agricole กล่าวว่า อิตาลียังถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันภาวะขาลงของค่าเงินยูโร
· ด้านค่าเงินดอลลาร์ได้รับอานิสงส์ในฐานะ Safe-Haven ส่วนหนึ่งจากภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นเกินคาดทั้งภาคที่อยู่อาศัย และภาคแรงงาน ขณะที่ดัชนีภาคธุรกิจที่จัดทำโดยเฟดสาขาฟิลาเดเฟียก็ยังบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งในเดือนพ.ค. จึงทำให้ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถว 97.832 จุด หลังไปทำ High สุดนับตั้งแต่ 31 พ.ค. ที่ระดับ 97.882 จุดเมื่อคืนนี้
ในส่วนของค่าเงินหยวนอ่อนค่ามาแถว 6.9299 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 30 พ.ย.
· โพลสำรวจโดย Reuters พบว่า ผลกระทบจากภาวะสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน จะเพิ่มแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวภายใน 2 ปีข้างหน้าถึง 40% เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนก่อนที่คาดไว้ที่ 35%
ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงอย่างมาก โดยแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาสนี้ถูกคาดการณ์ไว้ที่ 2.0% เทียบกับไตรมาสที่ 1/2019 ที่เติบโตได้ 3.2%
· นายวิลบอร์ รอสส์ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยืนยันว่า คำสั่งคว่ำบาตร Huawei ของประธานาธิบดีจะมีผลบังคับใช้ภายในวันศุกร์นี้ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวจะกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถดำเนินธุรกรรมร่วมกับ Huawei ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาล
· นายมัตเตโอ ซัลวินี รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวต่อว่านางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายเอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่าเป็นผู้ทำร้ายยุโรป หลังจากนางแมร์เคิล กล่าวว่า จะไม่เชิญชวนนายซัลวินีให้เข้าร่วมพรรคฝ่ายกลาง-ขวาของเธอในการเลือกตั้งรัฐสภาอียูสัปดาห์หน้า
· นายบอริส จอห์นสัน รัฐมนตรีกระทรวง Brexit แห่งอังกฤษ จะเป็นหนึ่งในตัวเต็งผู้ที่จะมาแทนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากที่นางเทเรซ่า เมย์ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน มิ.ย. และการเลือกผู้นำคนใหม่จะตามมาภายหลังจากนั้น
อย่างไรก็ตาม มีสมาชิกพรรค Conservatives อาวุโสบางส่วนต้องการจะเข้าร่วมการชิงตำแหน่งผู้นำอังกฤษครั้งนี้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ นายรอลี่ สจ๊วตท์ รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ นางเอสเธอร์ แมคเวย์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและการบำเหน็จบำนาญ และนางแอนเดรีย ลีดซัม ผู้นำสภาสามัญชน ที่กำลังจะพิจารณาจะร่วมชิงตำแหน่ง
นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆที่มีแนวโน้มจะร่วมชิงตำแหน่งผู้นำครั้งนี้ ได้แก่ นายไมเคิล โกฟ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม นายซาจิด จวิด รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และนายเจเรมี ฮันท์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ
· รายงานจาก BBC ระบุว่า การเจรจาระหว่างนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ร่วมกับผู้นำพรรค Labour ฝ่ายค้าน กำลังจะจบลงในเร็วๆนี้ หลังจากดำเนินการเจรจาหาความร่วมมือในข้อตกลง Brexit มานานกว่า 1 เดือน แต่ยังคงไม่สามารถหาข้อตกลงได้เสียที
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นไปกว่า 2% ท่ามกลางความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ยังขยายตัวขึ้น ประกอบกับซาอุดิอาระเบียมีการโจมตีทางอากาศใส่พวกกบฎฮูติ ในเขตเมืองหลวงซานา ประเทศเยเมน เพื่อตอบโต้เหตุความไม่สงบที่มีการโจมจีสถานีสูบน้ำมันในประเทศ
น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 85 เซนต์ ที่ระดับ 62.87 เหรียญ/บาร์เรล หรือปรับขึ้นไปกว่า 1.4% และถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 85 เซนต์ หรือ +1.2% ที่ระดับ 72.62 เหรียญ/บาร์เรล โดยไปทำระดับสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ได้ในช่วงต้นตลาด
