• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2562

    5 มิถุนายน 2562 | Economic News


· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบเกือบ 7 เดือน หลังจากที่สมาชิกเฟดดูจะกล่าวย้ำกันในเรื่องความเป็นไปได้ที่เฟดจะดัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย จากการเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นทางการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 97.077 จุด หลังไปทำระดับต่ำสุดที่ 96.995 จุด โดยอ่อนค่าไปทำระดับลงมาทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ 18 เม.ย. หลังจากที่ภาพรวมค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมาแล้ว 1.3% จากระดับสุูงสุดตั้งแต่ 23 พ.ค. บริเวณ 98.371 จุด

· ภาพรวมธนาคารกลางออสเตรเลียมีการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงไปทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.5% และดูจะมีความตั้งใจที่จะดำเนินการอีกหากแนวโน้มทางเศรษฐกิจเผชิญกับความสูญเสีย


· ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ในเดือนที่แล้วก็มีการปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง เพื่อสนับสนุนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการค้าโลก


· ด้านธนาคารกลางเกาหลีใต้ แยังตัดสินใจคงดอกเบี้ยตามเดิมแต่ก็ดูมีท่าที่ที่ผ่อนคลายมากขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางอินเดียก็ถูกคาดหวังว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้




· FXStreet ระบุว่า ค่าเงินเยนทรงตัวแถว 108 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางสภาวะ Risk-On ที่เกิดขึ้นในตจลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นสหรัฐฯ อันเป็นผลมาจากถ้อยแถลงของ นายโพเวลล์ ประธานเฟดเมื่อคืนนี้ ที่ดูมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยหากจำเป็น

ทั้งนี้ ค่าเงินเยนมีการรีบาวน์กลับมาจากระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 1 เดือนที่เคยเป็นแนวรับของเส้นเทรนไลน์ โดยกลับมาเคลื่อนไหวบริเวณ 108.1 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งหากค่าเงินเยน Break 107.7 เยน/ดอลลาร์ ก็มีโอกาสเห็นค่าเงินเยนลงไปทำแข็งค่ามากท่ี่สุดตั้งแต่ 4 พ.ค. ที่ระดับ 107.5 เยน/ดอลลาร์ แต่หากค่าเงินเยนจะกลับเป็นภาวะอ่อนค่าอีกครั้งต้องยืนเหนือ 108.35 เยน/ดอลลาร์ได้อย่างชัดเจน จึงจะมีโอกาสกลับไปปแถว 109 เยน/ดอลลาร์ได้

เมื่อพิจารณาสภาวะ Oversold ที่ระดับเส้น RSI 14 วัน พบว่ามีโอกาสจะเห็นเงินเยนอ่อนค่าขึ้นได้มากกว่า โดยแนวต้านด้านบนจะอยู่ที่ 109.6 เยน/ดอลลาร์ หากผ่านไปได้ก็จะมีแนวต้านถัดไป 110.6 เยน/ดอลลาร์

ในทางตรงข้าม หากค่าเงินเยนแข็งค่าหลุด 107.5 เยน/ดอลลาร์ ก็มีโอกาสเห็นแรงเทขายที่กดดันให้ค่าเงินเยนทำระดับแข็งค่ามากที่สุดของเดือนเม.ย. ปีที่แล้วบริเวณ 106.6 เยน/ดอลลาร์ และอาจกดดันไปที่ 105.3 เยน/ดอลลาร์ และ 104.75 เยน/ดอลลาร์ได

· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเปิดปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนทีตอบรับกับถ้อยแถลงของประธานเฟด โดยล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี อ่อนตัวลงเล็กน้ยอมาแถว 2.1140% ขณะที่ระยะยาวอายุ 30 ปี ทรงตัวที่ 2.6062%


· นางซาร่า บลูม รัสกิน อดีตสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟดช่วงปี 2010-2014 กล่าวว่า เฟดค่อนข้างส่งสัญญาณที่แข็งแกร่งมากๆเกี่ยวกับความพร้อมที่จะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย

· นายสตีเฟน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯมีกำหนดการจะพบกับนายยี่ กัง ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนในสัปดาห์นี้ ณ ที่ประชุมบรรดารัฐมนตรีการเงินที่ประเทศญี่ปุ่น และการพบกันครั้งนี้ถือเป็นการเผชิญหน้ากันครั้งแรกในรอบเกือบเดือนอีกครั้งเพื่อเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน

อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังสหรัฐฯไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจะพบกันของนายมนูชิน กับนายยี่ กัง ที่เป็นหนึ่งในทีมผู้แทนการเจรจาการค้าของ นายหลิว เฮ่อ รองนายกฯจีน ขณะที่ก่อนหน้านั้น นายมนูชิน และนายยี่กังเคยพบกันในที่ประชุมสุดยอดทางการเงิน G20 ในประเด็นเศรษฐกิจและการเงินระดับโลก

· อัพเดทล่าสุด ผู้ชนะที่แท้จริงในสงครามการค้า!




หลังจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนได้ดำเนินมากกว่า 1 ปี นักวิเคราะห์จากสถาบัน Nomura พบว่า การที่ทั้งสองประเทศตอบโต้กันด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากกันและกัน ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายพยายามเลี่ยงการนำเข้าสินค้าของฝ่ายตรงข้าม และเพิ่มการนำเข้าจากแหล่งอื่นๆที่ไม่ถูกขึ้นภาษีแทน โดยเฉพาะจาก เวียดนาม

เวียดนามกลับกลายเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากสงครามการค้าครั้งนี้มากที่สุด โดยนักวิเคราะห์จาก Nomura คาดการณ์ว่า GDP ของเวียดนามจะสามารถขยายตัวได้ถึง 7.9% จากปริมาณการส่งออกไปยังสหรัฐฯและจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

นอกจากเวียดนามแล้ว Nomura ยังกล่าวถึงประเทศอื่นๆที่ได้ผลประโยชน์จากสงครามการค้า ได้แก่ ไต้หวัน ชิลี มาเลเซีย และอาร์เจนตินา

สำหรับรายการสินค้าหลักๆ ที่สหรัฐฯและจีนนำเข้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าว มีดังนี้:

เวียดนาม : ชิ้นส่วนโทรศัพท์, เฟอร์นิเจอร์, ชิ้นส่วนเครื่องจักรในโรงงาน

ไต้หวัน : ชิ้นส่วนเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องจักรในสำนักงาน, ชิ้นส่วนโทรศัพท์

ชิลี : แร่ทองแดง, เมล็ดถั่วเหลือง

มาเลเซีย: แผงวงจรอิเล็คโทรนิค, อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์

อาร์เจนตินา: เมล็ดถั่วเหลือง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกสินค้าที่มากขึ้น แต่ Nomura ได้เตือนว่า การคาดการณ์ดังกล่าวยังไม่ได้รวมความเสี่ยงด้านอื่นๆจากสงครามการค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุนที่ชะลอตัวลง เนื่องจากความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจโลก และปริมาณอุปสงค์จากสหรัฐฯและจีนที่อ่อนแอลง เนื่องจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคประสบภาวะค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการขึ้นภาษี



· ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ โดย ADP (Automatic Data Processing) ที่จะประกาศในค่ำคืนนี้ ถูกคาดการณ์ว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 183,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ค. หลังจากในเดือน เม.ย. ที่เอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 275,000 ตำแหน่ง

ทั้งนี้ ADP เป็นตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนที่ช่วยบ่งชี้ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานได้อย่างแม่นยำ และเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่จะประกาศโดยภาครัฐตามหลัง 2 วันทำการ

ขณะที่นักวิเคราะห์จาก FX Street มีความคิดเห็นว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯสามารถสร้างตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งตลอดระยะเวลา 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา โดยไม่มีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลงแต่อย่างใด และถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานในสัปดาห์นี้ จะถูกคาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงในระดับหนึ่ง แต่ภาพรวมแล้วตลาดแรงงานก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง

· สำนักข่าวในเกาหลีเหนือ รายงานถ้อยแถลงเชิงข่มขู่ต่อรัฐบาลสหรัฐฯ โดยระบุว่า ข้อตกลงที่ถูกเขียนขึ้นในการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศ ที่จัดขึ้นในประเทศสิงคโปร์เมื่อปีที่ผ่านมา กำลังตกอยู่ภาวะเสี่ยงที่จะกลายเป็นเพียงแผ่นกระดาษที่ว่างเปล่า เนื่องจากสหรัฐฯยังคงมีท่าทีกดดันให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธอย่างต่อเนื่อง


· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยืนยันจะเดินหน้านโยบายขึ้นอัตราภาษีอีก 5% สำหรับสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกทุกรายการต่อไป แม้จะเผชิญเสียงต่อต้านจากบรรดาสมาชิกภายในรัฐสภา รวมทั้งจากภายในพรรครีพับลิกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม

นอกจากนี้ นายทรัมป์ยังได้ข่มขู่อีกว่า จะทำการปรับระดับภาษีขึ้นได้มากถึง 25% ภายในปีนี้ หากรัฐบาลเม็กซิโกยังคงไม่มีการดำเนินการใดๆเพื่อช่วยลดจำนวนผู้อพยพเข้าสหรัฐฯอย่างผิดกฏหมาย

· การประชุม G-20 ระหว่างบรรดาผู้นำทางการเงินและธนาคารกลางของประเทศในกลุ่ม G-20 ที่จะจัดขึ้นในช่วงสุดสุปดาห์นี้ ณ ประเทศญี่ปุ่น อาจมีการส่งสัญญาณเตือนถึงภาวะความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญ

ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์มีมุมมองว่า เป็นไปได้ยากที่ที่ประชุม G-20 จะยังคงคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจปีนี้ไปในทิศทางที่สดใส ขณะที่เสียงส่วนหนึ่งอาจเชื่อว่าเศรษฐกิจจะสามารถกลับมาดีขึ้นได้ภายในปีหน้า

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจะเริ่มต้นในวันเสาร์ที่จะถึงนี้และจะเสร็จสิ้นในวันอาทิตย์ โดยการประชุมครั้งนี้ จะยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการประชุมระหว่างบรรดาผู้นำประเทศในกลุ่ม G-20 ที่จะเกิดขึ้นตามมาในวันที่ 28-29 มิ.ย. ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จะสามารถกลับมาพบกันได้โดยตรงอีกครั้ง

สำหรับการประชุม G-20 สุดสัปดาห์นี้ เป็นที่แน่นอนแล้วว่า นายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐฯ และนายอี้ กัง (Yi Gang) ผู้ว่าธนาคารกลางจีน จะมาพบกันโดยตรง ซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 ประเทศสามารถพบและเจรจาร่วมกันได้ นับตั้งแต่ที่การเจรจาของทั้งสองประเทศล้มเหลวลงไปเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา

· บรรดาผู้นำเข้าในประเทศจีนกำลังยื่นเรื่องขอผ่อนผันการจ่ายภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯกว่า 700 รายการ หลังกระทรวงการคลังจีนประกาศว่าจะเริ่มเปิดรับพิจารณาให้สิทธิ์ผ่อนผัน แต่ไม่ได้ระบุว่าจะพิจารณาและให้สิทธิดังกล่าวเมื่อไหร่

ทั้งนี้ รายการสินค้ากลุ่มที่จะสามารถขอสิทธิผ่อนผันภาษีได้ จะรวมสินค้าในกลุ่ม เนื้อวัว เนื้อหมู เมล็ดถั่วเหลือง ถ่านหิน เศษทองแดง รวมถึงเครื่องจักรอย่าง รถแทรกเตอร์ จักรยานยนต์ จักรยานเสือภูเขา และอุปกรณ์ทางการแพทย์บางตัว

โดยรายการสินค้าดังกล่าว เป็นรายการสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ที่ถูกรัฐบาลจีนขึ้นภาษีตอบโต้ไปตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านเหรียญ

· องค์กร IMF ประกาศปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2019 และ 2020 ลดลงสู่ระดับ 6.2% และ 6.0% ตามลำดับ โดยระบุว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่บรรดาธนาคารกลางจะหันมาใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินตามกันมากขึ้น หากสงครามการค้าบานปลาย

การปรับลดคาดการณ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นตามหลังเพียง 2 เดือนก่อนที่ทาง IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนเป็น 6.3% จากเดิม 6.2%

· นายเดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลกเปิดเผยว่า แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกถูกกดดันโดยอุปสรรคด้านการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2019 ลงสู่ 2.6% ต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนในเดือน ม.ค. ที่ 0.3% และคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวขึ้นสู่ 2.7% ในปี 2020

· รัฐบาลจีนตัดสินใจว่า กรณีที่สหรัฐฯช่วยโน้มน้าวเกาหลีเหนือและสามารถยุติสงครามเกาหลีลงได้ ไม่ใช่เหตุผลที่ทางการจีนต้องยอมก้มหัวให้กับสหรัฐฯในการเจรจาการค้า



· สำนักข่าว Reuters แนะจับตาประชุมอีซีบีวันพรุ่งนี้ โดยกลุ่มนักลงทุนรอดูว่าบรรดาสมาชิกอีซีบีจะส่งสัญญาณความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวขาลงทางเศรษฐกิจอย่างไร โดยมีกระแสคาดการณ์ว่าอีซีบีน่าจะดำเนินนโยบายไปทางเดียวกับเฟดด้วยท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น และเป็นไปได้น่าจะมีการประกาศปรับลดดอกเบี้ยตามมา หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.2250%

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้ขยับขึ้น 0.1% ที่ 1.1260 ดอลลาร์/ยูโร และดูจะปรับแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่อง 4 วันทำการ


อย่างไรก็ดี ภาวะความกังวลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกดูจส่งผลให้บรรดาธนาคารกลางมีการหั่นดอกเบี้ยของตัวเอง และสะทอ้นถึงสัญญาณที่เริ่มขึ้นว่าจะเห็นการเข้าสู่วัฎจักรการผ่อนคลายทางการเงินทั่วโลกอีกครั้ง


· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ITV ของอังกฤษ ระหว่างการเดินทางเยือนอังกฤษวันสุดท้าย โดยระบุว่า “มีความเป็นไปได้” ที่สหรัฐฯจะดำเนินการทางทหารกับอิหร่าน แต่เขาต้องการที่จะเจรจากับนายฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่าน มากกว่า


นอกจากนี้ นายทรัมป์ยังได้แสดงความคิดเห็นว่า อิหร่านอาจเป็นประเทศที่มุ่งร้ายกับเขามากที่สุดนับตั้งแต่วันแรกที่เขารับตำแหน่งประธานาธิบดี และอาจเป็นมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

· ราคาน้ำมันดิบกลับมาปรับตัวลงอีกครั้ง หลังจากที่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯออกมาเพิ่มขึ้นเกินคาดจากรายงานของ API ที่ระดับ 3.5 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 478 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับคาดการณ์ที่ว่าจะลดลง 849,000 บาร์เรล ขณะที่คืนนี้นักลงทุนรอดูข้อมูลจากทาง EIA


น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 27 เซนต์ หรือ -0.4% ที่ 61.7 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 32 เซนต์ หรือ -0.6% ที่ 53.16 เหรียญ/บาร์เรล



· นักวิเคราะห์จาก DailyFX ระบุว่า หากราคาน้ำมันดิบปิดต่ำกว่าระดับแนวรับ 51.33 - 50.33 เหรียญ/บาร์เรล ก็มีโอกาสเห็นราคาดิ่งลงทดสอบแนวรับถัดไปบริเวณ 43.00 - 42.05 เหรียญ/บาร์เรล ในทางกลับกันหากสามารถยืนได้เหนือ 55.75 เหรียญอีกครั้ง ก็มีโอกาสฝ่าไปบริเวณเป้าหมาย 57.24 - 57.88 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com