· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนยังคงเผชิญกับความตึงเครียดทางการค้าที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยดัชนี Stoxx600 ร่วงลง 0.5% ด้านหุ้นเทคโนโลยีลดลง 1.6% ขณะที่หุ้นกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น 0.5%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางสัญญาณการอ่อนตัวของเศรษฐกิจและประเด็นสงครามการค้าของสหรัฐฯและจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของโลกและหนุนสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารออสเตรเลียที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ในวันนี้ ขณะที่ธนาคารอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นกันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น ปรับลดลง 0.3% หลังจากที่ช่วงก่อนหน้าเพิ่มขึ้นได้ 0.18%
· ภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียประจำเดือนพ.ค.ร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากหุ้นในภูมิภาคร่วงลงหลังจากที่สหรัฐฯขึ้นภาษีสินค้าจีนแล้วทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
โดยภาพรวมเดือนพ.ค.ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นร่วงลงไป 6.2% ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปี 2018
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทรงตัวท่ามกลางการซื่อขายที่เบาบาง เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าและค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นจึงกดดันความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่หุ้นบริษัท SoftBank ที่ร่วงลง ส่งผลกระททบต่อตลาด
โดยดัชนี Nikkei ลดลงเล็กน้อย 0.0.1% ที่ระดับ 20,408.54 จุด หลังจากที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
ความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน ทำให้นักลงทุนออกจากสินทรัพย์เสี่ยงและตลาดการเงินที่วุ่นวายในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนี Nikkei ร่วงลง 8% นับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
เมื่อคืนที่ผ่านมาดัชนี Nasdaq ปรับลดลงมากกว่า 10% ต่ำกว่าระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้ในช่วงปลายเดือนเม.ย. ด้านข้อมูลการผลิตสหรัฐฯก็ออกมาน่าผิดหวังเช่นกัน เนื่องจากกิจกรรมภาคการผลิตของสถาบันการจัดการอุปทานของสหรัฐฯประจำเดือนพ.ค. ได้ลดลงอย่างไม่คาดคิดใสู่ระดับที่อ่อนแอที่สุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าทั่วโลก
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางสงครามทางเทคโนโลยีรวมทั้งสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี Shanghai Composite ร่วงลง 1% ที่ระดับ 2,862.28 จุด
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สนค. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.62 ที่สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 1.15% เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยมีปัจจัยหลักจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาอาหารสด ซึ่งอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบของภัยแล้งและความผันผวนของฤดูกาล ทำให้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดลดลง ขณะที่ราคาพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ในตลาดโลกเป็นปัจจัยลดทอนที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง นอกจากนี้ เครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์ เช่น การใช้จ่าย และรายได้ของประชาชนมีแนวโน้มชะลอตัวลง
ผู้อำนวยการ สนค. กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศ ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ อยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินระยะปานกลางที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปี 2562 ที่ระดับ 1-4% และสอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ประเมินว่าผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสดจะมีน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากในปีก่อนราคาผักผลไม้สดลดลงจากผลกระทบที่ฝนตกต่อเนื่องนาน ทำให้ฐานของปีก่อนต่ำ ซึ่งปีนี้แนวโน้มราคาผักผลไม้สดจะปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ด้านของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้มีแนวโน้มยังเป็นขาลง หากไม่มีปัญหาสถานการณ์โลกที่ทำให้ราคาน้ำมันผันผวน ดังนั้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจึงไม่ส่งผลมากนักต่อเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์จะรอดูตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย. 62 ก่อนที่จะพิจารณาปรับค่ากลางของเงินเฟ้อทั้งปี 62 ใหม่อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากค่ากลางเดิมที่ 1.2% แต่กรอบเงินเฟ้อในภาพรวมทั้งปีนี้ คาดว่าจะยังคงเดิมที่ระดับ 0.7-1.7%
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่ามีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.20-31.55 ต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 31.63ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 1.76 หมื่นล้านบาท และ 4.6 พันล้านบาท ตามลำดับ ในช่วงเปิดการซื้อขายวันแรกของเดือนมิถุนายน เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือน หลังมีสัญญาณความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าชั้นนำอื่นๆ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเพิ่มคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงช่วงกลางปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนพฤษภาคม ทางด้านเงินยูโรได้รับผลกระทบอย่างจำกัด หลังพรรคการเมืองที่มีนโยบายต่อต้านสหภาพยุโรป (อียู) ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในการเลือกตั้งสภายุโรปที่ผ่านมา