• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2562

    3 มิถุนายน 2562 | SET News

· สัญญาหุ้นล่วงหน้าสหรัฐฯและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประเด็นสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและภัยคุกคามด้านภาษีครั้งใหม่ของสหรัฐฯกับเม็กซิโกที่อาจทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย

โดย E-mini S & P500 ลดลง 0.5% ในการซื้อขายตลาดเอเชีย ที่ระดับ 2,738 จุด ซึ่งใกล้ระดับต่ำสุดในเดือนมี.ค.ที่ระดับ 2,722 จุด ในขณะที่ Nikkei ของญี่ปุ่นลดลง 1.1% นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ด้านดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.35%

ภาพรวมเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทำให้เหล่าเทรดเดอร์ประเมินว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้

โดยเฟดอาจจะปรับลดลง 2 ครั้งในปีนี้ ในเดือนก.ย. และมีโอกาสมากกว่า 50% ในช่วงวันที่ 30-31 ก.ค.

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าทั่วโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นทำให้ตลาดต่างประเทศปรับร่วงลง โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.6% รวมทั้งหุ้นน้ำมันและก๊าซลดลง 1.3% ขณะที่ภาคอาหารและเครื่องดื่มเคบื่อนไหวในแดนบวก

ตลาดหุ้นให้ความสนใจไปยังประเด็นทางการค้าและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยในวันนี้ตลาดเอเชียเคบื่อนไหวในแดนบวก เนื่องจากเหล่าเทรดเดอร์ให้ความนใจไปยังข้อมูลทางเศรษฐกิจและความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเติบโตทั่วโลกและในประเทศจากสงครามภาษีที่อาจยืดเยื้อระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

ขณะที่ดัชนี Nikkei ลดลง 0.9% ที่ระดับ 20,410.88 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา สำหรับการซื้อขายระหว่างวันร่วงลง 1.4% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนครึ่งที่บริเวณ 20,305.74 จุด

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารประจำ UBS Securities ระบุว่า เหล่านักลงทุนยังคงหังวลเกี่ยวกกะบประเด็นสงครามทางการค้าที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

· ตลาดหุ้นจีนปิดแดนลบในการเปิดตลาดวันแรกของเดือน ท่ามกลางความกังวลของตลาดที่มีต่อภาวะสงครามการค้า ประกอบกับความกังวลว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน อาจเป็นดาบสองคมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาด โดยดัชนีหุ้นกลุ่มบลูชิฟปิด -0.1% ที่ระดับ 3,632.01 จุด และดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.3% ที่ระดับ 2,890.08 จุด

· อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ปัจจัยเสี่ยงเรื่องความตึงเครียดทางการค้าของตลาดโลก ที่มีผลมาจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนนั้น ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายและมีส่วนสำคัญต่อภาคการส่งออกของหลายประเทศในภูมิภาค รวมถึงประเทศไทยด้วย ทำให้ธนาคารโลกมองทิศทางการส่งออกของประเทศไทยในปี 2562 ว่าจะขยายตัวได้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.7% จากปีก่อนอยู่ที่ 5.9% และจะยังขยายตัวลดลงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 อยู่ที่ระดับ 5.5% เท่านั้น

ปัจจัยเสี่ยงเรื่องการส่งออกที่มีผลมาจากความตึงเครียดทางการค้าของโลก จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นให้หลายหน่วยงานมีการวิเคราะห์ทิศทาง แน้วโน้ม ไปจนถึงอาจจะต้องมีการเตรียมมาตรการรองรับ กรณีที่ภาคการส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศอย่างหนัก

โดยก่อนหน้านี้ "ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)" ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่มีผลทำให้แนวโน้มการค้าของตลาดโลกชะลอตัวลง ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีผลกระทบมาจากการปรับตัวลดลงของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกในไตรมาส 1 และ 2/2562 มีโอกาสขยายตัวในลักษณะติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

ด้านผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. ระบุว่า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและการค้าโลกมีผลต่อภาคการส่งออกของไทยในปีนี้ ให้มีโอกาสเติบโตได้ต่ำกว่า 3% ที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตได้ต่ำกว่า 3.8% ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ด้วยเช่นกั

ขณะที่ "กระทรวงการคลัง" ยอมรับว่ากรณีที่ ทางการสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 25% ถือเป็นมาตรการที่รุนแรงกว่าที่คาดไว้ ซึ่งขณะนี้ได้เร่งติดตามและประเมินผลกระทบจากเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะด้านการส่งออก การนำเข้า รวมถึงผลกระทบทางอ้อมต่อการท่องเที่ยวและการลงทุน เพราะมาตรการนี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งส่งผลเสียต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและการค้าโลกให้แย่ลง

สำหรับประเทศไทยจะได้รับผลกระทบแค่ไหนยังคงต้องติดตามอีกสักระยะ เพื่อดูปัจจัยอื่นที่จะตามมา เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทั้งมาตรการตอบโต้จากทางการจีน หรือถ้าทั้ง 2 ประเทศสามารถกลับมาเจรจาและชะลอการขึ้นภาษีไปก่อน ผลกระทบต่อไทยก็ไม่น่าจะรุนแรงมาก

· อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาคเอกชนต่างจับตาถึงการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการลงทุนของประเทศ ล่าสุดยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ จึงอยากให้นักการเมืองและสส.ของแต่ละพรรคที่เจรจากันอยู่ คำนึงถึงผลกระทบของประเทศด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน และผู้บริโภคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com