· ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าไปทำระดับสูงสุดรอบ 4 เดือน ขณะที่ค่าเงินสวิสฟรังก์ปรับแข็งค่าขึ้นจากท่าทีของผู้นำสหรัฐฯที่ดูจะหาข้อตกลงกับทางจีนได้ยากลำบากขึ้น และทำให้กลุ่มนักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นและดูจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอ่อนตัวลง ดังนั้นจึงเห็นความต้องการในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น และเกิดแรงเทขายในตลาดหุ้น
ค่าเงินสวิสฟรังก์แข็งค่าขึ้น 0.3% ที่ 0.9975 สวิสฟรังก์/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.15% ที่ 108.1 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่กลางเดือนม.ค.
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า เครื่องมือ Fed Funds Futures มีการประเมินโอกาสกว่า 64% ที่จะเห็นเฟดปรับลดดอกเบี้ยลงไป 0.25 - 0.5% ประมาณช่วงสิ้นปีนี้
นักเศรษฐศาสตร์จาก J.P. Morgan Chase มองว่า มีโอกาสเห็นเฟดปรับลดดอกเบี้ยได้จำนวน 2 ครั้งในเดือนธ.ค. โดยเปลี่ยนจากมุมมองที่เคยมองว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยและปรับลดดอกเบี้ย
นักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays กล่าวว่า เฟดน่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยได้ถึง 2 ครั้งในปีนี้ โดยครั้งแรกปรับลด 0.5% และครั้งที่สองอีก 0.25% โดยขึ้นอยู่กับสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และสงครามการค้าที่ขยายวงออกไปของสหรัฐฯกับทางจีนและเม็กซิโก
อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จาก J.P. Morgan มองว่า หากนายทรัมป์ยังคงเดินหน้าทำตามนโยบายที่วางไว้ ก็น่าจะยิ่งเห็นเฟดผ่อนปรนนโยบายการเงินมากขึ้น เว้นแต่จะสามารถหาข้อตกลงกับทางเม็กซิโกได้อย่างรวดเร็ว เพราะหากไม่สามารถทำได้ ก็มีโอกาสจะทำลายความเชื่อมั่นภาคธุรกิจตามมา และอาจทำให้เฟดต้องตัดสินใจใช้นโยบายรับมือกับภาวะดังกล่าว ดังนั้นจึงมีโอกาสเห็นเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งและ 0.25% ในเดือนก.ย. และ ธ.ค.
· FX Street ระบุว่า ท่ามกลางภาวะตึงเครียดทางการค้า ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้ส่งผลให้เกิดการเทขายดอลลาร์เข้ามา เนื่องจากนักลงทุนมีความไม่แน่ใจเพิ่มขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะแข็งแกร่งเพียงพอเพื่อสนับสนุนดอลลาร์เช่นไร
ทั้งนี้ หากค่าเงินปอนด์ Break 1.2710 ดอลลาร์/ปอนด์ และเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 21 วัน แถว 1.2775 ดอลลาร์/ปอนด์ได้ ก็มีโอกาสเห็นค่าเงินปอนด์กลับแข็งค่าไปแถว 1.2810 ดอลลาร์/ปอนด์ หรือจุดต่ำสุดเดิมเมื่อเดือนเม.ย. ที่ 1.2865 ดอลลาร์/ปอนด์ได้
ในทางกลับกัน หากค่าเงินปอนด์อ่อนค่าหลุด 1.2560, 1.2500 และ 1.2480 ดอลลาร์/ปอนด์ ลงมาก็มีโอกาสกลับลงมาแถว 1.2430 ดอลลาร์/ปอนด์
· Forex today ประเมินทิศทางตลาดการเงินในสัปดาห์นี้ เปิดตลาดค่อนข้างระมัดระวังท่ามกลางปัจจัยความเสี่ยงอย่างแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เป็นผลกระทบจากสงครามการค้า ขณะที่ข้อมูลกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นออกมาชะลอตัวลง ส่วนของประเทศจีนทรงตัว ดังนั้นตลาดจึงให้ความสนใจไปยังสินทรพย์ปลอดภัยอย่างค่าเงินเยน ทองคำ และค่าเงินสวิสฟรังก์ มากกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตร และน้ำมัน ทั้งนี้ แม้ตลาดจะมีความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่า แต่ค่าเงินดอลลาร์กลับเคลื่อนไหวในแดนลบ ท่ามกลางแรงกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ที่บ่งชี้ว่าเฟดมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงสิ้นปี 2019
ในบรรดาสกุลเงิน G10 ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเยนอ่อนค่าลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง และมีการทดสอบระดับ 108 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ปรับสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 0.6960 ดอลลาร์ หลังประกาศข้อมูลเศรษฐกิจจีน และข่าวที่ว่าสหรัฐฯน่าจะไม่ขึ้นภาษีออสเตรเรีย ด้านค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ปรับแข็งค่า 0.25% และขึ้นทดสอบระดับ 0.6550 ดอลลาร์ และค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ปรับอ่อนค่าลงหลุดระดับ 1.3500 ดอลลาร์ ลงมาเพียงเล็กน้อย แม้ราคาน้ำมันจะปรับร่วงลงเกือบ 1% ก็ตาม
อีกด้านหนึ่ง ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับลดลงก่อนหน้าการเดินทางเยือนอังกฤษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ราคาทองคำ Comex ปรับขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์เหนือ 1,315 เหรียญ ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่แข็งแกร่ง
· บรรดานักวิเคราะห์จาก J.P.Morgan และ Morgan Stanley ต่างมองว่า สหรัฐฯและจีนไม่น่าสามรรถหาข้อตกลงทางการค้าได้ภายในการประชุม G-20 ที่จะจัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นปลายเดือนนี้ แม้จะมีความเป้นไปได้ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จะสามารถพบกันโดยตรงในการประชุมดังกล่าวได้ก็ตาม
นอกจากนี้บรรดานักวิเคราะห์มองว่า ความขัดแย้งการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนลงลึกไปเกินกว่าที่จะสามารถหาข้อตกลงกันได้ อย่างน้อยก็เฉพาะในระยะสั้นๆ
· นายสตีฟ แบนนอน อดีตที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจประจำตัวนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า นายทรัมป์ไม่น่าจะยอมอ่อนข้อในสงครามการค้าให้กับจีนอย่างแน่นอน
เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ได้ดำเนินมาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี นับตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบิล ครินตัน ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และประธานาธิบดีบารัค โอบามา นายทรัมป์จึงไม่ใช่ผู้ก่อให้เกิดสงครามทางการค้า เพียงแต่เติมไฟเข้าไปเท่านั้น
· กรมอธิบดี The Association of Asia Pacific Airlines กล่าวกับสำนักข่าว CNBC โดยระบุว่า ภาวะตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่กำลังดำเนินไป กำลังส่งผลเชิงลบต่ออุปสงค์การบรรทุกสินค้าทางสายการบินในแถบเอเชีย และดูจะส่งผลกับประเทศหลักๆในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งทางอากาศยานไปเกือบ 40% จากปริมาณทั่วโลก
สัปดาห์ที่ผ่านมา IATA มีการเผยข้อมูลตลาดขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลกที่มีปริมาณอุปสงค์ลดลง 4.7% เมื่อเทียบรายปีในเดือนเม.ย. และดูจะยังมีแนวโน้มเชิงลบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยอุปสงค์ของสายการบินAsia Pacific ลดลงไป 7.4% หรือเป็นการปรับตัวลง 6 เดือนต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุถึงความไม่แน่นอนทางการค้า ควบคู่กับกรณี Brexit, ความตึงเครียดทางการค้าจากการปรับขึ้นภาษีสินค้าระหว่างกันของสหรัฐฯและจีน ที่ดูจะยังกดดันให้ภาคการส่งออกสินค้าใหม่ปรับตัวลง และมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลงต่อเนื่องในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ดี ทาง IATA มีการหั่นคาดการณ์ผลกำไรของกลุ่มสายการบินปีนี้ลงสู่ระดับ 2.8 หมื่นล้านเหรียญ ลดลงจากปีที่แล้วที่ขยายตัวได้ 3 หมื่นล้านเหรียญ และลดลงจากคาดการณ์เดิมเมื่อช่วงเดือนธ.ค. ที่คาดว่าจะโตได้ 3.55 หมื่นล้านเหรียญ
สำหรับผลลัพธ์ช่วงครึ่งปีหลังนั้นยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและทิศทางของห่วงโซ่อุปทาน และความหลากหลายของแหล่งที่มา จึงยังยากที่จะคาดเดาเพราะการเมืองก็ยังคงผันผวน และการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ก็อาจไม่สมเหตุสมผลได้ และสายการบินต่างๆอาจเผชิญกับความท้าทายอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้น เป็นต้น
· การเดินทางเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีกำหนดการช่วง 3 วันดังนี้
วันแรก (วันนี้) ครอบครัวของนายทรัมป์ จะเยือนพระราชวังบักกิงแฮม เพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 รวมทั้งเจ้าชายแห่งเวลส์ และดัชเชสแห่งคอนเวลส์ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์แห่งอังกฤษ และคาดว่าอาจเห็นถ้อยแถลงจากทางนายทรัมป์และพระราชินีตามมาได้
วันที่ 2 (วันพรุ่งนี้) นายทรัมป์จะมีการร่วมรับประทานอาหารเช้ากับ นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน อันรวมไปถึงการพบดยุกค์แห่งยอร์ก และบรรดาผู้นำภาคธุรกิจของสหรัฐฯและอังกฤษที่ถูกคาดว่าจะมีการพบปะกันในวาระนี้ด้วย
นอกจากนี้ เขาอาจพบกับนายจอห์นสัน ที่ดูแล้วน่าจะมาดำรงตำแหน่งผู้นำคนใหม่แทนนางเมย์ ควบคู่กับผู้นำพรรค Brexit อย่างนายไนเจล ฟาราจ ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนายทรัมป์เคยกล่าวถึงทั้งคู่ว่าเป็นเพื่อน และเป็นคนที่ดี และช่วงเย็นวันเดียวกันก็ดูนายทรัมป์จะได้พบกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลและนางคามิลลาอีกครั้งด้วย
วันที่ 3 - (วันพุธ)
วันสุดท้ายแห่งการเดินทางเยือนอังกฤษ นายทรัมป์อาจใช้เวลากับอนุสรณ์ครบรอบ 75 ปี ซึ่งถือเป็นวัน D-Day ของทางอังกฤษ โดยนายทรัมป์จะได้พบกับสมาชิกของราชวงค์อังกฤษอย่างเป็นทางการ ก่อนจะเดินทางไปยังนอร์มันดีเพื่อร่วมฉลองวัน D-Day ที่ฝรั่งเศส ร่วมกับนายเอ็มมานูเอล มาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
· นายเจเรมี ฮันท์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งอังกฤษ ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษเปิดรับฟังความคิดเห็นของรัฐบาลสหรัฐฯเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้อุปกรณ์สื่อสารของ Huawei และทางการอังกฤษก็ไม่มีความต้องการที่จะต้องพึ่งพาอุปกรณ์จากต่างประเทศในการวางโคงสร้างระบบการสื่อสารของประเทศแต่อย่าง
อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลอังกฤษยังไม่มีการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายออกมาแต่อย่างใด แต่ยืนยันว่า รัฐบาลจะดำเนินการตรวจสอบทางเทคนิคจนมั่นใจได้ว่าไม่มีองค์กรใดสามารถใช้เครือข่าย 5G มาสอดแนมข้อมูลที่เป็นความลับได้
· นายกิวเซปเป้ คอนติ นายกรัฐมนตีอิตาลี ข่มขู่จะลาออกจากตำแหน่ง หากรัฐสภายังไม่สามารถแก้ไข้ความขัดแย้งภายในได้ ซึ่งเขาจะมีการกล่าวถ้อยแถลงที่ชัดเจนอีกครั้งภายในวันนี้ และก่อนหน้านี้ เขาได้เคยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ตนไม่มีแนวคิดที่จะยอมรับข้อกำหนดของอียูในเรื่องของระดับหนี้สินสาธารณะ
หากความขัดแย้งภายในรัฐสภาอิตาลียังคงดำเนินต่อไป นายเซอจิโอ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี จะประกาศยุบสภาในเดือน ก.ค. ก่อนหน้าการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะจัดขึ้นในเดือน ก.ย. เพื่อให้เวลารัฐบาลชุดใหม่ในการร่างแผนงบประมาณสำหรับปี 2020 อีกครั้ง
· Caixin/Markit เผย ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของภาคเอกชนที่ออกมาดีกว่าที่คาดเล็กน้อยในเดือนพ.ค. โดยล่าสุดอยู่ที่ 50.2 จุด จากทีคาดไว้ที่ 50 จุด ซึ่งดัชนีที่ยืนเหนือ 50 จุดได้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกถึงภาวะการขยายตัว
ขณะที่ผลสำรวจ PMI ของภาครัฐออกมาต่ำกว่า 50 จุด ที่ระดับ 49.4 จุด น้อยกว่าคาดการณ์และข้อมูลในเดือนก่อนหน้าที่ 50.1 จุด ทางด้านดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. ทรงตัวระดับเดียวกับเดือนเม.ย.ที่ 54.3 จุด
อย่างไรก็ดี การเติบโตของยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในเดือนพ.ค. และการเติบโตของภาคบริษัทใหม่ดูจะเติบโตขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งทาง Caixin ระบุว่าเพิ่มว่า ความแข็งแกร่งของภาครวมในกลุ่มธุรกิจใหม่ได้ช่วยหนุนการขยายตัวในกิจกรรมการเข้าซื้อในภาคบริษัทการผลิตของจีน และดูจะเห็นการเข้าซื้อเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงกว่า 1% หลังจากร่วงลงไปกว่่า 3% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่าน โดย
ตลาดน้ำมันดิบลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ท่ามกลางความต้องการที่ชะลอตัวและเนื่องจากสงครามการค้าทำให้เกิดความกลัวว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 1.1% ที่ระดับ 61.28 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.8% ที่ระดับ 53.09 เหรียญ/บาร์เรล
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ประจำ Australia’s Rivkin Securities ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบร่วงลงครั้งใหม่ ท่ามกลางความกังวลที่เกิดขึ้นหลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขู่ว่าจะปรับขึ้นภาษีสินค้าจากแม็กซิโก
· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสประจำ OANDA กล่าวว่า ประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนยังคงสำคัญที่สุดต่อแนวโน้มการเติบโตของโลก อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและเม็กซิโกทำให้ปริมาณอุปสงค์สหรัฐฯชะลอตัวลง