· รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดแดนลบท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น จากความกังวลที่ว่าสงครามการค้าที่ลุกลามจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯและประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่เข้าสู่ภาวะถดถอย
นักวิเคราะห์บางรายมองว่า แม้จะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 และ 2 แต่ก็แน่ชัดแล้วว่าความยืดเยื้อทางการค้าที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้ข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ค.มีสัญญาณชะลอตัวลง และมีโอกาสเห็นทิศทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ปรับตัวลงได้ต่อ
ดัชนีดาวโจนส์ปิด -354.84 จุด หรือ -1.41% ที่ระดับ 24,815.04 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด -1.32% ที่ 2,752.06 จุด ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิด -1.51% ที่ 7,453.15 จุด
ภาพรวมเดือนพ.ค. ดัชนี S&P500 ปิดร่วงลงไปเกือบ 6.6% ถือเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดเดือนแรกของปีนี้ หลังจากที่ไปทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย.
· หุ้นยุโรปอ่อนปิดแดนลบจากกรณีสงครามการค้าสหรัฐฯ-เม็กซิโก โดยดัชนี Stoxx 600 ปิด -0.8% หลังจากที่ช่วงต้นตลาดไปทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ 19 ก.พ.
· หุ้นเอเชียเปิดแดนลบเช้านี้ ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะสงครามการค้าโลก โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -1.21% ขณะที่ดัชนี Topix เปิด -1.16% ขณะที่ Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -1% และดัชนี ASX200 ปิด -0.56%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ 31.35 - 31.55 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าบาทกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็ว คาดว่าเนื่องจากแรงซื้อของผู้นำเข้าในช่วงสิ้นเดือนหมดไป
ทั้งนี้ ตลาดจับตามองผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสหรัฐฯ-เม็กซิโก ส่วนปัจจัยภายในเป็นเรื่องความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาล
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน เม.ย. 62 ว่า เศรษฐกิจขยายตัวจากเดือนก่อนจาก
อุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ โดยเครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน ด้านการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากรายจ่ายลงทุน และเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อยจากหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ สำหรับภาคการท่องเที่ยวกลับมาขยายตัว ขณะที่ภาคการส่งออกหดตัวลงต่อเนื่อง
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีไทย รับทราบว่ากระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดเป้าหมายการส่งออกในปีนี้เหลือเติบโตเพียง 3% จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 8% เนื่องจากครึ่งปีแรกมีแนวโน้มติดลบ