· ค่าเงินเม็กซิกันเปโซปรับอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกอย่างคาดไม่ถึง ส่งผลให้ตลาดหันเข้าหาค่าเงินที่เป็น Safe-haven ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าที่บานปลาย
โดยค่าเงินเปโซอ่อนค่า 1.8% ที่ระดับ 19.4812 เปโซ/ดอลลาร์ หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกอีก 5% ในทุกๆรายการ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มิ.ย. นี้
ทั้งนี้ ในช่วงหนึ่งค่าเงินเปโซลงไปทำระดับอ่อนค่าสุดที่ 19.5950 เปโซ/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.
· นักวิเคราะห์จาก RBC Capital Markets ระบุว่า ตามข้อกำหนดขององค์การ WTO แล้ว สหรัฐฯและเม็กซิโกซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี จะไม่สามารถปรับขึ้นอัตราภาษีได้ แต่นายทรัมป์น่าจะประกาศว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้ มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
· ทางด้านค่าเงินเยนแข็งค่า 0.35% แถว 109.240 เยน/ดอลลาร์ และค่าเงินเยนยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรและออสเตรเลียดอลลาร์อีกด้วย
· ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถวระดับ 98.106 จุด หลังอ่อนค่าทำลงเมื่อวานนี้ ส่งผลให้เสียสถิติที่ปรับแข็งค่าขึ้นได้ติดต่อกัน 2 วันทำการ ท่ามกลางแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
นักวิเคราะห์จากสถาบันวิจัย Gaitame ระบุว่า การแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านของค่าเงินดอลลาร์ จากแรงเข้าซื้อในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งจะเห็นได้จากปริมาณความต้องการพันธบัตรสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงไป
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องภายในสัปดาห์นี้ และทำระดับต่ำสุดที่ 2.171% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2017
สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ ดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มปรับแข็งค่าขึ้นได้ 0.5% ท่ามกลางสกุลเงินอื่นๆที่ต่างอ่อนค่าลง ทำให้ดอลลาร์มีความต้องการในฐานะ Safe-haven ที่แข็งแกร่ง
· ส่วนค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1133 ดอลลาร์/ยูโร แต่ปรับอ่อนค่าลงไป 0.62% ในภาพรวมรายสัปดาห์ ท่ามกลางแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิตาลีและอียู
· ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าหลังจากที่จีนกล่าวว่าพร้อมจะใช้แผนจำกัดการส่งออกแร่แรร์เอิร์ธไปยังสหรัฐฯ "หากจำเป็น" โดยค่าเงินเยนมีการปรับแข็งค่าลงไปแถวระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 2 สัปดาห์บริเวณ 109.14 เยน/ดอลลาร์ จากประเด็นตึงเครียดสงครามการค้าระดับโลก
ในช่วงเช้าวันนี้ ค่าเงินเยนมีการปรับแข็งค่าอีกครั้งจากประเด็นที่นายทรัมป์ จะทำสงครามการค้ากับทางเม็กซิโกเพิ่ม โดยจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้ารอบใหม่จากทางเม็กซิโก
อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนดูจะพยายามปรับอ่อนค่าขึ้นเหนือระดับเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci ที่ 109.65 เยน/ดอลลาร์ แต่ก็ยังไม่สามารถปรับอ่อนค่าไปได้ ขณะที่กราฟราย 4 ชม. ดูจะยังไม่สามารถอ่อนค่าไปแตะเส้นค่าเฉลี่ย 100 SMA ได้ ซึ่งค่าเงินก็ญังคงอยู่เหนือเส้น 20 SMA โดยในทางเทคนิคดูจะมีโอกาสเห็นค่าเงินเยนแข็งค่าลงมา หลังเข้าใกล้บริเวณเส้น Midlines แต่หากค่าเงินดอลลาร์ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องหรือมีแรงเข้าซื้อเข้ามาก็อาจทำให้เงินเยนอ่อนค่าพุ่งไปแตะ 109.9 เยน/ดอลลาร์ได้ และหากผ่านไปได้มีโอกาสเห็น 110.6 เยน/ดอลลาร์
แนวรับ: 109.40 109.00 108.65
แนวต้าน: 109.90 110.20 110.60
· นักลงทุนกำลังจับตาไปยังใกล้ชิดต่อค่าเงินหยวน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือชี้วัดความตึงเครียดทางการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งยิ่งทวีความตึงเครียดมากเท่าใดก็ดูจะมีโอกาสเห็นเงินหยวนไปแตะ 7 หยวน/ดอลลาร์ได้
· ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ม่ีการเคลื่อนไหวผกผันสวนทางกัน ก็ดูจะช่วยลดมุมมองต่อเฟดเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯและเงินเฟ้อ แต่ก็ดูจะยังไม่มีแนวโน้มที่จะเห็นเฟดตัดสินใจใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่ดูจะบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงประเด็นความตึงเครียดระหว่างอิตาลีและอียู และยังมีการปราศจากข้อตกลง Brexit ที่ส่งผลทั้งหมดเข้าสู่ตลาดพันธบัตร ทำให้พันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯปรับตัวลงทำต่ำสุดตั้งแต่ ก.ย. ปี 2017 ในสัปดาห์นี้
· หัวหน้านักกลยุทธ์จาก RBC Capital Markets กล่าวว่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและเครดิตความเชื่อมั่นไปในทางเดียว จึงทำให้ตลาดคิดว่าเฟดจะดำเนินการบางอย่าง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เขายังไม่คิดว่าเฟดจะดำเนินการใดๆ ในเวลานี้
· เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group สะท้อนว่า มีโอกาส 50-50 ที่จะเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้ ขณะที่มีโอกาสสูงกว่า 80% ที่เฟดน่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลง 1 ครั้งในช่วงเดือนธ.ค.
· นักวิเคราะห์จาก ING ระบุว่า การประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโก แม้จะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน แต่ก็เป็นผลทางลบต่อตลาดค่าเงิน อีกทั้ง ยังทำให้ตลาดกลับมากังวลเกี่ยวกับโอกาสที่สหรัฐฯจะกลับมาพิจารณาขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์จากยุโรปเร็วกว่าที่คาดอีกด้วย
· รายงานจากหนังสือพิมพ์ที่ขึ้นตรงกับพรรคคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลจีน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีรายงานว่า รัฐบาลจีนพร้อมที่จะระงับการส่งออกแร่ “แรร์เอิร์ธ” ไปยังสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นมาตรการตอบโต้ในสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้ทิศทางของสงครามการค้ามีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลง
นักวิเคราะห์จาก Goldman Sach ระบุว่า จีนมีการถือครองแรร์เอิร์ธรวมกันมากที่สุดในโลก คิดเป็น 35% ของปริมาณทั้งหมด โดยในปี 2018 จีนมีปริมาณขุดเจาะ 120,000 ตัน หรือคิดเป็น 70% ของยอดรวมทั่วโลก ขณะที่ปริมาณถือครองของสหรัฐฯถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจีน โดยสหรัฐฯมีปริมาณภือครอง 1.4 ล้านตัน เทียบกับจีนที่ 44 ล้านตัน
ดังนั้น สหรัฐฯจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าแรร์เอิร์ธเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ โดยในปี 2018 สหรัฐฯมีมูลค่านำเข้าแรร์เอิร์ธอยู่ที่ 1.60 ร้อยล้านเหรียญ และถึงแม้สหรัฐฯจะมีการนำเข้าแรร์เอิร์ธจากประเทศอื่นๆ เช่น เอสโตเนีย (6%), ฝรั่งเศส (3%), และ ญี่ปุ่น (3%) แต่ประเทศเหล่านี้ก็จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบของกระบวนการผลิตที่มาจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน
· ผลกระทบจากสงครามการค้า โดยการที่จีนตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐฯเพิ่ม ก็ดูเหมือนบริษัทไวน์ของสหรัฐฯเองก็จะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ด้วย อาทิ บริษัท Alexander Wine
ขณะที่ภาพรวมน่าจะได้รับผลกระทบทั้งสองฝ่ายในกลุ่มของผู้นำเข้าและการส่งออก โดยอัตราภาษีที่สูงขึ้นจาก 10% ในช่วงปลายเดือนก.ย. ที่พุ่งมาเป็น 15% ก็ดูจะส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งสูงตามกระทบกับพวกมาร์จินสินค้า
· ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส สะท้อนว่า หัวข้อเด่นของประเทศไทยในเวลานี้คือเรื่องเงินเฟ้อในเดือนพ.ค. ที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ขณะที่ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ภาพรวมก็ยังคงอยู่ในกรอบที่ธปท. กำหนดไว้ตลอด 3 เดือนติด
โดยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ 11 ราย คาดว่าดัชนี CPI ของไทยจะปรับขึ้นได้ 1.0% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบปีก่อน หลังจากที่เดือนเม.ย. ขยายตัวได้ 1.23% ซึ่งทางธปท.เอง มีการกำหนดกรอบเงินเฟ้อไว้ที่ 1 - 4%
สำหรับธปท. มีการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.75% นับตั้งแต่ที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2011
· อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาไปยังการประชุมของธปท. อีกครั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ี 26 มิ.ย. ท่ามกลางนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ไม่คิดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนโยบายใดๆในปีนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อยังอ่อนตัว และการเติบโตที่ชะลอตัว
· รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะเข้าพบกันในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ โดยเป็นการที่นายปูตินเยือนญี่ปุ่นในช่วงการประชุม G20
เจ้าหน้าที่ระดับสูง มองว่า ผู้นำทั้ง 2 ประเทศมีการหารือกันบ่อยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเพื่อหารือการวางแนวทางสิ้นสุดข้อขัดแย้ง รวมทั้งข้อสรุปการรักษาสันติภาพร่วมกัน โดยนักวิเคราะห์มองว่า หลายฝ่ายให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เพื่อดูความคิืบหน้าสำหรับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
· นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯจะเริ่มต้นทริปยุโรปในช่วง 5 วัน โดยจะเลื่อนการเยือนเยอรมนีออกไป และเขาคาดหวังว่าจะเห็ฯนยอรมนีเข้าสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านกองกำลังทหาร และหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆร่วมกับบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี และการตัดสินใจใหม่ในเรื่องโครงการท่องส่งน้ำมันกับทางรัสเซีย
· นักวิเคราะห์จาก Albright Stonebridge Group เตือน การที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าทุกรายการจากเม็กซิโก อาจส่งผลกระทบให้การลงนามในข้อตกลง USMCA ระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในปีนี้
· นายเฮง สวี เกียต ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนต่อไป กล่าวว่า ณ ขณะนี้พวกเรากำลังเข้าสู่ยุคการแข่งขันของชาติมหาอำนาจ แม้ผลลัพธ์จะไม่ชัดเจน แต่ก็ดูจะสร้างความผันผวนของระบบเสถียรภาพ ขณะที่ความชัดเจนที่เห็นได้ชัดคือภาวะตึงเครียดทางการเมือง
ขณะที่เจ้าหน้าที่จาก Japna Institute of International Affairs กล่าวว่า ความตึงเครียดทางการค้าของสรัฐฯและจีนดูจะสร้างความกังวลให้กับทุกคนในภูมิภาค เพราะไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อทั้งสหรัฐฯและจีน แต่ดูประเทศอื่นๆจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าครั้งนี้ด้วย อันจะเห็นได้จากตลาดหุ้นที่เคลื่อนไหวแดนลบ และเราจำเป็นต้องเห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงมากกว่า 1% และภาพรวมรายเดือนปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าและผลผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯกลับสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 1.4% ที่ระดับ 65.97 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.2% ที่ระดับ 55.92 เหรียญบาร์เรล โดยลดลงไปทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา บริเวณ 55.66 เหรียญ/บาร์เรล
ท่ามกลางข่าวที่สหรัฐฯจะทำการเพิ่มการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้งหมดจากเม็กซิโกอีก 5% โดยมีผลตั้งแต่ 10 มิ.ย. และอาจมีการปรับเพิ่มภาษีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าด้วยเช่นกัน หากเม็กซิโกยยังไม่ดำเนินการลดหรือแก้ปัญหาจำนวนคนต่างด้าวที่ผิดกฎหมายได้
หัวหน้านักกลยุทธ์การตลาดประจำ CMC Markets ระบุว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก สิ่งเหล่านี้ส่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตทั่วโลก