· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดแดนลบท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่เริ่มกังวลต่อภาวะ Trade War ระหว่างสหรัฐฯและจีนที่จะฉุดภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงไป 286.14 จุด ที่ระดับ 25,490.47 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500ปิด -1.2% ที่ระดับ 2,822.24 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด -1.6% ที่ 7,628.28 จุด
อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงไปกว่า 400 จุดในช่วงต้นตลาด และภาพรวมช่วง 2 วันทำการปิดลดลงไปกว่า 380 จุด จากนักลงทุนในตลาดที่กลับมากังวลต่อสภาวะ Trade War อีกครั้ง ขณะที่ภาพรวมเดือนพ.ค. ดัชนี S&P500 ปรับลงไปกว่า 4% แล้ว
· หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ ตลาดเริ่มมีกระแสคาดการณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะเดินหน้าขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศจีน “ทุกรายการ” ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งในสงครามการค้ายืดเยื้อออกไปและกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจ
บรรดานักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์จากหลากหลายสถาบัน ไม่ว่าจะเป็น Nomura, Goldman Sachs หรือ Bank of America ต่างมีการออกรายงานฉบับใหม่ที่ส่งสัญญาณไปในทิศทางเดียวกัน ว่าสถานการณ์สงครามการค้ามีแนวโน้มที่จะย่ำแย่ลง ขณะที่นักวิเคราะห์จาก QMA คาดว่า หากสงครามการค้ารุนแรงขึ้น หากทำให้ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะปรับฐานและอาจปรับร่วงลงไปได้ถึง 10% พร้อมคาดว่าพันธบัตรจะเป็นสินทรัพย์ที่ตลาดให้ความสนใจในฐานะ
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวานนี้จากความกังวลเรื่อง Trade War ระหว่างสหรัฐฯกับจีน โดยทีดัชนี Stoxx600 ปิด -1.4% ทางด้าน FTSE100 ของอังกฤษดิ่ง -1.4% ทางด้าน DAX และ CAC ของเยอรมนีและฝรั่งเศสต่างปิดร่วง -1.8%
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดในแดนลบ ท่ามกลางแรงกดดันจากความกังวลในสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
โดยดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่นเปิด -1.06% ขณะที่ดัชนี Topix เปิด -1.02% ส่วนดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ เปิด -0.36%
· นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า ตลาดหุ้นเอเชียเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าที่ส่งสัญญาณจะย่ำแย่ลง โดยทางการจีนกำลังพิจารณาเพิ่มการสนับสนุนให้กับภาคเอกชนในประเทศ โดยเพิกเฉยกับแรงกดดันจากสหรัฐฯ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.90 - 32.10 บาท/ดอลลาร์ โดยต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยการเมืองในประเทศ เพราะเชื่อว่าน่าจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอาจจะมีผลต่อทิศทางของเงินบาท
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดคาดการณ์มูลค่าส่งออกของไทยปี 2562 เหลือขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.6% จากเดิมคาดไว้ที่ 2.7% โดยสาเหตุของการปรับลดประมาณการ เกิดจากข้อมูลจริงของมูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.62) หดตัวถึง -4.2% ซึ่งเป็นการหดตัวที่สูงกว่าคาด นอกจากนี้ สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่กลับมาปะทุอีกครั้งก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาในช่วงต่อไป ยังเป็นเรื่องสงครามการค้าที่อาจเพิ่มระดับความรุนแรงได้อีก
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.62 อยู่ที่ระดับ 95.0 ลดลงจากระดับ 96.3 ในเดือนมี.ค.62 และเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน สาเหตุจากผู้ประกอบการเร่งการผลิตไปในช่วงเดือนก่อนหน้า เพื่อชดเชยการผลิตในเดือนเม.ย.ที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการกังวลต่อกำลังซื้อในภูมิภาคที่ลดลงจากผลของภาวะภัยแล้ง รวมทั้งการส่งออกที่ชะลอตัวจากการค้าโลก
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไตรมาส 1/2562 อยู่ที่ระดับ 48.7 ปรับตัวลดลง 0.3 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.0 ซึ่งผู้ประกอบการกำลังเผชิญผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และปัญหาสงครามการค้าที่สหรัฐและจีนต่างมีมาตรการตอบโต้กันมากขึ้น โดยผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้านมาตรการภาษี การจัดหาตลาด และการเข้าถึงสินเชื่อให้ง่ายขึ้น